'อมธ.' สำรวจความเห็นฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้

26 ต.ค.2564 - เพจเฟซบุ๊ก องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) โพสต์ข้อความกล่าวถึงการสำรวจความคิดเห็นประชาคมธรรมศาสตร์ที่มีต่องานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? ระบุว่า “เมื่อสังคมขยับ วัฒนธรรมต้องปรับ คนต้องเปลี่ยน"

วัฒนธรรมศักดินา อภิสิทธิ์ชน และค่านิยมความงาม คือ ภาพที่ยังคงสะท้อนและฉายซ้ำแฝงตัวอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งยังคงสะท้อนและฉายซ้ำภาพของสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้จะมีความพยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเสมอมา แต่การปรับเปลี่ยนนั้นทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็น “งานของทุกคน” และ “แบบอย่าง” ของสังคมปัจจุบัน แล้วจริงหรือ?

ขอเชิญชาวธรรมศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ "อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์" ได้ที่: https://bit.ly/3nwEQtZ เพราะงานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมาจากเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ทุกคน #งานบอลคือเสียงของธรรมศาสตร์ทุกคน

เราได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากการถกเถียงในวงสังคมมาให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้

- งานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมีต่อไปหรือไม่?

- ถ้ายังมีต่อไปควรจะเป็นไปในรูปแบบเดิมหรือมีความเปลี่ยนแปลง?

- ควรใช้วิธีอื่นแทนการใช้คนแบกเสลี่ยงในขบวนตรามหาวิทยาลัยหรือไม่?

- นักฟุตบอลควรเป็นนักศึกษาปัจจุบันหรือไม่?

- ทบทวนประเด็น Beauty Privillege และ Beauty Standard อย่างจริงจัง

- เพิ่มพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองในขบวนพาเหรดและการแปรอักษร

- ทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกอย่างอิสระ

- นักศึกษาปัจจุบันต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ

- ยกเลิกถ้วยพระราชทานและการเปิดงานโดยผู้แทนพระองค์

- บทบาทของสมาคมศิษย์เก่าภายในงานฟุตบอลประเพณีฯ

หากท่านมีประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็สามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ โดยเราจะรวบรวมความคิดเห็นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมต่อไป

หมายเหตุ: ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาใช้เพื่อยืนยันตัวตนของนักศึกษาเท่านั้นและจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์อื่น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

'หมอโอ๋' มองดราม่าอัญเชิญพระเกี้ยว อย่าเห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู ขอให้รู้ผู้ใหญ่จะตายก่อน

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือ หมอโอ๋ เจ้าของเพจ "เลี้ยงลูกนอกบ้าน" ได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่าด้วยเรื่องอัญเชิญพระเกี้ยว

'อัญเชิญพระเกี้ยว' ลาม! นิสิตเก่าจุฬาฯสุดทน ภาพเหยียบยํ่า ด้อยค่า จี้อธิการบดีลาออก

นายสมภพ พอดี นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องดังกล่าวพร้อมภาพนิสิตจุฬาฯล้อเลียนพระเกี้ยวโดยวางบนบันไดโรยด้วยอาหารสุนัขและมีถุงอาหารสุนัขอยู่ด้านบน ว่า

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

ดร.นิว ยันมธ.ไม่ได้ล้มเจ้าทุกคน แต่ข้องใจบางคนสาละวนกับเครือข่ายล้มล้างการปกครอง?

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา