'ชาญชัย' ชี้จุดตายคดีหุ้นสื่อ 'พิธา' ยันเป็นหนังคนละม้วนกับเคสถือหุ้นเอไอเอส!

'ชาญชัย' ชี้คดีหุ้นสื่อ 'พิธา' เป็นหนังคนละม้วนกับคดีของตัวเองมาก ย้ำคำวินิจฉัยศาลรธัฐธรรมนูญที่ผ่านมา หากหุ้นในกิจการที่ถือ ยังไม่แจ้งเลิกกิจการถือว่ายังครอบครอง

31 พ.ค.2566 - กรณีการยื่นคำร้องของบุคคลกลุ่มต่างๆ เช่นนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ตรวจสอบคุณสมบัติการลงสมัครรับเลือกตั้งของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่าอาจมีปัญหาขาดคุณสมบัติเนื่องจากพบว่านายพิธา ครอบครองหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่ปี 2562 และการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 14 พ.ค. 2566 ซึ่งหลายฝ่ายมักอ้างอิงคำร้องคดีนายพิธาว่าไม่น่ามีปัญหาโดยนำไปเทียบเคียงกับคดีของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ครอบครองหุ้น AIS แต่สุดท้ายศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง มีคำตัดสินเมื่อ 2 พ.ค. 2566 ให้ลงเลือกตั้งได้ เพราะศาลฎีกาเห็นว่า ครอบครองเพียง 200 หุ้นเป็นสัดส่วนที่น้อย ไม่มีอำนาจสั่งการให้บริษัท AIS ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับนายชาญชัยได้

นายชาญชัยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลและประเด็นในคำพิพากษาของศาลฎีกาที่คืนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของตนเองเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 เพื่อเตรียมแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เพราะที่ผ่านมาพบว่านับแต่เกิดกรณีหุ้นของนายพิธา หลายฝ่ายมีการนำคดีของตนเองไปอ้างถึงเยอะมาก แต่ไม่รู้รายละเอียดขั้นตอนและคำพิพากษาทั้งหมด

นายชาญชัย กล่าวอีกว่า กรณีคดีของตนเองกับของนายพิธา ข้อเท็จจริงมีความแตกต่างกัน เพราะที่ผมถือหุ้นเอไอเอส ตัวบริษัทไม่ได้ทำธุรกิจสื่อ แต่เอไอเอสบริษัทแม่ไปลงทุนในบริษัทลูก คือ บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จํากัด (มหาชน) และบริษัท เยลโล่ เพจเจส คอมเมอรส์ จํากัด ซึ่งทำเรื่องสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเป็นกิจการประเภทสื่อมวลชนใดๆ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) โดยบริษัทลูกดังกล่าวทำกิจการเช่น คอลเซ็นเตอร์ -หนังสือที่เป็นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเอกสารเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ในเว็บไซด์ โดยมีโฆษณา เลยกลายเป็นว่าผมถือหุ้นเอไอเอสที่ไม่ได้ทำสื่อโดยตรงแต่เป็นการไปถือหุ้นสื่อทางอ้อม ผ่านบริษัทลูกโดยศาลก็ได้มีคำวินิจฉัยว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงสื่อโซเชียลมีเดียด้วยเช่น Facebook TikTok ให้ถือว่าเป็นสื่อมวลชนอื่นใด

นายชาญชัยกล่าวต่อว่า คดีของตนเองประเด็นสำคัญคือ ถือหุ้นทางอ้อมและถือจำนวนน้อย ศาลจึงมองเจตนาว่าไม่ได้มีนัยยะที่จะไปสั่งการหรือว่าจะไปทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) และและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 42 (3) ว่าด้วยการเป็นเจ้าของสื่อ จากนั้นศาลก็มาวิเคราะห์ต่อว่าที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) มีเจตนาคือไม่ต้องการให้เข้าไปก้าวก่าย หรือมีอิทธิพลในการให้ได้เปรียบเสียเปรียบ ศาลก็เห็นว่าจำนวนที่ถือหุ้นอยู่ไม่ได้มีนัยยะสำคัญหรือมีอำนาจสั่งการหรือครอบงำอะไรได้ ศาลจึงเห็นว่าตนเองมีสิทธิ์โดยชอบตามรัฐธรรมนูญในการเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“สำหรับกรณีของนายพิธา ถือหุ้นสื่อมวลชน คือสื่อโทรทัศน์ ถือเป็นถือโดยตรงไม่ใช่ถือโดยอ้อม แต่ของผมถือโดยอ้อม โดยกรณีของไอทีวีก็พบว่ายังทำกิจการอยู่ ยังจดทะเบียนอยู่ ยังไม่ได้บอกเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจทางการค้า และปัจจุบันยังมีการฟ้องร้องเรื่องใบอนุญาตและผลประโยชน์ต่างๆ ร่วมกว่าสองพันล้านบาท ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงทางกฎหมาย กรณีของพิธาความเป็นผู้ถือหุ้นมันชัดเจนแล้ว ไม่ว่าจะถือในนามมรดกหรือถือในนามตัวเอง แต่ถือว่าถือหุ้นแล้ว ซึ่งเขาถือ 42,000 หุ้น แต่ของผม 200 หุ้น และไม่ได้ถือโดยตรง ตรงนี้คือความเหมือนแต่แตกต่างระหว่างคดีของผมกับคำร้องของนายพิธา ที่หากเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูว่าศาลจะตัดสินไปทางไหน”นายชาญชัยระบุ

นายชาญชัยกล่าวต่อว่าสำหรับกรณีของนายพิธายังมองว่า 50-50 คือหาก กกต.ส่งคำร้องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ศาลสามารถวินิจฉัยได้แบบเดียวกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือจะวินิจฉัยให้ออกมาแบบเดียวกับของตนเองก็ได้ อยู่ที่ว่าจะใช้หลักนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ ถ้าพิจารณาตามหลักนิติศาสตร์คือพิจารณาว่าพฤติกรรม และเหตุที่เกิดมันขัดต่อกฎหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเจตนา เพราะเรื่องเจตนา คดีของตนเองศาลฎีกามองว่าถือหุ้นเอไอเอสมีนัยยะสำคัญหรือไม่ ถ้าไปในทางเดียวกันต้องดูนัยยะว่าที่ถือหุ้นแล้วสามารถไปสั่งการหรือไปขอให้ช่วยได้หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกามองว่าถือหุ้นเอไอเอสอยู่นัยยะไม่สามารถไปสั่งการอะไรได้

“ก็ไปได้ทั้งสองทางยัง 50-50 อยู่ แต่เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยตัดสินไว้แล้ว ถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะไปเปลี่ยนมันก็จะกลายเป็นปัญหา ส่วนกรณีว่าปัจจุบันไอทีวี ไม่ได้แพร่ภาพหรือทำอะไรแล้ว ตรงนี้ไม่เกี่ยว เพราะศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่าแม้จะหยุดไม่ได้ทำแล้ว แต่ไม่ได้ไปแจ้งยกเลิกการประกอบกิจการ ยังถือว่าทำได้อยู่ เพราะหากไม่ได้ยกเลิก จะทำอีกเมื่อไหร่ก็ได้ การไม่ได้แพร่ภาพแล้วเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน แต่คุณไม่ทำเอง แล้วทางไอทีวี ก็มีการไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองว่าตอนที่เข้ามาเซ็นสัญญา ไปประมูลมาต้องเสียค่าสัมปทานแพงกว่าช่องอื่น แล้วต่อมาทำไป ก็จะขอให้รัฐลดค่าสัมปทานลง แล้วต่อมาก็เบี้ยวไม่จ่ายเงิน ก็เลยกลายเป็นปัญหาถึงตอนนี้ ซึ่งลักษณะแบบนี้อยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายคดี”

นายชาญชัยกล่าวอีกว่า หากไปจดทะเบียนแล้วไม่เคยทำเลย ไม่เคยมีรายได้ ถึงต่อให้เป็นเจ้าของด้วย แต่ไม่เคยทำกิจการสื่อ ถ้ากรณีแบบนี้ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องหมดเลย เคยมีเคสแบบนี้ที่ส่งคำร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยศาลก็ได้ยกคำร้องไปรวม 29 ราย เพราะหลักเกณฑ์ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคือ คุณเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นหรือไม่ และจดทะเบียนแล้ว ทำกิจการหรือไม่ ทำแล้วมีรายได้หรือไม่ ที่ผ่านมา ศาลจึงมักนำหลักฐาน เช่น บอจ. 5 เพื่อดูว่ามีรายได้ปรากฏในงบดุลบริษัทที่ถือหุ้นสื่อดังกล่าว หรือไม่ โดยหากไม่มีรายได้เกิดขึ้น ก็แสดงว่าไม่เคยทำเลย ที่ผ่านมาศาลก็จะยกคำร้องหากเป็นแบบนี้ แต่กรณีที่เกิดขึ้น พบว่ามันยังมี บอจ.5 ก็ต้องดูว่าไอทีวีมีรายได้จากอะไร ถ้าพบว่ามีรายได้จากดอกเบี้ย เพราะบริษัทยังไม่เลิกทำ แบบนี้คดีของพิธา ก็ยัง 50-50

“คดีของพิธาจุดสำคัญคือ หากศาลรัฐธรรมนูญมองในเชิงหลักรัฐศาสตร์ นัยยะในการถือหุ้น ไม่มีผลในการที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) คือถือหุ้นน้อยเทียบกับจำนวนทั้งหมด ถ้ามองแบบนี้ศาลก็อาจยกคำร้องได้ แต่หากศาลตีความว่ายังถือครองหุ้นไว้อยู่ แล้วก็เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกาก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ที่เป็นเรื่องของผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น คือจะมีหุ้นสื่อ ไม่ว่าจะกี่หุ้น หนึ่งหุ้น สองหุ้น สามหุ้น ไม่สำคัญ แต่สำคัญคือพบว่ายังถือหุ้นอยู่ แล้วยังไม่ได้จดทะเบียนเลิก ให้ถือว่ากระทำขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) “อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ ระบุ

อนึ่ง บอจ.5 คือเอกสารสำคัญของบริษัท ที่แสดงถึงรายชื่อบัญชีผู้ถือหุ้นบริษัท ที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้น อาทิเช่น วันจดจัดตั้งบริษัท วันประชุม ทุนจดทะเบียนบริษัท จำนวนหุ้นทั้งหมด และรายชื่อผู้ถือหุ้น ประกอบไปด้วย ชื่อ สกุล ที่อยู่ จำนวนหุ้นที่ถือ ในบริษัท เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องขอวินิจฉัยอำนาจสภาฯแก้รัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256

โฆษก ปชป. ยืนยันไม่จริง 'ชวน' หมดสิทธิลงสมัคร สส. มั่นใจ 'เฉลิมชัย' ไม่คิดเช่นนี้

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถีงกรณีที่มีบุคคลให้ข่าวว่า “ชวน หลีกภัย” อาจหมดสิทธิลงสมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งระบบเขต และบัญชีรายชื่อว่า

'ติ๊งต่าง' จี้ ปชป. แจงข่าวลือจะไม่ส่ง 'ชวน' สมัคร สส. ถ้าจริงต้องมีคำตอบให้สังคม

นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ “ติ๊งต่าง” เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับ และแกนนำกลุ่ม ชาวไทยหัวใจรักสงบ อดีตแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีข่าวลือว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ส่งคุณชวนลงสมัครสส.เขต และไม่ให้เป็นสส.บัญชีรายชื่อ

รองโฆษกรัฐบาล ซัด 'จุรินทร์' 10 ปี วนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่แปลกใจทำไมปชป.ตกต่ำ

'เกณิกา' ซัด' จุรินทร์' 10 ปี วนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่แปลกใจทำไมความนิยม ปชป.ตกต่ำ ย้ำ โครงการดิจิทัลรัฐบาลพร้อมทำตาม กม.ติง อย่าเอาประโยชน์ของปชช.มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง