กยท.ปลื้ม ปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ “Smart natural rubber hackathon” ได้ 5 ทีมเข้ารอบสุดท้าย

กยท.ประกาศรายชื่อ 5 ทีมที่เข้ารอบการแข่งขัน “Smart natural rubber hackathon” พร้อมอัดฉีดทีมละ 100,000 บาท สร้าง Demo มาเสนอในเดือน พ.ย. 65  ชี้ได้ประโยชน์ทั้งเครื่องมือ ตอบโจทย์ภารกิจ สร้าง start up และนวัตกรรุ่นใหม่เกิดนวัตกรรมด้านยางพารา

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ( กยท.) เปิดเผยว่า ตามที่ กยท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดทำ“โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา“Smart natural rubber hackathon” ขึ้น ระหว่างวันที่ 9 – 10 ก.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นเวทีการแข่งขันระดมไอเดียพัฒนาเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยให้แต่ละทีมได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกมาภายใต้กระบวนการ Design Thinking ด้วยกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Hackathon  ในการนี้มีนักคิดและนักประดิษฐ์ในระดับอุดมศึกษาได้ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมถึง 16 ทีม

“จากที่ 16 ทีม ได้นำเสนอ Proposal ข้อเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์ และแผนการดำเนินงาน ตามโจทย์ที่กำหนด ได้แก่ หนึ่ง เครื่องมือฉีดพ่นสารเคมี สำหรับต้นยางพาราที่มีความสูง 20 เมตรขึ้นไป สอง เครื่องจักร/อุปกรณ์สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อลดการใช้แรงงาน และสาม เครื่องจักร/อุปกรณ์ เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิตวัตถุดิบยาง/ผลิตภัณฑ์ยาง คณะกรรมการตัดสินได้มีมติคัดเลือก 5 ทีมที่เข้ารอบ ได้แก่ ทีม Agriculture Innovativ CDTI โรงเรียน จิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กรุงเทพมหานคร, ทีม winning 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่, ทีม Rubber UBU Gen 14  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  จ.อุบลราชธานี, ทีม VR.Engineer มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ และ ทีม masterfiber มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา โดยแต่ละทีมจะได้รับเงินทุน 100,000 บาท เพื่อทำการวิจัยพัฒนาต้นแบบชิ้นงาน และมานำเสนอ (Demo Day) ในเดือน พ.ย. 2565  เพื่อตัดสินหาทีมที่ชนะเลิศ โดยทีมที่ชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท” นายณกรณ์ กล่าว

นายณกรณ์ กล่าว กล่าวอีกว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้น กยท. จะได้ทั้งแนวคิดหรือเครื่องมือชนิดใหม่ที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของตามภารกิจขององค์กร ที่รวดเร็วและตรงประเด็น และสร้าง start up เครื่องมือ/อุปกรณ์ รวมถึงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ ซึ่งนอกจากโครงการนี้แล้ว กยท. ยังมีโครงการให้ทุนการศึกษาเกี่ยวกับยางพาราสำหรับบุตรเกษตรกร โครงการทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ โครงการ Natural Rubber Start Up ผลิตภัณฑ์ยางพารา แสดงให้เห็นว่า กยท. สนับสนุนและพัฒนายางพาราไทยในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง

ด้าน ผศ.คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์  มหาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ด้วยยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจ และพืชที่สร้างมูลค่าเพิ่มของภาคใต้ นำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศไทย ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฯ จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยเรื่องยางพารา และสามารถสร้างผลงานวิจัยของมหาลัยสงขลานครินทร์อยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ ได้ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนากับ กยท. มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ใหม่ใช้สำหรับเชิงพาณิชย์ โดยหนึ่งในนโยบายสำคัญคือ การส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้เป็นพลังหลักในการสร้าง และนำนวัตกรรมที่ได้ไปประโยชน์

ด้านตัวแทนทีม Agriculture Innovativ CDTI โรงเรียน จิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ทาง กยท. ได้จัดให้มีกิจกรรมนี้ขึ้น เมื่อทราบข่าวที่แจ้งไปยังทางสถาบัน ฯ จึงได้สมัครเข้าร่วม ด้วยครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางพารา จึงทำให้คิดพัฒนาข้อเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตามที่กำหนด และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร ในการช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก