โพลเผยคนส่วนใหญ่อยากลอยกระทง ขอขมาแม่คงคา

วธ.-สวนดุสิตโพลเผยคนส่วนใหญ่อยากลอยกระทงกับครอบครัว-คนรัก ขอขมาพระแม่คงคา ร่วมอนุรักษ์ประเพณี ส่วนผู้ที่ไม่สนใจกลัวโควิด ไม่มั่นใจมาตรการป้องกัน

18 พ.ย.2564 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชน และประชาชนในหัวข้อ ท่านคิดอย่างไรต่อ “ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย” พุทธศักราช 2564  จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค 7,391 คน จำแนกเป็น เพศหญิง 3,936  คน คิดเป็นร้อยละ 53.25  และเพศชาย 3,455  คน คิดเป็นร้อยละ 46.75  สรุปได้ความคิดเห็น ดังนี้ 1. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.41 สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในงานประเพณีวันลอยกระทง ร้อยละ 34.14 ไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส และ ร้อยละ 15.45 ไม่สนใจเข้าร่วมงาน โดยผู้ที่ไม่สนใจเข้าร่วมงาน ร้อยละ 66.90  เพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 รองลงมา คือ ร้อยละ 45.71  ไม่อยากออกไปพบปะผู้คน ร้อยละ 31.44 ไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19) ร้อยละ 23.56 อยากพักผ่อนอยู่บ้าน ร้อยละ 20.32 ไม่อยากเพิ่มขยะให้กับแม่น้ำลำคลอง

2.กิจกรรมในงานประเพณีลอยกระทงที่คนส่วนใหญ่สนใจเข้าร่วม 5  อันดับแรก คือ ทำบุญไหว้พระ ใช้กระทงที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ชมการประดับประทีปโคมไฟในยามค่ำคืน แต่งชุดไทยไปลอยกระทง และชมการสาธิตทางวัฒนธรรมและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม 3.ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าคุณค่าและประโยชน์ของประเพณีลอยกระทง 5  อันดับแรก คือ อันดับ 1 เพื่อแสดงความกตัญญูต่อ “น้ำ” ขอขมาพระแม่คงคา บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันดับ  2 เพื่อส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์ประเพณีของไทยให้คงอยู่ อันดับ 3  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันดับ 4  ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนรัก ครอบครัว อันดับ 5  เพื่อการแสดงออกต่อพระพุทธศาสนา 

4. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม 3  อันดับแรก คือ อันดับ  1 กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง ดอกบัว อันดับ 2  กระทงที่ทำจากขนมปัง อันดับ 3 กระทง ที่ทำจากพืชผัก 5. หากมีโอกาสเข้าร่วมงานประเพณีลอยกระทง ประชาชนส่วนใหญ่อยากเข้าร่วมงานในจังหวัดของตนเองมากที่สุด เพราะใกล้บ้าน เดินทางสะดวก ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดจากพื้นที่อื่น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว และหากไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ในปีนี้ประชาชนส่วนใหญ่ อยากทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/ญาติ/เพื่อน ลอยกระทงออนไลน์ และไปทำบุญตักบาตร

 6. ประชาชนส่วนใหญ่ สนใจเข้าร่วมงานลอยกระทงในสถานที่ 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 จังหวัดเชียงใหม่ งานประเพณีเดือนยี่เป็ง อันดับ 2 จังหวัดสุโขทัย งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ อันดับ 3 กรุงเทพมหานคร งานเทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย “วันเพ็ญ เย็นใจ” River Festival Thailand 2021 อันดับ 4  จังหวัดของตนเอง อันดับ 5  จังหวัดตาก งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง 7.บุคคลที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุด 3  อันดับแรก คือ อันดับ 1 ครอบครัว (พ่อ แม่/ปู่ย่า ตายาย/ญาติพี่น้อง) อันดับ 2  แฟน/คนรัก อันดับ 3  เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน 8. วิธีการที่จะจูงใจให้ประชาชนร่วมงานลอยกระทง คือ คนในครอบครัวพาลูกหลานไปลอยกระทง หน่วยงานรัฐ เอกชน จัดกิจกรรมรณรงค์ลอยกระทง และการนำศิลปิน ดารา บุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์/เชิญชวน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการจัดกิจกรรมลอยกระทงออนไลน์
       วธ. ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีลอยกระทงอย่างต่อเนื่อง และจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์สืบสานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2564 “ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานประเพณีไทย” 1 ครอบครัว 1  กระทง รักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ปลอดโรค ปลอดภัย ทั่วประเทศ  กิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ และวิถีใหม่ (New Normal) อาทิ บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ E-Card ผู้สนใจร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30  พ.ย. 2564 ได้ที่ลิงค์ : https://ecard.m-culture.go.th และจัดทำหนังสือประเพณีลอยกระทง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ฉบับการ์ตูน และหนังสืออิเลคทรอนิกส์ ติดตามอ่านได้ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม http://book.culture.go.th/ เพื่อเผยแพร่ความรู้ประเพณีวันลอยกระทง การแสดงความกตัญญู การเห็นคุณค่าของน้ำ และแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข



เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์เปิดห้องใหม่'ในหลวง ร.10'

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ได้ปรับปรุงและเพิ่ม 4 ห้องจัดแสดงใหม่เอี่ยม เต็มเติมประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นประตูสู่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมเปิดปี 68

28 มี.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็

50 ศิลปินหน้าใหม่ร่วม Mango Art Festival 2024

เทศกาลศิลปะแมงโก้ ครั้งที่ 4 (Mango Art Festival 2024) ซึ่งเป็นที่เฝ้ารอของเป็นศิลปิน คนในแวดวงศิลปะทุกแขนง อาร์ตเลิฟเวอร์ หรือนักสะสมกลับมาอีกครั้ง เพื่อพาทุกคนออกเดินทางสู่โลกศิลปะไร้พรมแดน และเป็นเวทีให้ศิลปินและแกลเลอรี่ได้นำผลงานมาแสดง

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ

ค้นหาอัตลักษณ์ 6 จังหวัด จัดฉลองสงกรานต์ยิ่งใหญ่

26 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ร่วมกับประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรปปราการ และชลบุรี

โดนใจป๊อบอาร์ต The Lobster ศิลปะระดับโลก

ทั่วไทยเตรียมฉลองสงกรานต์ปี 2567 รัฐบาลประกาศจัดสงกรานต์ 21 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายน 2567 เฉลิมฉลองที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียน“สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ