คิดค้นสูตรอาหารคุณภาพ ขยายพันธุ์ประชากร'ปูขาว'


เพิ่มเพื่อน    

"ปูทะเล" นับเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประชาชนให้ความนิยมในการบริโภค เพราะมีรสชาติอร่อย อีกทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยปูทะเลในสกุล Scylla ที่พบในน่านน้ำไทยมี 4 ชนิด คือ ปูดำหรือปูแดง (Scylla olivacea) ปูเขียวหรือปูทองโหลง (Scylla serrata) ปูม่วง (Scylla tranquebarica) และปูขาวหรือปูทองหลาง (Scylla paramamosain) แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณปูทะเลในธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางการเพิ่มปริมาณปูทะเลให้มากขึ้น และสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงมีนโยบายที่จะเร่งศึกษา ค้นคว้า วิจัยในการผลิตลูกพันธุ์ปูทะเล เพื่อเพิ่มปริมาณในธรรมชาติให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ พร้อมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่ง “ปูขาว” หรือ “ปูทองหลาง” เป็นปูทะเลอีกสายพันธุ์หนึ่งที่กรมประมงกำลังผลักดันให้มีการศึกษาวิจัยการเพาะขยายพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตรัง ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปูชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงให้กับเกษตรกรได้มีความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพ เช่น การเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรปูทะเล เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรและนักศึกษาในด้านเทคนิคการเพาะเลี้ยงปูทะเลให้มีอัตราการรอดสูง เป็นต้น

นายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตรัง เปิดเผยว่า ปูขาว หรือปูทองหลาง มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงในบ่อดิน มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนาดตัวใหญ่ ส่วนในด้านการผลิตลูกพันธุ์ปูขาวให้ได้ปริมาณมากนั้น ต้องใช้แม่พันธุ์ปูไข่นอกกระดองที่มีคุณภาพ ซึ่งโดยธรรมชาติการผสมพันธุ์ของปูเกิดขึ้นหลังจากตัวเมียลอกคราบใหม่ๆ ตัวผู้จะเข้าผสมพันธุ์และปล่อยถุงน้ำเชื้อ (Spermatophorn) ไปเก็บไว้ใน Receptacle ของปูตัวเมีย เมื่อไข่พัฒนาเต็มที่ ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อ แล้วนำไข่มาเก็บบริเวณจับปิ้ง เรียกว่า “ปูไข่นอกกระดอง”

โดยไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนและฟักเป็นลูกปูระยะซูเอี้ย ซึ่งปริมาณความแข็งแรงของลูกปูแรกฟักขึ้นอยู่กับอายุ ความสมบูรณ์แข็งแรง ขนาดของพ่อแม่พันธุ์ สภาพแวดล้อม และที่สำคัญคืออาหารที่พ่อแม่พันธุ์ได้รับการจัดการอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปู นับเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการจัดการด้านสภาพแวดล้อม และเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์

หลังจากที่ทางศูนย์ได้ศึกษาค้นคว้าสูตรอาหารสำหรับนำมาเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปูขาวเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์เพศ พบว่าพ่อแม่พันธุ์ปูขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีส่วนผสมของอาหารสด 60% คือ หอยแครง 7.5% เพรียงทราย 30% หมึก 7.5% และเนื้อกุ้ง 15% ผสมกับ 40% ของส่วนผสมอื่นๆ ประกอบด้วย อาหารผงสำเร็จรูป 36% สาหร่ายสไปรูลินา 2% วิตามินซี 1% และน้ำมันปลา 1% ซึ่งช่วยให้พ่อแม่พันธุ์ปูขาวมีความสมบูรณ์เพศ

โดยพบว่า แม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปูขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรดังกล่าว มีการปล่อยไข่ออกนอกกระดองมากขึ้น ดัชนีความสมบูรณ์เพศและคุณภาพของน้ำเชื้อสูงขึ้น เนื่องจากอาหารสูตรดังกล่าวมีองค์ประกอบของกรดไขมัน (ARA, EPA, DHA) และโปรตีนในปริมาณมาก ช่วยให้แม่พันธุ์ปูขาวนำไปใช้ในการพัฒนาไข่ให้สมบูรณ์ ที่สำคัญคือมีฮอร์โมนหลายชนิดจากเพรียงทรายและหมึกช่วยกระตุ้นการเจริญของรังไข่ พัฒนาเซลล์ไข่ให้กลายเป็นไข่แก่ พร้อมปล่อยไข่ออกนอกกระดอง ช่วยให้พ่อพันธุ์ปูขาวมีน้ำเชื้อสมบูรณ์ คุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีสารสีจากเนื้อกุ้ง ช่วยลดความผิดปกติและป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์สเปิร์มอีกด้วย

อธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนาเทคนิคในการอนุบาลลูกพันธุ์ปูขาว และการเพาะเลี้ยงปูขาวให้มีอัตราการเจริญเติบโตและรอดตายสูงนั้น ถือเป็นภารกิจหลักของกรมประมงในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นการเร่งผลักดันปูขาวให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนทุกท่านให้ช่วยดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและอาชีพประมง สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตรัง โทร.0-7527-4077.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"