ร้ายน่าขนลุก!"หมอธีระวัฒน์"ชี้ต้องเฝ้าดูอาการเด็กโดนสุนัขบ้ากัดเหวอะอีกปี


เพิ่มเพื่อน    


                             

หมอธีระวัฒน์ เผย กรณีกรมปศุสัตว์พบเด็กถูกสุนัขมีพิษสุนัขบ้ากัดกัด  แม้ฉีดวัคซีนและได้รับเซรุ่มจนอาการดีขึ้น ยังมีความเสี่ยงสูง ต้องเฝ้าระวังโรคอีก 1 ปี จึงจะมั่นใจปลอดภัย เหตุแผลใหญ่เหวอะหวะ ชี้หากควบคุมสถานการณ์ให้นิ่งได้ภายใน 2ปี ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานผลิตวัคซีนสัตว์ แต่ถ้า3ปีคุมไม่อยู่ก็จำเป็นต้องสร้างอธิบดีกรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคนนั้น ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยซ้ำในพื้นที่เดิม ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนป้องกัน  มีจำนวนเพียงพอและได้มาตรฐาน ข้อมูลปีนี้มีผู้สัมผัสและเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 6 หมื่นราย จำนวนไม่ได้มากกว่าปีที่แล้ว

     ศ.นพ.ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  กล่าวถึงกรณีเด็กถูกสุนัขกัด ซึ่งได้รับวัคซีนและเซรุ่มแล้ว แต่กรมปศุสัตว์ตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าในสุนัขตัวที่กัดจนเกิดข้อกังวลว่า  เด็กจะมีอันตรายหรือไม่ ว่า กรณีที่ถูกสุนัขกัดจนมีแผลเหวอะหวะ หรือถูกกัดมากนั้น ต้องมีการระวังอย่างมาก  แม้จะฉีดวัคซีนและเซรุ่มรอบแผลแล้วก็ตาม และจำเป็นต้องเฝ้าระวังไปอีก 1 ปีจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัยแล้ว  อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต้องระมัดระวังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้งหมาแมว หากไม่มั่นใจว่าฉีดวัคซีนหรือไม่ ต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะสัตว์จรจัด ส่วนใครที่ถูกกัด ข่วน หรือเลียก็ต้องรีบฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคดีที่สุด 


    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า และในส่วนที่กรมปศุสัตว์มีแผนสร้างโรงงานวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้นต้องให้ชัดเจนก่อนว่าเตรียมแผนสร้างโรงงานวัคซีนในคนหรือในสัตว์กันแน่ เพราะหากป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน ก็ต้องถามกลับว่าจะคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้แค่ไหน  เพราะการผลิตต้องมองหลายอย่าง ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีโรงงานวัคซีนในคนสำเร็จ อย่างกรณี โรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่องค์การเภสัชกรรม(อภ.) วางแผนจะก่อสร้างก็ใช้เวลานานมาก 


    ทั้งนี้หากเป็นโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ก็ต้องพิจารณาดีๆ เพราะแม้ว่าผลิตง่าย แต่ก็มีราคาถูกอยู่แล้ว และที่สำคัญต้องพิจารณาด้วยว่า ไทยสามารถควบคุมโรค ทั้งปูพรมคุมกำเนิดในสัตว์ ฉีดวัคซีน ได้ใน 2 ปีหรือไม่ มีการปิดประตูชายแดน คอยควบคุมโรคข้ามแดน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จริงๆก็ไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงาน แต่หากทำไม่ได้ หรือต้องใช้เวลาในการควบคุมโรคถึง 3 ปี ก็สร้างโรงงานไว้ก็ดี เพื่อความมั่นคงของประเทศ ส่วนที่ว่าหากสร้างแล้วมีโอกาสส่งออกได้หรือไม่ นั้นค่อนข้างยากเพราะคู่แข่งทั้งจีน อินเดียก็มีศักยภาพสูงในการผลิตวัคซีนในสัตว์เช่นกัน  และจีนยังนำมาบรรจุเก็บที่สถานเสาวภาด้วย และที่สำคัญที่ต้องชัดเจนก็คือเรื่องคำถามต่างๆ ด้วย เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีราคาเพียงตัวละประมาณ 10-15 บาท แต่ที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ลงไป ตรวจสอบพบว่าบางพื้นที่มีการใช้งบกับการฉีดวัคซีนให้สัตว์ตกตัวละ 50 บาท ซึ่งก็ต้องไปสอบถามและมีคำตอบที่ชัดเจน. 

        ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ให้เฝ้าระวังสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.–19 มี.ค. 2561 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ในจังหวัดสุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ และบุรีรัมย์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเกิดซ้ำในพื้นที่ที่พบเคยผู้ป่วย โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือของทั้งหน่วยงานปศุสัตว์ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุข  ทั้งนี้ พบว่าผู้เสียชีวิตทุกรายชะล่าใจในการป้องกันหลังสัมผัสสัตว์ที่เสี่ยงมีเชื้อ และขาดความตระหนักเพราะเห็นเป็นแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น   จึงไม่ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนข้อมูลประชาชนที่ถูกสัตว์กัดและเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้น พบว่าในแต่ละปีมีประมาณ 3 แสนราย โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา มีจำนวน 281,849 ราย เฉลี่ย 772 ราย/วัน และในปี 2561 นี้ (ต้นปี-ปัจจุบัน) จำนวน 63,112 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (3 เดือนต้นปี 60 จำนวน 69,999 ราย) จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้ในช่วงนี้จะมีรายงานการพบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในหลายพื้นที่ แต่จำนวนผู้สัมผัสและเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก็ไม่ได้มากกว่าปีที่ผ่านมา  


    อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า กรมฯจึงขอแนะนำประชาชนว่า หากถูกสุนัขและแมว กัด ข่วน หรือเลียบริเวณแผล แม้เพียงเล็กน้อยก็อย่าได้ชะล่าใจ ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ทันทีหลายๆ ครั้ง นานประมาณ 10 นาที และใส่ยาเบตาดีนหลังล้างแผล เพื่อลดการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการวินิจฉัยรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ควรไปตามนัดทุกครั้ง


    นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในส่วนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน นั้น พบว่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวมากกว่าจำนวนที่ใช้จริงในประเทศไทย และวัคซีนได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างรอบคอบ  จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนที่ใช้ในประเทศไทย มีจำนวนเพียงพอและได้มาตรฐาน  สำหรับการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องดังกล่าวนี้ ปัจจุบันได้ดำเนินการและปฎิบัติตาม “แนวทางเวชปฎิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย” อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข และมีคณะกรรมการผู้เชียวชาญจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันหารือและกำหนดแนวทางฯ ดังกล่าวนี้  หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422.

 

    นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผู้ถูกสุนัขกัดเป็นผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ ซึ่งจัดอยู่ในสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสามารถใช้สิทธิการได้รับการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องครบ 5 เข็ม ตามแนวทางการรักษาทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


         


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"