'หมอธีระวัฒน์' แนะฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง ได้ผลเท่ากัน-ลดผลข้างเคียง-ประหยัดวัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

2 ต.ค.64 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ “มีวัคซีนน้อย…ฉีดแบบเข้าชั้นผิวหนังเพียงพอทั้งประเทศทันที”

สถานการณ์ขาดแคลนวัคซีนอย่างหนักกระจายได้ไม่ทั่วนัก อีกทั้งยังต้องฉีด บูสเพิ่มอีกเข็มสำหรับคนเสี่ยงสูงสุด

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ได้ผลเท่ากับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อประหยัดวัคซีนได้อย่างน้อยห้าเท่า ผลข้างเคียงน้อยกว่า

เป็นทางออกในเด็กและผู้ใหญ่ทุกอายุ

ในประเทศไทย การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal หรือ ID) เริ่มต้นในปี 1987 โดยพวกเราคนไทยเองแก้ปัญหาวัคซีนไม่พอสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นใช้กลวิธีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal) โดยใช้ปริมาณ 0.1 ซีซีแทนที่จะใช้ 0.5 ซีซีหรือ 1.0 ซีซี (แล้วแต่ยี่ห้อ) เข้ากล้าม (intramuscular หรือ IM) และนำไปสู่การใช้ในประเทศไทยในปี 1988 และนำเสนอต่อองค์การอนามัยโลกจนกระทั่งยอมรับใช้ทั่วโลกในปี 1991 และการประชุมล่าสุดในปี 2017 ยังเป็นที่รับรองจนถึงปัจจุบันโดยได้ผลเท่ากันทั้งการกระตุ้นภูมิ (immunogenicity) และประสิทธิภาพในการป้องกันโรค (efficacy)

กลไกในการออกฤทธิ์การฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีนพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นเชื้อตายจะผ่านกลไกที่เรียกว่า Th2 แทนที่จะเป็น Th1 และเราได้รายงานในวารสารวัคซีนในปี 2010 และบรรจุในคู่มือ WHO จนปัจจุบัน

สำหรับวัคซีนโควิดขณะนี้เรามีทั้งวัคซีนเชื้อตาย ชิโนแวค ชิโนฟาร์ม และฝากกับไวรัสเป็น เช่น แอสตร้า เจเจ สปุ๊ตนิค ชนิด mRNA ไฟเซอร์ โมเดนา และแบบชิ้นโปรตีนย่อย ใบยา โนวาแวคซ์

ทางที่น่าจะเป็นได้

1- คนเสี่ยงสูงสุดที่ได้ชิโนแวค IM ไปแล้วสองเข็มต่อด้วยแอสตร้า ID 1 จุด 0.1 ซีซี(มีข้อมูลแล้ว) และกันสายพันธุ์หลากหลายได้ และประเทศจีนมีการศึกษารายงานแล้ว

2- คนทั้งประเทศปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ID ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย หรือชนิดอื่น ทั้งนี้โดยที่รายงานจากเนเธอร์แลนด์แสดงว่าการฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีน mRNA ในปริมาณน้อยกว่าธรรมดา 5 ถึง 10 เท่า (10 หรือ 20 ไมโครกรัม) แทนที่จะเป็น 100 แบบ IM ได้ผลเช่นกัน นั่นก็คือหนึ่งโดสฉีดได้กลายเป็น 10 โดส

3-คนที่ได้รับการฉีดแบบเข้ากล้าม หรือ IM ไปแล้ว ฉีดให้ครบสูตรทั้งสองเข็ม ไม่สลับ IM ID ในเข็ม 1 และ 2 แต่กระตุ้น เข็ม 3 เป็น ID ได้เช่นเดียวกันคนฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ID ก็ชั้นผิวหนังตลอดทั้งเข็มหนึ่งและเข็มสอง

ถ้าได้วัคซีนมา 1,000,000 โดสก็จะกลายเป็น 10 ล้านโดส

เราสามารถเก็บข้อมูลตามข้อมูลในขณะที่เริ่มการฉีดเข้าชั้นผิวหนังได้ทันทีเลย

การฉีดเข้าชั้นผิวหนังเหมือนกับการฉีดวัคซีนบีซีจีในเด็กแรกเกิด หรือการฉีดดูปฏิกิริยาวัณโรค (tuberculon test)หรือฉีดในคนที่แพ้ฝุ่นเป็นต้น (desensitization)

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ขณะนี้ ก็มีชนิดที่ฉีดเข้าชั้นผิวหนังอยู่แล้ววัคซีนไข้เหลือง ตับอักเสบบีและอื่นๆเป็นการใช้เข้าชั้นผิวหนังอยู่แล้วเช่นกัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"