'โฆษกแรงงาน' แจงปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์วันลาคลอด คุ้มครองลูกจ้าง 98 วัน

โฆษกแรงงาน แจง ก.แรงงานเดินหน้าปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนวันลาคลอดให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองทั้ง 98 วัน โดยสำนักงานประกันสังคมและนายจ้างรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างคนละครึ่ง

9 มี.ค.2565 - นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ตามที่น.ส.วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "พ่อแก่ เเม่ป่วย ลูกเล็ก มองขาดปัญหาฉุดรั้งความก้าวหน้าทางการงานของสตรี" ซึ่งจัดโดย ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคตพรรคก้าวไกล (Think Forward Center) เนื่องในวันสตรีสากลเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาว่า 29 ปี ไม่มีอะไรเปลี่ยน "วันสตรีสากล" ร้องเพิ่มวันลาคลอดนั้น ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เกี่ยวกับสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตร แม้สิทธิการลาเพื่อคลอดบุตรจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน แต่ลูกจ้างยังมีความกังวลว่าจะได้รับค่าจ้างในส่วนวันลา 8 วันหรือไม่ อย่างไรนั้น กระทรวงแรงงานเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ ในเบื้องต้นขอชี้แจงว่า ข้อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบัน กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยลูกจ้างยังมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมอีก ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน จึงเห็นได้ว่า จำนวนวันลา 8 วันที่เพิ่มขึ้นนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง

นางเธียรรัตน์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นในเรื่องนี้กระทรวงแรงงาน จึงได้ดำเนินการให้สำนักงานประกันสังคมเสนอปรับแก้ไขกฎหมาย เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง โดยจะปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน จากร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 98 วัน ซึ่งจะมีผลให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันลาเพิ่มขึ้น จากสิทธิเดิม อีก 4 วัน ในส่วนของค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร อีก 4 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานประเมิลผลสัมฤทธิ์กฎหมาย เพื่อปรับแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้างต่อไป

ในส่วนอนุสัญญา ฉบับที่ 87 และ 98 อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. … ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่า จะเข้า ครม.ในเดือนพฤษภาคม 2565 และสภาฯ ต่อไปหลังจากผ่านสภาฯ แล้ว จะนำไปสู่ขั้นตอนการรับรองอนุสัญญาฯ ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แรงงานอิสระ เฮ ! "พิพัฒน์" เผยให้ลงทะเบียน เงินกู้ ประกอบอาชีพ วงเงิน 50,000-300,000 ดอกเบี้ย 0% ภายใน 30 เม.ย.นี้

วันที่ 27 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ตามโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

"พิพัฒน์" ชง ครม.ผ่านฉลุย รัฐวิสาหกิจ เฮ! ลาคลอด 98 วัน-เพิ่มวันหยุดพิเศษตามมติ ครม.

26 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ให้ลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง 98 วัน

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน พร้อมส่ง 100,000 คน เข้าอุตฯรถยนต์ไฟฟ้า ดันพัฒนาแรงงานวัยเรียน ส่งเสริมอาชีวะ ลดการขาดแรงงานในอนาคต

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ การยกระดับการทำงานของคนไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดย

ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกัน

“พิพัฒน์” ห่วงใยแรงงาน ส่งหน่วยงานในสังกัดเข้าช่วยลูกจ้างน้ำท่วมศรีราชา ขอความร่วมมือนายจ้างไม่ถือเป็นวันลา ได้ค่าจ้างปกติ

วันที่ 21 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณี สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในเขตพื้นที่ อ.ศรีราชา