ไทย-อียูลงนามข้อตกลงจัดสรรโควตาภาษี เผยยังคงได้สิทธิ์โควตาสินค้าเกษตร ประมง ไม่น้อยกว่าเดิม


เพิ่มเพื่อน    

11 พ.ค. 2564 นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เปิดเผยว่า ได้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามความตกลงระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีของสหภาพยุโรป (อียู) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่เป็นผลการเจรจารองรับการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit ณ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม โดยฝ่ายสหภาพยุโรปมีนาย José Fernando Costa Pereira เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรโปรตุเกสประจำคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคง สำนักงานประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นผู้แทน และมีนายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ การลงนามความตกลงจัดสรรโควตาภาษี (TRQ) กับอียู เป็นการสรุปการแบ่งโควตาภาษีสินค้าเกษตรและประมงของไทยที่ส่งออกไปอียูและอังกฤษ โดยไทยจะได้โควตาเท่าเดิมในภาพรวม แต่ผู้ส่งออกจะต้องเช็กว่าโควตาไปอียูเป็นจำนวนเท่าไร ไปอังกฤษเป็นจำนวนเท่าไร เช่น โควตาไก่บางรายการอาจแบ่งไปให้อังกฤษมากกว่าอียู ส่วนโควตาข้าวบางรายการ อาจจะอยู่ที่อียูมากกว่าอังกฤษ เป็นต้น ส่วนอัตราภาษีจะยังเป็นอัตราเดิม ซึ่งเมื่อความตกลงมีผลใช้บังคับแล้วจะช่วยให้การส่งออกสินค้าไทยหลายรายการที่สำคัญไปทั้งสองประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่น

“สินค้าในรายการที่ลงนาม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าข้าว สัตว์ปีก และสินค้าประมง โดยไทยยังคงรักษาสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับก่อนที่จะมี Brexit ได้ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณโควตาเดิมที่สหภาพยุโรปจัดสรรให้ไทยเป็นการเฉพาะ (Country Specific Quota) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก (เป็ดและไก่) และปลา ซึ่งผู้นำเข้าสินค้าจากไทยภายใต้ปริมาณโควตานี้จะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ ส่วนรายการอื่นๆ จะมีที่เป็นโควตารวมให้ทุกประเทศ (global quota) ซึ่งไทยต้องไปยื่นขอโควตาแข่งกับประเทศอื่นต่อไป”นางพิมพ์ชนกกล่าว

อย่างไรก็ตาม การเจรจากับอียูและอังกฤษในกรอบของ WTO นั้น เป็นการเจรจาเฉพาะการแบ่งปริมาณอย่างเดียว ไม่รวมการลดภาษี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป และไทย-อังกฤษ โดยเร็วๆ ซึ่งคงจะมีการเจรจาทั้งขอเพิ่มโควตาและลดภาษีสินค้าเกษตรและประมงต่อไป เพื่อให้เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยได้รับประโยชน์จาก FTA ให้มากที่สุด

ก่อนหน้านี้ ไทยกับอังกฤษได้ลงนามย่อในหนังสือแลกเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 เพื่อให้ทันมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 ม.ค.2564 อันเป็นวันที่อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ส่วนผลการเจรจากับสหภาพยุโรปเป็นเอกสารที่ลงนามในครั้งนี้ ซึ่งสหภาพยุโรปจะต้องไปดำเนินกระบวนการภายในก่อนที่จะมีหนังสือแจ้งไทยเพื่อให้ความตกลงมีผลใช้บังคับต่อไป คาดว่าจะเป็นประมาณเดือนมิ.ย.2564


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"