แอปฯ via bus เพื่อคน กทม. ผงาดนวัตกรรมเด่นเอเชีย


เพิ่มเพื่อน    

อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ 

 

 

     นิตยสารฟอร์บ ( Forbes  )เล่มล่าสุด ได้ประกาศผลการ คัดเลือกคนไทย 3 คน  ให้อยู่ในกลุ่มคน 30คนของเอเชียซึ่งมีอายุไม่เกิน 30 ปี ที่ได้สร้างผลงานที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมต่างๆในเอเชีย ( Forbes 30 under 30 Asia -2021 )  

     ผลงานของคนไทยทั้งสาม เป็นผลงานจากการสร้าง แพลตฟอร์มชื่อ ViaBusสำหรับการเดินทางขนส่งสาธาณะ  ช่วยนำทางทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางด้วยรถสาธารณะ ผ่านการจราจรอันยุ่งเหยิงติดขัดในกรุงเทพไปได้สะดวกรวดเร็วขึ้

      เขาทั้ง 3 คนนี้ คือ อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ธนิษฐ์ ซึ้งหทัยพร  ธนัทเศรษฐ์ หอวัฒนพันธ์ 

 

เครดิตภาพ: นิตยสาร Forbes 

 

      เป็นที่รู้กันว่าการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ เรือ รถไฟฟ้า รถสองแถว เป็นต้น ล้วนมีความสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนเมือง โดยเฉพาะรถเมล์  นับว่าเป็นขนส่งที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดก็ว่าได้ 

      จากข้อมูลองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เมื่อปี 2562 ที่ให้บริการรถวิ่งรับส่งประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ รวม 396 เส้นทาง รถจำนวนเกือบ 9,000 คัน แบ่งเป็นเป็นรถ ขสมก. รถธรรมดากว่า 1,500 คัน รถปรับอากาศกว่า 1,300 คัน รถ PBC(รถเช่า) 117 คัน และมีรถของบริษัทเอกชนที่ร่วมวิ่งบริการ แบ่งเป็นรถธรรมดากว่า 440 คัน รถปรับอากาศกว่า 160 คัน เป็นต้น เฉลี่ยแล้วมีผู้โดยสารใช้บริการวันละ 1.3 ล้านคน ใช้รถปรับอากาศประมาณ 70 % หรือกว่า 9 แสนคน  ที่เหลือใช้รถร้อนประมาณ 3-5 แสนคนต่อวัน 

     ด้วยสภาพการจราจรในกรุงเทพฯที ติดขัด โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้คนกรุงจำนวนมากที่ใช้บริการรถเมล์  ต้องประสบปัญหาการรอรถเมล์นาน  และไม่รูว่ารถเมล์สายท่รอนั้นจะมาถึง เมื่อไหร่ แต่ แอปพลิเคชัน ViaBus (เวียบัส) สามารถให้คำตอบได้ว่า รถเมล์สายที่เรากำลังรอนั้น ตอนนี้กำลังวิ่งถึงจุดไหน และจะมาถึงป้ายรถเมล์ที่เรากำลังเมื่อไหร่ ต้องรออีกกี่นาที  ซึ่งข้อมูลนี้ ช่วยให้เราสามารถบริหารเวลาการเดินทางได้ไม่ผิดพลาด 

     อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแอปพลิเคชัน ViaBus (เวียบัส) เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำแอพพลิเคชั่นติดตามรถโดยสารสาธาณะว่า  เกิดจากสมัยที่เข้าเรียนปี1 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในวันแรกที่ต้องเข้าไปทำกิจกรรม แต่ปรากฎว่ามาไม่ทัน รถบัสของทางมหาวิทยาลัย(CU POP BUS) จึงมีความคิดว่า ทำไมเราไม่รู้ว่ารถจะมาเมื่อไหร่ จะได้มาทันเวลา กลายเป็นแรงบันดาลใจในการร่วมมือกับเพื่อนๆในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น CHULA POP BUS ขึ้นมา ซึ่งได้กระแสตอบรับดีมาก ทั้งผู้ใช้งานที่เป็นบุคลากรหรือผู้ที่มาทำธุระในจุฬาฯ ก็สะดวกมากขึ้น 

    จากแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในเฉพาะในชุมชนคนจุฬา อินทัช และทีม ได้พัฒนาแอแพิเคชั่นVIA BUS มาเป็นระบบติดตามการให้บริการของรถเมล์โดยสารที่ครอบคลุมรถเมล์ของขสมก.และรถร่วมเอกชน ประทาณ95%ของรถเมล์ที่ให้บริการ เปิดให้บริการเมื่อประมาณปี 2561 ซึ่งปัจจุบันมีผู้โหลดแอปฯใช้งานแล้วประมาณ 2ล้านคน

   อินทัช บอกว่า ส่วนตัวก็เดินทางด้วยรถสาธารณะทั้งรถเมล์ เรือ รถไฟฟ้า ก่อนที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นเวียบัส ก็ได้มีการสำรวจสภาพการจราจร และรถโดยสารในประเทศไทย เพราะเส้นทางที่ให้บริการรถเมล์ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ครอบคลุมเกือบทุกเส้นทาง แต่บางคนอาจจะไม่ทราบว่ามีรถสายอื่นๆที่ผ่านเส้นทางที่จะไป จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเวียบัสขึ้นมา ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยให้ย่นระยะเวลาการรอรถ สามารถวางแผนการเดินทางได้มากขึ้น 

       หลังจากพัฒนาสำเร็จได้มีการทดสอบการใช้งาน 2-3 ปี และเปิดตัวการใช้งานจริงแล้วกว่า 3 ปี โดยการสนับสนุนจาก CU Innovation Hub ในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อการรายงานติดตามสายรถเมล์แบบเรียลไทม์ สามารถรองรับการใช้งานขนาดใหญ่ที่คาดการณ์ไว้ว่าประมาณ 10 ล้านคน ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ  และเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก

       " การรวบรวมข้อมูลรถโดยสารในกรุงเทพฯ เป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะเป็นข้อมูลในระดับที่ใหญ่และเยอะขึ้น ดีที่รถเมล์จะมี GPS ติดตามอยู่แล้ว เพราะกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ติด ทำให้ง่ายในการติดตาม แม้ว่าในบางประเทศจะมี GPS ติดตามแบบของไทยเรา แต่ก็ยังไม่มีการรายงานได้แบบเรียลไทม์ที่ระบุตำแหน่งชัดเจนขนาดนี้ ถือได้ว่าในแอพพลิเคชั่นเวียบัส เป็นเรื่องใหม่อย่างมากในวงการนวัตกรรม " อินทัชเล่า 

     สำหรับคอนเซปต์ในการพัฒนาแอพที่สำคัญ อินทัชบอกว่า  คือต้องใช้งานง่าย ซึ่งหัวใจหลักมาจากข้อแนะนำต่างๆจากผู้ใช้จริง ทางตนและทีมจึงได้มีการสำรวจพื้นที่การใช้รถโดยสารในจุดต่างๆเอง รวมถึงได้ร่วมมือกับชุมชนคนรักรถเมล์   และขสมก. เพื่อให้ทราบว่าจุดจอดไหนที่ยังมีการใช้งานหรือยกเลิกใช้งานไปแล้ว และผู้ที่ใช้รถโดยสารสามารถจะมีข้อมูลในการเดินทางที่ดียิ่งขึ้

      จากจุดเริ่มต้นที่ให้ข้อมูลการเดินรถเมล์แบบเรียลไทม์  ปัจจุบันแอปฯ เวียบัส ยังให้ข้อมูล ครอบคลุมรวมไปถึงเรือ และรถสองแถวบางสายอีกด้วย

     "เรายัง ติดตามรถเมล์ได้ประมาณ 200-300 สาย หรือ 70-80% จากรถเมล์ทั้งหมด และมีผู้ใช้บริการทั้งหมดกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนเกือบครึ่งของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ"

       แต่ด้วยสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 การเดินทางโดยรถเมล์ถือเป็นอีกจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทางขสมก. จึงได้ปรับลดจำนวนเที่ยววิ่งรถโดยสารทุกประเภท มีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2564 เป็นต้นไป 

     อินทัชอธิบายว่า ปกติทางการเดินรถของขสมก . จะมีการปรับเปลี่ยนในส่วนของเวลาและจำนวนรถเมล์ที่ให้บริการตลอด ซึ่งเป็นการควบคุมภายใน ไม่ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ  ซึ่งทางแอพก็จะมีการปรับข้อมูลเพื่อให้ตรงตามเวลารถเมล์ออกให้ได้มากที่สุด หรือแจ้งเตือนผู้ใช้งานในข้อมูลสำคัญ อย่าง เส้นทางนั้นมีการก่อสร้างถนน ทั้งนี้ในสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้มีการติดตามขนส่งทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้วางแผนการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น 

     การได้เลือกจาก นิตยสาร Forbes ให้ทีมผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเวียบัส ได้แก่ อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์, ธนิษฐ์ ซึ้งหทัยพร และธนัทเศรษฐ์ หอวัฒนพันธ์ ให้ยู่ในกลุ่ม 30คนรุ่นใหม่ของเอเชียซึ่งมีอายุไม่เกิน 30 ปี ที่ได้สร้างผลงานช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมต่างๆในเอเชีย 

      อินทัช ในฐานะตัวแทน กล่าวว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจที่นวัตกรรมที่เราได้สร้างสามารถมีประโยชน์ต่อสังคมและเป็นที่ยอมรับถึงศักยภาพของคนไทยในเวทีโลก และนี่ยังถือเป็นก้าวแรก ที่แอปฯเวียบัสยังต้องพัฒนาต่อไปอีก เพราะเราต้องการที่ขยายการติดตามการขนส่งสารสาธารณะให้ครอบคลุม ไปถึงรถไฟฟ้า รถเมล์ในต่างจังหวัด รถบัสโดยสารข้ามจังหวัด อาทิ จังหวัดภูเก็ต ที่มีการใช้งานในรถแอร์พอร์ตบัส หรือในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีรถโดยสารในจังหวัด เป้นต้น  รวมไปถึงฟีเจอร์ต่างๆที่จะเพิ่มเข้าไปภายในแอพมากขึ้น 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"