ไทยฟิตติดบ้านต้านโควิด-19 รอดไปด้วยกัน ชวน “กินดี-มีขยับ-หลับสบาย-คลายเครียด”


เพิ่มเพื่อน    

สสส.-เครือข่ายคนไทยไร้พุง-สมาคมโรคเบาหวานฯ ชวนคนไทย “ฟิตติดบ้านต้านโควิด-19” หยุดอ้วนห่างไกลโควิด และมหันตภัยโรค NCDs ยิ่งช่วง work from home แนะปรับวิถีชีวิตใหม่รอดไปด้วยกัน “อยู่บ้าน กินดี มีขยับ หลับสบาย คลายเครียด” กินครบ 5 หมู่ ปรุงเอง เพิ่มผักผลไม้ ใช้ 2 สูตร ชู 6:6:1 ลดหวาน-มัน-เค็ม และ 2:1:1 สไตล์ไทยผสมเมดิเตอร์เรเนียน เดินหมื่นก้าวต่อวัน มีวินัยเคลื่อนไหวตัวเองบ่อยๆ ออกกำลังกาย เปิดเกมท้าทายแข่งกันทำกิจกรรมตัวเลขเบรกโรคเฟส 1 เฟส 2  อยู่บ้านหุ่นดีช่วงโควิด

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายคนไทยไร้พุง สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนาความรู้และแถลงข่าวกิจกรรมไทยฟิตติดบ้านต้านโควิด-19 ตอน “รอดไปด้วยกัน” ผ่านทาง facebook เครือข่ายคนไทยไร้พุง และ facebook สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ข้อมูลความรู้ที่จะได้รับ ความสำคัญของการดูแลสุขภาพในภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 เหตุใดผู้ที่เป็นโรคอ้วน อ้วนลงพุงและโรคเรื้อรังจึงเกิดผลกระทบรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 เราควรใช้ชีวิตขณะอยู่บ้าน Work From Home อย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลโรค การตรวจประเมินสุขภาพตนเองด้วยวิธีง่ายๆ คำแนะนำด้านการออกกำลังกายง่ายๆ ในบ้าน คำแนะนำด้านการปรุงอาหาร/สั่งอาหารกินที่บ้านให้ดีต่อสุขภาพ เสริมภูมิต้านทานโรค

          ร่วมสนุกกับกิจกรรมต่อเนื่องในช่วงเดือน พ.ค.64-มิ.ย.64 “ตัวเลขเบรกโรค” การตรวจประเมินสุขภาพตนเองและตั้งเป้าหมายด้านสุขภาพ “ฟิตติดบ้าน” การออกกำลังกายง่ายๆ ในบ้าน “กินที่บ้าน ต้านโรค” การเลือกกิน/สั่งอาหารให้ดีต่อสุขภาพ

 

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์

 

         ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ประธานเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดประเด็นข้อสงสัยว่าทำไมเราต้องมาคุยเรื่องโรคอ้วนเกี่ยวข้องกับโควิด-19 อย่างไร? ดูจากกราฟตั้งแต่ปี 2563 ช่วงเดือน ม.ค.เราต้องเผชิญและผจญกับโรคโควิด-19 ระบาดรอบแรก ต่อมาเดือน ส.ค.-ก.ย.-ต.ค.ระบาดรอบที่ 2 พบการระบาดใน จ.สมุทรสาคร คลัสเตอร์ จ.อ่างทอง ใน จ.ระยอง จ.ชลบุรี พอเริ่มซาลงก็ระบาดในรอบที่ 3 เมื่อเดือน มี.ค.2564 โดยเฉพาะระลอกที่ 3 การระบาดหลังสงกรานต์ เรื่องมาตรการปิดสถานบันเทิง ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เราตระหนก ทำไมสถานการณ์ติดเชื้อแต่ละวันพุ่งสูงขึ้นมาก

          ในช่วงวันที่ 13 ม.ค.2563-16 ม.ค.2564 ตรวจพบผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตเป็นชาย 55 คน หญิง 15 คน อายุ 28-87 ปี เสียชีวิต 70 ราย โรคที่พบ NCDs สูงสุด 58.3% โรคอื่นๆ 18.1% ไม่มีโรค 16.7% ไม่ทราบผู้เสียชีวิตมีปัญหาอะไรเป็นสาเหตุ 6.9% ในกลุ่มโรค NCDs มีโรคเบาหวาน 65% ความดันโลหิตสูง 55% หัวใจ 12.5% มีอัมพาต ไตเรื้อรัง ปอดเรื้อรัง ทั้งหมดรวมเรียกว่าโรค NCDs ในกราฟจะเห็นว่าบางคนมีมากกว่า 1 โรค เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคไต

 

 

          ในช่วงวันที่ 1 เม.ย.-6 พ.ค. พบว่ามีคนไข้เสียชีวิต 242 ราย เป็นจำนวน 3-4 เท่าของช่วงแรก จำนวน 75.6% อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว เป็นกลุ่มเสี่ยงมาก อัตราเสียชีวิตร้อยละ 0.51 ในช่วงวันที่ 9 พ.ค.64 ติดเชื้อ 54,512 ราย เสียชีวิต 305 ราย คิดเป็น 0.56% ตัวเลขล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พ.ค.มีผู้เสียชีวิต 417 ราย ตัวเลขผู้เสียชีวิตในช่วงนี้สูงจริงๆ

          วงจรกลุ่มโรคไม่ติดต่อและวิธีการบริหารจัดการ ช่วงคนปกตินั้นถ้ามีพฤติกรรมไม่ดีทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรค NCDs มีโรคแทรกซ้อนตามมาเสมอ โรคแทรกซ้อนคุกคามเรามากๆ จนถึงระยะสุดท้ายจะต้องมีคนเข้ามาดูแล ไม่สามารถจะพึ่งพาตนเองได้เมื่อเจ็บป่วย

 

 

          ถ้าเราปกติ ไม่ป่วย เราควรป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคกลายเป็นความเสี่ยง เพราะเมื่อเราเกิดโรค NCDs ภัยเงียบ แต่ถ้าเราเริ่มป่วยเป็นโรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ย่อมมีปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ เหล้า ไม่ออกกำลังกาย ไม่มีกิจกรรมทางกาย สัมผัสกับมลพิษ ถ้าเราไม่ได้ตรวจก็จะไม่มีทางรู้ได้ว่าเราเป็นโรค NCDs แล้วหรือยัง ต้องตรวจค้นตั้งแต่เริ่มต้น เราจะไม่รู้ว่ามันจะมาเมื่อไหร่ เมื่อเป็นแล้วเราต้องรักษาให้ดี ต้องปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กินยา รักษาให้ดี มิฉะนั้นจะมีโรคแทรกซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องพึ่งพาคนอื่น อยู่คนเดียวจะลำบาก แต่ถ้าเรามีสุขภาพดี ถึงแม้จะมีโรค ยังทำงานได้ ช่วยตัวเองได้

          ทำไมถึงมีคำว่าอ้วน อ้วนคือบ้านของโรค NCDs คนที่อ้วนมีความดันผิดปกติ มีน้ำตาลผิดปกติ มีไขมันผิดปกติในเลือด สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นโรคได้ เราต้องดูแลสุขภาพให้ดี มิฉะนั้นในระยะสุดท้าย เราจะกลายเป็นคนทุพพลภาพ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมีสุขภาพที่ดี เงินซื้อไม่ได้ ต้องทำด้วยตัวเอง ใครทำให้เราก็ไม่ได้ด้วย แม้จะมีโรค เราก็ต้องมีสุขภาพดี วงจรที่จะเกิดโรค NCDs คือพันธุกรรมและการปฏิบัติของตัวเอง ดังนั้นต้องรีบแก้ไขเรื่องการดูแลสุขภาพก่อนที่จะมีอายุมากขึ้น การดูแลพื้นฐานเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรค NCDs เราต้องดูแลอาหารการกิน มีกิจกรรมที่ออกแรง อย่านั่งๆ นอนๆ มากจนเกินไป

          การปรับวิถีชีวิตของตัวเอง กินให้ถูกต้อง ออกกำลังกายอย่างไร นอนให้ครบ 7 ชั่วโมงอย่างน้อยสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเด็กนอน 8-10 ชั่วโมง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ทำจิตใจให้สบาย ต้องมีการเคลื่อนไหวตัวเองอยู่ตลอดเวลา ตัวต้องเคลื่อน ไม่ใช่นั่งเล่นมือถือแต่เพียงอย่างเดียวโดยที่ตัวเองไม่ได้เคลื่อนไหว เราต้องฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิในตัวเองให้แข็งแรงให้เพียงพอด้วย เราอยากให้รอดไปด้วยกัน 

 

ดร.สง่า ดามาพงษ์

 

          ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายคนไทยไร้พุงและผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ตั้งข้อสังเกตที่ท้าทายว่า เมื่อโควิดยังไม่ไป เราจะกินอยู่อย่างไรเพื่อให้ลดความเสี่ยงต่อการติดโควิด เรื่องนี้หมอทั้งโลกก็บอกไม่ได้ว่าโควิดจะไปเมื่อไหร่ เมื่อโควิดยังอยู่กับเรา เคล็ดลับในการกินเพื่อลดความเสี่ยง 3:2:1 เคล็ดไม่ลับ 3อ:2ส:1พ. อ.1 เลือกกิน “อาหาร” ที่ถูกหลักโภชนาการ อ.2 “ออกกำลังกาย” หรือเคลื่อนไหวร่างกาย อ.3 ควบคุม “อารมณ์” ส.1 งดสูบบุหรี่ ส.2 งดดื่มสุรา 1พ. คือ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

          อาหารสร้างภูมิคุ้มกันโรค กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้ สมุนไพร ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม ไม่เผ็ด องค์การ FAO สนับสนุนให้คนไทยกินผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์เยอะๆ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่สู้กับโรคและสร้างภูมิคุ้มกันโรค การที่เราได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ทำให้เซลล์ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี เรากินเพื่อให้ได้อาหาร ร่างกายได้รับสารอาหาร 5 ตัว และน้ำ เข้าไปอยู่ในเซลล์แข็งแรง ร่างกายมีภูมิต้านทาน โปรตีนสร้างสารแอนติบอดี โปรตีนในอาหารสร้างเซลล์แข็งแรง เซลล์เม็ดเลือดขาว วิตามินซีได้จากผัก ผลไม้ ช่วยเม็ดเลือดขาวกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ผัก คะน้า ไม่เปรี้ยว ถั่วงอก ได้วิตามินซีต้านโรค วิตามินเอ สังกะสีเพิ่มอีมูนให้ร่างกาย โปรไบโอติกส์ เรากินนมเปรี้ยว ผักหมักดอง ช่วยทำให้ลำไส้ย่อยดูดซึมสารอาหารได้ดี เซลล์แข็งแรง ในนมก็มีพฤกษาเคมี เป็น ศ.ทั่วโลกฮือฮามาก ผัก ผลไม้ มีพฤกษาเคมีลดความเข้มขันอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้าน บรรเทาการอักเสบได้

          อาหารเนื้อ นม ไข่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ สร้างสารแอนติบอดีป้องกันไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มีโปรตีนใยอาหารสร้างเซลล์ให้แข็งแรง เม็ดเลือดขาวมีภูมิต้านทาน วิตามินซีได้จากผักผลไม้ ช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวสร้างแอนติบอดีได้เป็นอย่างดี วิตามินเอ อี สังกะสีช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน Probiotics Prebiotics กินผักดอง โยเกิร์ตทำให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดี

          คนกินหวานจัด มันจัด เค็มจัด เกลืออย่าเกิน 1 ช้อนชา เรากินอาหาร ถ้าเราต้องการลดน้ำหนัก กินตามสูตร 2:1:1 เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ข้าว ถ้าเรากิน 2:1:1 เราจะไม่อ้วน วันนี้เราอยู่บ้าน เปิดตู้เย็นตลอดเวลาหรือเปล่า ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ว่าจะสั่งอาหาร หรือทำอาหารกินเอง เน้นพริก ขิง กระชาย กระเทียมให้ได้ พยายามหาโอกาสทำอาหารกินเองที่บ้าน วัยรุ่นติดอยู่กับบ้านเปิดยูทูบ ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน ควบคุมคุณภาพ โภชนาการ รสชาติหวานจัด การสั่งอาหารนอกบ้านเข้ามาให้ครบ 5 หมู่ ต้องกินผักผลไม้ด้วย ถึงเวลาต้องปฏิวัติตู้เย็นให้คนเข้าถึงอาหารว่างให้ดีด้วย มื้อเที่ยงถึงเย็นทำตู้เย็นในบ้านมีผลไม้พร้อมกิน หยิบเข้าถึงได้ดีขึ้นด้วย วางส้มอยู่บนโต๊ะกินข้าว พริกมีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ระบบไหวเวียนโลหิตดีขึ้น ขิงมีสารแอนติออกซิแดนต์ลดการอักเสบได้

          กินให้ฟิตเมื่ออยู่ติดบ้าน เน้นกินอาหารไทยครบ 5 หมู่ ที่มีพริก ขิง กระชาย พริก กระชายกินจากขนมจีน พริกกินจากสมุนไพร พยายามทำอาหารกินเองที่บ้าน พริกสร้างภูมิคุ้มกัน มีสาร capsaisin ต่อต้านอนุมูลอิสระและออกฤทธิ์ต้านไวรัส รา แบคทีเรีย ลดการอักเสบ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีวิตามินเอ ซี และแร่ธาตุหลายชนิด ขิงมีสาร jinjerol และ shoganol ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ กินแบบธรรมชาติ กระชายขาว รพ.รามาธิบดีทดลองในห้องทดลองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตไวรัสโควิด และยังยั้งการเซลล์ในการผลิตไวรัส แต่ต้องวิจัยต่อเพื่อให้ได้คำตอบ

          เสวนาให้ความรู้และแถลงข่าวกิจกรรมรอดไปด้วยกัน เรากำลังกังวลเรื่องวัคซีนฉีดดีหรือไม่ฉีดดี ชวนฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทาน หลายคนหลงลืมไปว่าการฉีดวัคซีนให้กับตัวเอง เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเองอย่างดีด้วย
 

 

 

ลดนั่ง เพิ่มยืน เดิน ไม่เพลิน

“นั่งกินนอนกิน” ละบุหรี่ เลิกเหล้า

 

ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ คณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง   

 

          สโลแกนไทยฟิตติดบ้านต้านโควิด กับเครือข่ายคนไทยไร้พุง กินดี มีขยับ หลับสบาย คลายเครียด ทำไมคนอ้วนจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับโควิด คนที่มี BMI เกินหรือคนที่อ้วน ทำไมคนอายุน้อยๆ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการติดโควิด ความอ้วนทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานผิดปกติ เซลล์การป้องกัน มีการอักเสบเรื้อรัง ยิ่งอ้วนมากขึ้นเท่าไหร่จะพบปัญหาการอักเสบมากยิ่งขึ้น เยื่อบุหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองทำงานผิดปกติ ไม่ขยายตัว ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ระบบการเกิดลิ่มเลือดมากกว่าปกติ เลือดข้นกว่าปกติ ระบบภูมิคุ้มกันคอมพิเมนต์ผิดปกติ กระตุ้นระบบอาร์เอเอสเอ การอักเสบรับเชื้อโรค คนอ้วนไม่ออกแดดจะรับเชื้อในเนื้อเยื่อไขมัน การนั่งนอนขยับลำบาก เวลาป่วยเป็นโควิดนอนลำบาก นอนคว่ำก็ลำบาก คนอ้วนน้อยเนื้อต่ำใจไม่กล้าไป รพ. เบาหวาน ความดัน ไตวาย อ้วนทั้งคณะ ไขมันพอกตับ โรคปอด นอนกรนหยุดหายใจ

          อาหารที่สัมพันธ์กับลดการตายจากทุกสาเหตุและการตายจากโรคทางเดินหายใจ อ.อาหารย่อยง่าย ไกลโรคคือ 2-1-1(เฉลี่ย/มื้อ) 2 (พริก ผัก ถั่ว งา) 1 (ปลา) 1 (ข้าวกล้อง)+(ผลไม้)+ชาเขียวร้อนไม่ปรุงรส งดอาหารย่อยยาก มากโรค คือหวานแรง เนื้อแดง ปรุงแต่ง ปนเปื้อน : งดอาหารสำเร็จรูป ปรุงแต่งสุดๆ ของเบเกอรี่ อาหารหวานเกิน น้ำตาลเทียม ลดเนื้อสัตว์ใหญ่  (100-120 กรัม/วัน) เนื้อปรุงแต่ง (30-50 กรัม/วัน)

          ในประเทศสเปน อาหารที่ชาวสเปนรับประทาน อาหารชาวกรีกโบราณ อาหารชาวเมดิเตอร์เรเนียน ดีต่อสุขภาพมากขึ้น การศึกษาที่เมืองจีน กินพริกสดมากกว่า 6 วัน/สัปดาห์ สัมพันธ์กับการลดความตายจากโรคทางเดินหายใจ 30% ทุก 10 กรัม ถั่วลิสงที่กิน/วัน สัมพันธ์กับลดการตายจากโรคทางเดินหายใจ 31% ทุก 30 กรัมที่กินปลา (ไม่ทอด)/วัน สัมพันธ์กับลดการตายจากโรคทางเดินหายใจ 23% ข้าวกล้องทุก 90 กรัมที่กินธัญพืช (ไม่ขัดสี)/วัน สัมพันธ์กับลดการตายจากโรคทางเดินหายใจ 22% หญิงญี่ปุ่นดื่มชาเขียว 5 แก้ว/วัน สัมพันธ์กับลดการตายจากโรคทางเดินหายใจ 34%

Sallis R.Br J Sports Med 2021 จากการศึกษาคนไข้ผู้สูงวัยจำนวน 48,440 ถึงปัจจัยเสี่ยงเมื่อป่วยเป็นโควิด-19 พบว่า 2 ปีก่อนผู้ป่วยชาวอังกฤษที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 40 กก./ตร.ม. สัมพันธ์กับเพิ่มการป่วยหนัก (ต้องนอนไอซียู) และการตายจากโควิด-19 พฤติกรรม “นั่งนอนมาก” (กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ไม่ฟิต ติดเตียง) หรือฟิตแต่ไม่สม่ำเสมอ สัมพันธ์กัน เพิ่มการนอนไอซียูและการตายจากโควิด-19 ดังนั้นบ้านเราใครที่มีพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงโอกาสที่จะติดโควิด-19 สูง

ถ้าจะให้คำแนะนำ ลดนั่ง เพิ่มยืน เดิน ไม่เพลิน “นั่งกินนอนกิน” การละบุหรี่ เลิกเหล้า กับเครือข่ายคนไทยไร้พุง ต้องเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ เห็นประโยชน์เกื้อกูล รู้ทางเลือก ขอตั้งจิตอธิษฐานสาบานพระ ว่าลูกจะละเลิกบุหรี่เหล้า เข้าพรรษาไม่สูบไม่มึนเมา หนักก็เอาเบาก็สู้ ไม่ถอยเลย

 

 

 

 

ไทยจ่ายค่าดูแลรักษาโรคอ้วน

และสัมพันธ์โรคอ้วนมากกว่าปีละแสนล้านบาท

 

 

          ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาสุขภาพจากโรควิถีชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เป็นมหันตภัยเงียบที่กำลังทำร้ายสุขภาพของคนไทยอย่างร้ายแรง คือโรคอ้วน มีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มมากขึ้น กินผักและผลไม้น้อยลง ดื่มสุรา สูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้คนไทยกำลังถูกโรคอ้วนซึ่งเป็นมหันตภัยเงียบคุกคามอยู่ในขณะนี้ก่อให้เกิดโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง

          คนไทยเป็น “โรคอ้วน” ติดอันดับที่ 5 ของทวีปเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยมีประชากรที่มีรูปร่างท้วมจนถึงอ้วนมากกว่า 17 ล้านคน คนไทยเป็น “โรคอ้วน” เพิ่มขึ้นปีละ 25% (4.2 ล้านคน/ปี) คนไทยเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละ 20,000 คน ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคอ้วนและโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนมากกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท

          ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรังที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน 7 มิ.ย.ถึง 31 ก.ค.นี้ ผู้ป่วยทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง (ระยะสุดท้ายระยะที่ 5) โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน (น้ำหนัก 100 กก.ขึ้นไป)


 

ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข โครงการรณรงค์ทำความดีเข้าพรรษา ลดน้ำหนักสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"