'มหกรรมไกล่เกลี่ย'ที่พึ่งลูกหนี้ยามวิกฤติโควิด


เพิ่มเพื่อน    


การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเรียกได้ว่า “ทุกวงการ” ตั้งแต่ภาพรวมเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคประชาชน โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลได้ใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ตั้งแต่ปี 2563 กับมาตรการขั้นเด็ดขาดอย่าง “ล็อกดาวน์” ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักทั้งระบบ แม้ว่าจะมีการออกมาตรการเยียวยาในมิติต่าง ๆ แต่ก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า เพราะท้ายที่สุดแล้วทั้งภาคธุรกิจ และประชาชนก็ได้รับบาดแผลไปตาม ๆ กัน หลังจากสถานการณ์การระบาดในประเทศดูเหมือนจะควบคุมได้เกือบ 100% แต่ก็ปิดไม่มิด สุดท้าย “โควิด-19 ระลอก 2” ก็ปะทุขึ้นมา แม้ว่ารอบนี้รัฐบาลจะไม่ได้ใช้ไม้แข็งในการควบคุมการระบาด เพียงแต่ระงับบางกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนอาจจะน้อยกว่าการระบาดในระลอกแรก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี!!

และล่าสุดกับการระบาดในระลอกที่ 3 ที่รอบนี้ปะทุขึ้นใจกลางกรุง!! สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนอย่างมาก และเช่นเคยรัฐบาลก็ไม่ได้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการควบคุมการระบาด เพียงแต่ขอความร่วมมือจากทุกส่วนในประเด็นที่สำคัญ พร้อมทั้งระงับบางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การระบาดจะยังไม่ทุเลาลง เพราะยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และคลัสเตอร์การระบาดใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด

แน่นอนว่าภาคธุรกิจ และประชาชนย่อมต้องได้รับบผลกระทบที่เกิดจากมาตรการควบคุมการระบาดทั้งแบบขึ้นเด็ดขาด และแบบเบาะ ๆ อย่างแน่นอน มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง หลายธุรกิจพอหาสภาพคล่องมาประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ แต่อีกหลายแห่งที่ไม่ไหว ล้มหายตายจากไปก็มาก ขณะที่ภาคประชาชนเมื่อภาคธุรกิจไปไม่ไหว ทำให้ได้เห็นภาพการเลิกจ้างงาน คนต้องเตะฝุ่น! เป็นจำนวนมาก หลายคนที่มีภาระหนี้สิน วิกฤติครั้งนี้เรียกว่าหนักหนาสาหัสเอาการ ความต้องการในการได้รับความช่วยเหลือในฐานะลูกหนี้ก็มีให้เห็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในภาคการเงิน อาทิ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) และสถาบันการเงินทั้งหมด ต่างก็ให้ความร่วมมือในการออกมาตรการช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อน

มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ก.พ. - 14 เม.ย. 2564 เป็นอีกมาตรการหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยเป็นความร่วมมือกันของสำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ ธปท. เนื่องจากเห็นว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้หาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

 

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธปท.ระบุว่า ปัจจุบันยังจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานมหกรรมนี้จึงเป็นการไกล่เกลี่ยแบบออนไลน์ (Online mediation) เป้าหมายสำคัญและถือเป็นความพิเศษของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ คือ การไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลในส่วนที่มีคำพิพากษาและถูกบังคับคดีแล้ว ซึ่งไม่สามารถเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ และปกติเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้ เจ้าหนี้มักจะไม่ยอมเจรจา”

ส่วนความคืบหน้าของมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น ปัจจุบันมีลูกหนี้ที่ยื่นขอลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบออนไลน์ ประมาณ 3 แสนราย คิดเป็น 6-7 แสนรายการ เฉลี่ย 1 รายต่อ 2 รายการ และพบว่าที่ผ่านมา มีลูกหนี้ที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือ และได้รับความช่วยเหลือเรียบร้อยแล้วประมาณ 1.5 แสราย คิดเป็น 70% ของยอดลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือทั้งหมด เป็นมูลหนี้ 8.6 พันล้านบาท ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างพิจารณาเงื่อนไข หากผ่านเกณฑ์ก็สามารถรับความช่วยเหลือได้

โดย ธปท. ระบุว่า หลังจากนี้คงไม่มีการขยายระยะเวลาสำหรับมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลแล้ว สำหรับลูกหนี้ที่ยังต้องการความช่วยเหลือก็สามารถขอรับความช่วยเหลือตาม “มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3” ของ ธปท. ซึ่งจะดำเนินการถึงสิ้นปี 2564 ได้

และล่าสุดกับ มหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. - 31 ก.ค. 2564 โดยเป็นความร่วมมือของ ธปท. กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และผู้ให้บริการทางการเงิน 12 แห่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์รวมกันแล้วมากกว่า 65% ที่จัดมหกรรมดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการช่วยลดภาระของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถนต์

“เป้าหมาย คือ ให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพและนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์ช่วงนี้อีกทางหนึ่ง”

สำหรับความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ คือกลุ่ม1.ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPLแล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก

ขณะที่ลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม

กลุ่มที่ 2. ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้โดยงานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

กลุ่มที่ 3. ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาดกรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือติ่งหนี้ โดยในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่าย ๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ โดยลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้วได้

อย่างไรก็ดี ธปท. คาดหวังว่า จะมีลูกหนี้ที่เดือดร้อนและเข้ารับความช่วยเหลือตามแนวทางของมหกรรมดังกล่าว ประมาณ 1 แสนบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ราว 3.8 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยรายละประมาณ 3.8 แสนบาท จากปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท จาก 6.6 ล้านบัญชี
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"