ไทยเผชิญ'ภาวะโลกรวน 'กระทบติดอันดับ 8 ของโลก


เพิ่มเพื่อน    




 “วันสิ่งแวดล้อมโลก” ที่ตรงกับวันที่  5มิถุนายนของทุกปี ในโอกาสนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จึงได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อม เสวนาออนไลน์ “ภาวะโลกรวน ป่วนลมหายใจ” ผ่านเฟซบุ๊ก กฟผ. เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมนุษย์อย่างยั่งยืน

ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ได้กล่าวถึงรายงานความเสี่ยงของโลกปี 2020 โดย World Economic Forum ด้านสิ่งแวดล้อม 5 อันดับแรก 1.สภาพอากาศที่รุนแรง 2.ความล้มเหลวจากการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 4.ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด 5.ภัยพิบัติทางธรรมชาิที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การรั่วไหลของน้ำมันและการปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งธรรมชาติ


ดร.รวีวรรณ ภูริเดช   เลขาธิการสผ.


 เลขาธิการ สผ. กล่าวเพิ่มว่า  และในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกที่รายงานโดย Climate Watch Data 2018 อันดับ 1 คือ จีน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 122355.24 mtCO₂e หรือประมาณ 19% รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่ที่ 6023.62 mtCO₂e หรือประมาณ 18% ส่วนประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 416.95 mtCO₂e หรือประมาณ 0.8% จากข้อมูลรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 ได้ระบุว่าสัดส่วนของภาคพลังงานมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด รวมไปถึงภาคขนส่งด้วย หรือในภาคการเกษตร ที่มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทน จึงต้องมีการเฝ้าระวังและแก้ไข ภาคครัวเรือนก็มีส่วน เพราะมีการใช้ไฟ การเดินทาง สิ่งที่น่าสนใจคือป่าไม้ มีสัดส่วนที่ติดลบ เมื่อเทียบกับประเทศภูฏานสัดส่วนของป่าไม้สูงมาก

“ประเทศไทยจึงถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในอันดับ 8 ของโลก โดยในสถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่กังวลมากคือเรื่องของสุขภาพ เพราะเมื่ออากาศร้อนมีช่วงเวลาที่ยาวขึ้น ยุงก็สามารถขยายระยะเวลาการวางไข่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก หรือโรคที่มียุงเป็นพาหะ รวมไปถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น อุณหภูมิของน้ำทะเล เพราะปะการังอาจจะตายได้ หรือภาคการเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำฝน และสภาพอากาศค่อนข้างมาก หากสภาพอากาศไม่อำนวยก็มีผลต่อผลผลิตทางการเกษตร  แต่เดิมคงจะได้ยินที่สถานการณ์ของโลกร้อน แต่ในตอนนี้เราก็กำลังจะเจอกับภาวะโลกรวน ที่มาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน”  เลขาธิการ สผ. กล่าวถึงผลกระทบที่ไทยต้องเผชิญ

 

บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ

ด้าน บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.   กล่าวว่า กฟผ. ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก โดยเฉพาะด้านพลังงาน อาทิ การใช้เชื้อเพลิงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าชนิดเก่าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ล้วนมีส่วนทำให้เกิดโลกร้อนซึ่งก็ได้มีการตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงได้มีการร่วมกับทางภาครัฐ ในการผลักดันให้มีการบริหารก๊าซเรือนกระจกในส่วนของพลังงาน โดยมีการกำหนดเป็นนโยบาย อาทิ การประเมินว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่าง ได้มีการจัดทำ 9 โครงการ ที่สามารถช่ยลดาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งในปี 2563 สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ มีคาร์บอนเครดิตสะสมอยู่ 3 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์  

สัดส่วนภาคพลังงานที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก


ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวต่อว่า ในส่วนของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ทำ มีทั้งโครงการโรงไฟฟ้าท้ายเขื่อน เป็นโรงไฟฟ้าหมุนเวียนแห่งแรกของ กฟผ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ The Green Certificate Company Limited (GCC) ทางด้านคุณภาพอากาศ มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพที่ดี เพื่อใช้เชื้อเพลิงน้อย ลดการปลดปล่อยมวลสารที่ออกจากโรงไฟฟ้าต่ำกว่ามาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนด โครงการปลูกป่าที่ไปแล้วเกือบ 4.7 แสนไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 9.74 ล้านตัน/ปี ปล่อยออกซิเจนถึง 7.08 ล้านตัน/ปี แต่ก็ยังไม่สามารถเพียงพอที่จะทดแทนการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะนี้

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ


และการทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ (Hydro-floating Solar Hybrid) ในเฟสแรก จำนวน 9 เขื่อน นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และมีกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 2,725 MW คาดว่าจะมีการติดตั้งทุ่นเสร็จในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้  ทั้งยังสามารถเป็นจุดท่องเที่ยวในอนาคตได้อีกด้วย และนวัตกรรม First Firing ในโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อชุมชนให้น้อยที่สุด โดยใช้ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ AR-QADS และสร้างชุมชนสีเขียวต้นแบบ ที่บางกรวย (Bangkruai Green Community) ในอนาคต

ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ.


ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ. และรองคณบดีด้านยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมในส่วนของคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งผลกระทบของ  PM 2.5  ในเชิง SDGs ข้อ 11 ที่ระบุว่า 90% ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองได้รับคุณภาพอากาศที่ไม่ดี  ดังนั้นยิ่งมีการพัฒนาเมืองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยง ไทยยังได้ถูกจัดอันดับโดย World Economic Forum ในปี 2019 ว่ามี GDP จากภาคบริการและท่องเที่ยวอยู่ที่อันดับ 31 ของโลก   แต่ทว่าความั่นคงและยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไทยอยู่อันดับที่ 140 ของโลก ดังนั้นการจัดการปัญหา PM 2.5 คงไม่ใช่เพียงการจัดการจราจร แต่คงต้องดูสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่เป็นหลักในการแก้ไขด้วย

ทั้งนี้ กฟผ.ยังได้จัดนิทรรศการออนไลน์เกี่ยวโครงการ หรือ E-Exhibition เพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. ผ่าน https://env64.egat.co.th/ ตั้งแต่วันนี้-30 มิถุนายน 2564

 


----------------------
1.EGAT Envi Website2
2.การนำ AI และ IoT เข้ามาผนวกทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรมอย่าง กล่องตรวจสอบสภาพมลภาวะ
3.ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสผ.
4.ดัชนีความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5.บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่ากฟผ.
6.สัดส่วนภาคพลังงานที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
7.ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"