สนับสนุนรถบ้านสร้างรายได้เสริม จากการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน


เพิ่มเพื่อน    

ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว นักวิชาการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ปรึกษาสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และผู้บริหารโครงการวิจัยสถาบันวิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เปิดเผยว่า ในฐานะนักวิชาการที่ศึกษาวิจัยประเด็นเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) มากว่า 10  ปี มองว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ ครม.ให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างกฎกระทรวงว่า ด้วยรถยนต์รับจ้าง บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ของ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กระทรวงคมนาคม เพราะการเปิดโอกาสให้รถบ้านเข้าร่วมให้บริการรับส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชัน ถือ เป็นจุดเริ่มต้นของโมเดล “แชริง อีโคโนมี” (Sharing Economy) หรือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน สอดรับกับกระแสสังคมโลกยุคใหม่ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด เช่น การนำรถยนต์หรือหรือที่พักอาศัยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสร้างรายได้

“โมเดลแชริง อีโคโนมี คือ ตัวจักรสำคัญในการผลักดัน และกระตุ้นเศรษฐกิจยุคใหม่ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกฎหมายตัวเเรกที่รองรับรูปเเบบเศรษฐกิจแบ่งปันนี้ เปรียบเสมือนว่า ไทยเราได้รถยนต์ ‘ซุปเปอร์คาร์’ ซึ่งเป็นรถที่มีประสิทธิภาพสูง  และใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า มาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคต่อไปของเรา  เเต่ต้องดูต่อไปว่า ระเบียบข้อกำหนดภายใต้กฎหมายนี้ ซึ่งจะเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ เเละเกียร์ที่จะนำมาใช้กับซุปเปอร์คาร์นั้น จะมีความเหมาะสม และสนับสนุนกันหรือไม่หวังว่าประเทศเราจะไม่ได้เเค่เปลือกภายนอกที่เป็นซุปเปอร์คาร์ เเต่ภายในเป็นเครื่อง เเละเกียร์ สามล้อ?” ดร.สุทธิกร ย้ำพร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า

“เครื่องยนต์” นั้น หมายถึงการ “กำหนดอัตราค่าโดยสารที่ยืดหยุ่น” (Flexible Price) ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทำกฎหมายลูก (ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง) ของทางกรมการขนส่งฯ ว่า จะมีการกำหนดให้ยืดหยุ่นมากน้อยแค่ไหน?  เพราะหากกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ตายตัว ไม่อ้างอิง“ดีมานด์ และซัพพลาย” จะไม่ดึงดูดใจให้ผู้ขับรถให้เข้ามาเพิ่มในระบบเพื่อให้บริการในช่วงที่มีความต้องการสูง ซึ่งราคาที่ยืดหยุ่นตามกลไกตลาด  คือ หัวใจหนึ่งของเเชริงอีโคโนมี เพราะเมื่อความต้องการใช้บริการรถเพิ่มขึ้น  ระบบก็จะปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ทำให้คนขับพาร์ทไทม์เข้ามาให้ บริการเพิ่ม เมื่อมีจำนวนผู้ให้บริการสมดุลกับผู้ใช้ ราคาก็จะกลับสู่ปกติ ผู้ขับใหม่ก็จะไม่เพิ่มเข้ามาในระบบอีก

           

การกำหนดราคาตายตัวไม่เพียงทำให้ ‘รถบ้าน’ ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่ไม่ได้ แต่ยังทำให้รถแท็กซี่ถูกมองข้ามในการเรียกใช้บริการ เนื่องจากรถบ้านที่ให้บริการผ่านเเอปฯสามารถให้บริการที่ดีกว่าในราคาเท่ากัน ท้ายที่สุดรถแท็กซี่คือผู้ได้รับความเสียหายจากการกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบตายตัว

           

ดร.สุทธิกร ยกตัวอย่างว่า  ในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือ เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น ฝนตกหนัก เทศกาลสำคัญ หากภาครัฐไปกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ตายตัว โดยไม่เปิดช่องให้มีการเรียกอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม สอดคล้อง และสะท้อนกับสถานการณ์ความเป็นจริงในช่วงเวลานั้นๆ ยังจะมีใครยอมออกมาให้บริการ เพื่อเพิ่มปริมาณรถบนท้องถนนที่จะวิ่งรับผู้โดยสารในช่วงเวลาเหล่านั้นบ้าง เพราะราคาที่ตายตัว จะไม่สามารถจูงใจได้อย่างเพียงพอ ส่วนประเด็น “ระบบเกียร์” ดร.สุทธิกร ระบุว่า การเปิดให้ผู้ที่มีรถยนต์ เเละมีเวลาว่าง สามารถเข้ามาให้ บริการได้อย่างอิสระตามเเนวคิดเศรษฐกิจเเบ่งปัน “โดยปราศจากการกำหนดโควตา” นั้น ส่วนตัวไม่อยากเห็นการกำหนดโควตา เพราะเกรงจะไปจำกัดสิทธิในการนำรถยนต์บ้านมาร่วมวิ่งให้บริการรับส่ง ผู้โดยสาร และอาจนำไปสู่การซื้อขายสิทธิในการให้บริการเหมือนวินมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบัน  ทั้งนี้การจะทำให้โมเดล“แชริง อีโคโนมี” มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องเปิดกว้างให้มีจำนวนรถยนต์ ที่อยู่ในระบบมากพอ โดยรถในระบบเหล่านี้ย่อมพร้อมที่จะเพิ่มเข้ามาบนท้องถนนเพื่อให้บริการได้ทันที เมื่อมีความต้องการ เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง

อีกประเด็นที่สำคัญไม่ต่างกัน  คือ  เงื่อนไข และขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนรถยนต์รับจ้างทางเลือกดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียนสามารถให้บริการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้ โดยขั้นตอนเเรก ภาครัฐอาจเปิดให้มีการแสดงความจำนงในการเข้าร่วมการให้บริการผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อให้ได้รับเอกสารการผ่อนผันระหว่างการรอคิวนำรถไปขึ้นทะเบียนที่ขนส่งฯ  หลังจากนั้น ให้ทยอยนัดหมายนำรถมาขึ้นทะเบียน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยอาจกำหนดช่วงเวลา การขึ้นทะเบียนยาวนานถึง  2  ปี เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนรถที่ให้บริการอยู่ในระบบนับหมื่นหรือหนึ่งเเสนคันในปัจจุบัน ซึ่งวิธีการกำหนดระยะเวลาขึ้นทะเบียนที่ขนส่งฯ ให้นานพอ เเละการกำหนดคิวให้ทยอยเข้ามาที่ หน่วยงานรัฐ ไม่เพียงช่วยป้องกัน และแก้ปัญหาการแห่นำรถมาขึ้นทะเบียนในช่วงโค้งสุดท้ายของการเปิดให้ลงทะเบียน แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  จากที่ต้องมีคนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน ในสถานที่เดียวกันได้อีกด้วย

 

ดร.สุทธิกร ยังระบุด้วยว่า ระหว่างนี้ ใครที่กำลังรอคิวไปขึ้นทะเบียนกับทางขนส่งฯ สามารถใช้ข้อมูลการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อยืนยันการผ่อนผันให้สามารถนำรถออกมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ในช่วงระยะเวลา 2  ปีนี้ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณรถยนต์หมุนเวียนอย่างเพียงพอ รองรับความต้องการของ ผู้โดยสารได้ในทุกๆ ช่วงเวลา  และยังสามารถตอบสนองโมเดล “แชริง อีโคโนมี” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด

 

 

แกลลอรี่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"