ภาคการผลิตฟื้นดัชนีเอ็มพีไองวด พ.ค. อยู่ระดับ 100.47 โต 25.84%


เพิ่มเพื่อน    

 

28 มิ.ย. 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมดีขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนพ.ค. 64 ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย 5 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ย 7.97% จากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้น และจากการที่รัฐบาลออกมาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งในภาคการผลิตและบริโภค ในส่วนของภาคการผลิตแม้ว่าที่ผ่านมามีบางโรงงานอุตสาหกรรมต้องหยุดการผลิตชั่วคราว แต่เป็นการหยุดผลิตเฉพาะบางไลน์การผลิตเท่านั้น และเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้โรงงานสามารถกลับมาเร่งกำลังการผลิตได้เหมือนเดิมเพื่อตอบสนองคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า เอ็มพีไอในเดือนพ.ค. 64 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในภาพรวม 5 เดือนแรก ของปี 64 ภาคการผลิตไทยเริ่มฟื้นตัวซึ่งสะท้อนจากเอ็มพีไอที่อยู่ในระดับ 100.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ที่ อยู่ในระดับ 93.3 เป็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิต และเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด โดยช่วง 5 เดือนแรกปีก่อน อยู่ในระดับ 106.4 ส่งผลให้การส่งออกรวมเดือนพ.ค. 2564 มีมูลค่า 23,058 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 41.59% สูงสุดในรอบ 11 ปี โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ

ทั้งนี้การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 60.72% สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น และยังพบว่าการผลิตบางกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีระดับค่าเอ็มพีไอ ในภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 64 ปรับตัวสูงกว่าภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 62 ซึ่งเป็นปีที่ไม่มีการระบาดโควิด-19 อาทิ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ

นอกจากนี้ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยการผลิตของอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นผลจากการปิดโรงงานในปีก่อน ในปีนี้การผลิตกลับมาเป็นปกติและส่งออกดีขึ้นจึงส่งผลให้การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางล้อขยายตัวตามไปด้วยด้านอุตสาหกรรมเหล็กขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกอย่างจีนลดปริมาณการผลิตเพื่อควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวตามไลฟ์สไตล์การทำงานที่บ้านและการอาศัยในที่พักมากขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางที่เติบโตตามความต้องการใช้งานทางการแพทย์  และเมื่อดูตัวเลขการนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) เพื่อมาผลิตสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในแง่มูลค่าและปริมาณได้ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ประกอบการ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลขเอ็มพีไอ ในเดือนถัดไปจะมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน

"ต้องยอมรับว่าภาคอุตสาหกรรมไทย ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกดีขึ้น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การกระจายวัคซีนมากขึ้นในประเทศ และผลจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 เฝ้าระวังการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์ใหม่ๆ ส่วนผลจากการติดเชื้อกลุ่มคัตเตอร์ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและโรงงานนั้น ไม่ส่งผลต่อการผลิตมากนักเนื่องจากโรงงานที่มีการติดเชื้อจะหยุดการผลิตในระยะสั้น การหยุดการผลิตจะเป็นลักษณะบางสายการผลิตไม่ได้หยุดหมดทั้งโรงงาน หลังจากโรงงานกลับมาผลิตได้แล้วมีการเร่งการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของตลาด"นายทองชัย กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"