สธ. ไม่แนะนำยาถ่ายพยาธิในสัตว์รักษาโควิด รอผลศึกษาอีก 3-4 เดือน


เพิ่มเพื่อน    

30 มิ.ย.64 - ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงถึงแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ด้วยการใช้ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ซึ่งเป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ ร่วมกับ ยาฟาวิพิราเวียร์ ว่า ขณะนี้แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อ โควิด-19 ได้มีการปรับปรุงทุกเดือน ล่าสุด คือ แนวทางการรักษาฉบับที่ 15 ลงวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ระบุว่า ให้การรักษาด้วยยาไอเวอร์เม็กติน เป็นเพียงแนวทางการรักษา แบบหมายเหตุ ไม่ได้มีการสนับสนุนให้ใช้ยานี้ หรือห้ามนำมาใช้รักษาโดยเด็ดขาด แต่ให้เป็นดุลยพินิจของแพทย์ และขอให้ปฏิบัติแนวทางการรักษาหลักของประเทศ

ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการรักษา และแม้มีการทดลองใช้รักษาในประเทศอินเดีย ก็เป็นเพียงการใช้ในระยะเวลาหนึ่ง และมีการประกาศยกเลิกการใช้แล้วอย่างเป็นทางการ เพราะว่า การใช้ยาไอเวอร์เม็กตินรักษาโควิด-19 ให้ผลสำเร็จในหลอดทดลองเท่านั้น

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการรักษาหลักของประเทศไทยนั้น ยังเน้นการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อย่างไรก็ตามการนำข้อมูลนี้มาเผยแพร่ เชื่อว่าเกิดมาจากการอ่านรายงานทบทวนการศึกษาและผลการทดลองในต่างประเทศที่ออกมาหลายฉบับ แต่ยังไม่มีประเทศไหนนำมาใช้อย่างชัดเจน

นพ.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มประเทศที่มีการใช้ยาดังกล่าว ได้แก่ แอฟริกา เนื่องจากไม่มียาฟาวิพิราเวียร์ใช้ จึงทำให้ต้องใช้ยาตัวนี้แทน และการใช้ยาไอเวอร์เม็กตินนี้ ไม่ได้ให้ผลดีในคนไข้ทุกราย บางรายก็มีอาการแย่ลง โดยยาไอเวอร์เม็กติน แม้จะเป็นยาที่ปลอดภัย แต่ส่งผลต่อตับ และคนไข้ไม่ใช่หนูทดลอง จึงไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ยานี้จนกว่าจะมีการศึกษาที่ชัดเจน ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานที่ปรึกษาโควิด-19 เห็นว่าควรนำเรื่องนี้เข้าศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยมอบให้ ศ.พญ.ยุพิน ศุพุทธมงคล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำการศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการใช้ยาไอเวอร์เม็กตินในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนหลักพันราย ให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับทางแนวการศึกษานี้ ต้องนำยาใหม่และยาตัวเก่ามาเปรียบเทียบกัน โดยใช้ยาไอเวอร์เม็กติน ร่วมกับ ยาฟาวิพิราเวียร์ เทียบกับสูตรยาเดิม แต่ไม่ขอระบุรายละเอียด แต่หลักการศึกษาเบื้องต้น จะใช้ใน รพ.ศิริราช และ รพ.สังกัดกรมการแพทย์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนที่ รพ.ใดมีการใช้ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น รพ.เอกชน หรือ รพ.โรงเรียนแพทย์ ถือเป็นดุลยพินิจของแพทย์ เพราะการรักษาถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ แต่ทุกครั้งที่มีการใช้ยาตัวนี้จะต้องมีการรายงานกลับไปที่ส่วนกลางด้วย

ด้าน พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปกติยาไอเวอร์เม็กติน เป็นยาที่ใช้ถ่ายพยาธิในสัตว์ และมีข้อจำกัดในการใช้แค่ 2 วันเท่านั้น แต่สำหรับโควิด-19 อาจต้องใช้นานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าแนวทางการรักษาโควิด-19 นั้น ไม่ได้แนะนำให้ใช้ ยังเป็นเพียงหมายเหตุเท่านั้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"