'มหิดล'วางเป้าพัฒนา'หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 'สู่ระดับโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

5 ก.ค.64-ม.มหิดล เผยุม่งมั่นเป็นผู้นำหุ่นยนต์ทางการแพทย์ จับมือ "ทีเซลล์ "สร้างอาคารปฎิบัติการหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นนำ รองรับการเป็นเจ้าภาพแข่งขันRoboCup 2022 เชื่ออนาคตสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ทัดเทียม มหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ชั้นนำระดับโลกอย่างจอห์น ฮอปส์กินได้


รศ.  ดร.จักรกฤษณ์  ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เข้ากระบวนการการรับรองมาตรฐานการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก ABET (Accreditation Board for Engineering and Technology) จาก The Engineers' Council for Professional Development (ECPD) ประเทศสหรัฐอเมริกา ครบเกือบทุกด้าน  เนื่องจากมีผลงานโดดเด่น ด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง  ล่าสุดทางม.มหิดลได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (TCELS)  ก่อสร้างอาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) เพื่อเป็นหน่วยงานทดสอบ ตรวจประเมิน และผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ของไทย ไปสู่อุตสาหกรรมระดับโลก โดยอาคารดังกล่าว ตั้งขึ้นภายในบริเวณ ม.มหิดลศาลายา คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2565   เพื่อพร้อมรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022

"การที่คณะวิศวกรรมศาสตร์  ได้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน RoboCup 2022 ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ประกอบเข้าไปด้วยเป็นครั้งแรกของโลกนั้น จะเป็นเวทีตั้งต้นที่จะมาเสริมกับการที่จะมีหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง  ซึ่งต่อยอดมาจากความเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานสากลของ ของม.มหิดล  และงานนี้ถือว่าเป็นการนำร่องให้กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งอื่นของไทยพร้อมก้าวสู่ระดับโลกไปด้วยกัน เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 ได้อย่างแท้จริงในที่สุด"รศ.ดร.จักรกฤษณ์กล่าว

 คณบดีฯ กล่าวอีกว่า สำหรับอาคาร หน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง ที่กำลังก่อสร้าง จะมีความสำคัญอย่างมาก เพราะถือว่าจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญ ที่ทำให้งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ระดับในประเทศเท่านั้น แต่จะขยายผลการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่เป็น Active Medical Device หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้มีศักยาภพทัดเทียมหุ่นยนต์ ของมหาวิทยาลัยแพทย์ชั้นนำของโลกอย่าง  Johns Hopskin University ประเทศสหรัฐอเมริกา Imperial College London สหราชอาณาจักร  University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น Shanghai Jiao Tong University (SJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน National Chengkung University ประเทศไต้หวัน ฯลฯ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"