Ivermectin รักษาโควิด-19 ได้จริงหรือ จริงหรืออินเดียพ้นวิกฤติเพราะ Ivermectin :


เพิ่มเพื่อน    

 

     รายงานของ Health Feedback เมื่อ 17 พฤษภาคม ชี้มีการอ้างว่าเหตุที่ผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลงเป็นเพราะใช้ ivermectin (ไอเวอร์เมคติน) ข้อเท็จจริงคือจำนวนผู้ป่วยลดลงตั้งแต่พฤษภาคม 2021 แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาจากการใช้ ivermectin

             โควิด-19 ระบาดหนักในอินเดียตั้งแต่กลางมีนาคม 2021 ในวันที่ 28 เมษายน 2021 กระทรวงสาธารณสุขอินเดีย (Union Health Ministry and Family Welfare) แนะว่าอาจใช้ ivermectin กับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย และใช้ hydroxychloroquine เป็นยาป้องกันโรค (prophylaxis) ในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข (อินเดียเริ่มใช้ hydroxychloroquine ตั้งแต่พฤษภาคม 2020)

            ต่อมา 17 พฤษภาคม 2021 สภาวิจัยทางการแพทย์แห่ง​อินเดีย (Indian Council of Medical Research: ICMR) แนะนำให้ใช้ ivermectin กับ hydroxychloroquine เป็นยาทางเลือก ณ ขณะนั้นองค์การอนามัยโลกชี้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางคลินิกมากพอว่าควรใช้

            การอ้างว่า ivermectin มีฤทธิ์รักษาและใช้รักษาหมายความว่าต้องตรวจพบว่าติดโรคก่อนแล้วจึงให้ยา แต่ข้อมูลสถิติระบุว่าจำนวนผู้ป่วยหนักไม่ลงลดเพราะยาดังกล่าว ดังนั้นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่ลดลงไม่เกี่ยวข้องกับ ivermectin

            รายงานของ Health Feedback ระบุว่า เป็นความจริงว่าหลายประเทศในแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ใช้ ivermectin เหมือนอินเดีย แต่สถิติที่ออกมาหลายประเทศที่ใช้ไม่ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยผู้เสียชีวิตเลย เปรูประกาศเลิกใช้ตั้งแต่มีนาคม 2021

            ผลการวิจัยทางคลินิกล่าสุดพบว่า ivermectin ไม่ช่วยรักษาโควิด-19 ในขณะนี้ยังมีการวิจัยอีกหลายแห่งแต่ต้องดูว่างานวิจัยเหล่านั้นน่าเชื่อถือแค่ไหนด้วย เช่น ตัวอย่างผู้ทดลองไม่มากพอ ขาดการควบคุมที่ดี ที่ผ่านมางานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับ ivermectin ไม่น่าเชื่อถือ (พวกอ้างว่า ivermectin ใช้ได้ดีอ้างงานวิจัยเหล่านี้)

            พฤษภาคมที่ผ่านมา FDA สหรัฐประกาศไม่เห็นด้วยกับการใช้ ivermectin สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America) ไม่เห็นด้วยเช่นกันจนกว่าจะมีหลักฐานทางคลินิกใหม่ (งานวิจัยเดิมใช้ไม่ได้) ต้องเป็นงานวิจัยที่ออกแบบมาอย่างดี ทำการวิจัยอย่างดี

            ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา The Clinical Infectious Diseases วารสารของ Diseases Society of America ให้ข้อสรุปว่า ivermectin ไม่ลดการเสียชีวิตในกลุ่มทดลองซึ่งส่วนใหญ่เจ็บป่วยเล็กน้อย ไม่ใช่ยาทางเลือก

กระทรวงสาธารณสุขอินเดียเลิกใช้ ivermectin :

            ข่าว 7 มิถุนายนกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย (Union Health Ministry and Family Welfare) ประกาศเลิกใช้ ivermectin ในการรักษาโควิด-19

            ยาที่ใช้ได้คือ remdesivir สำหรับกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization) ในผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อาการปานกลางถึงหนัก และขอให้ใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลวิทยาศาสตร์ยังน้อย

            รายละเอียดเพิ่มเติมคือนอกจากห้ามใช้ ivermectin ยังห้ามใช้ hydroxychloroquine,  doxycycline, zinc และวิตามินในการรักษาโควิด-19 ทุกกรณี

            ในกรณีผู้ป่วยไม่แสดงอาการ (asymptomatic cases) ไม่ต้องให้ยาใดๆ กรณีมีอาการเล็กน้อย (mildly symptomatic) ให้ตรวจวัดไข้ด้วยตัวเอง ดูเรื่องการหายใจ ระดับออกซิเจน

            22-24 มิถุนายนที่ประชุมกลุ่มที่ปรึกษาทางยุทธศาสตร์และเทคนิคต่อโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Strategic and Technical Advisory Group for Neglected Tropical Diseases) ขององค์การอนามัยโลกมีข้อสรุปว่าต้องป้องกันไม่ให้นำ ivermectin ไปใช้กับโรคโควิด-19 เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ายานี้มีประสิทธิภาพต่อต้านโควิด-19

            ข้อสรุปคือ ต้นมิถุนายนที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขอินเดียประกาศเลิกใช้ ivermectin เช่นเดียวกับที่องค์การอนามัยโลกประกาศชัดว่ายานี้ไม่มีประโยชน์ในการป้องกันรักษาโควิด-19

            สำหรับจุดยืนของไทย ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์กล่าวเมื่อปลายเดือนมิถุนายนว่า “ส่วนไกด์ไลน์หรือแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมวิชาชีพต่างๆ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระบุว่า ยาไอเวอร์เมคตินไม่ได้เป็นยาที่ใช้รักษาหลัก แต่เป็นส่วนที่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ว่าแพทย์สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้หากเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม”

            ซึ่งหมายความว่าไม่ได้ใช้ทั่วไปและประชาชนไม่ควรซื้อกินเอง

Ivermectin ถูกสกัดเพราะผลประโยชน์?

            บางคนอ้างเหตุที่สกัดกั้น ivermectin เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์บริษัทยา เรื่องทำนองนี้สามารถกล่าวหาได้ มีข้อมูลหลักฐานมากมายทั่วโลกว่าบริษัทยามักให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนับสนุนยาของตน แต่ผลการวิจัยจะให้ข้อสรุปในตัวเองว่ายาดีมีประสิทธิภาพเพียงไร

            ถ้าจะพูดให้ครบนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 นักวิจัยทั่วโลกนำยาร่วมร้อยตัว (ยาที่ใช้อยู่แล้วกับโรคต่างๆ มาทดสอบว่ารักษาโควิด-19 ได้หรือไม่) การนำยาที่ใช้อยู่แล้ว (ที่รักษาโรคอื่นๆ) มาทดลองกับโควิด-19 เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัยและเร็วที่สุด เพราะการวิจัยยาใหม่ตัวหนึ่งใช้เวลาหลายปี (อาจต้อง 5 ปีขึ้นไป) ทั้งยังไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือไม่ อาจเสียเงินหลายร้อยล้านพันล้านแล้วลงเอยด้วยข้อสรุปว่าใช้ไม่ได้

            ตัวอย่างที่ใช้ไม่ได้ผล เช่น hydroxychloroquine ยานี้เดิมใช้รักษาโรคมาลาเรีย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อโควิด-19 ระบาด มีผู้ทดลองใช้กับโควิด-19 แต่ที่สุดแล้วนานาชาติเลิกใช้เพราะประสิทธิภาพต่ำและเสี่ยงอันตรายจากอาการข้างเคียงร้ายแรง ประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับความเสี่ยง ตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกที่ไม่แนะนำให้ใช้

            ในขณะที่ยาหลายตัวไม่ได้ผล มียาที่ได้ผลเช่นกัน ล่าสุดเมื่อต้นกรกฎาคมที่ผ่านมา WHO แนะใช้ยา Actemra กับ Kevzara กับผู้ป่วยโควิด-19 สามารถลดการเสียชีวิต ปกติยาทั้งสองใช้รักษาโรครูมาตอยด์ จากการทดลองกับผู้ป่วย 11,000 ราย พบว่าลดการเสียชีวิตกลุ่มผู้ป่วยหนักจาก 33% (ที่ใช้วิธีรักษาสูตรเดิม) เหลือ 26% เช่นเดียวกับที่ FDA สหรัฐอนุมัติใช้ Actemra แล้ว

            Actemra กับ Kevzara คือยาล่าสุดที่ WHO ประกาศว่าใช้ได้ผลจริง

            ประเด็นสำคัญคือต้องแยกให้ออกระหว่างยาที่ อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ FDA) อนุมัติใช้กับยาที่อยู่ระหว่างการทดลอง ยาที่ อย. ประกาศใช้คือแพทย์เภสัชกรจ่ายยาได้ มีข้อบ่งใช้ชัดเจน (เช่น ใช้กับโรคอะไร ขนาดกิน ข้อควรระวัง) อยู่ในเนื้อหาตำราที่สอนนักศึกษาแพทย์ เภสัชฯ ส่วนยาที่อยู่ในการทดลองคือให้คนไข้เพื่อการวิจัยเท่านั้น

            การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้แนวทางเวชปฏิบัติ ระบุวิธีการใช้ชัดเจน จะใช้สุ่มสี่สุ่มห้าหรือใช้ตามใจชอบไม่ได้ ต้องยึดเสมอว่าจะเอาสุขภาพ-ชีวิตของคนไข้มาเสี่ยงไม่ได้ หากจะใช้ต้องเป็นกรณีจำเป็น มีเหตุผลรองรับเท่านั้น

สรุป :

            ทุกวันนี้มียาอีกหลายสิบตัวที่อยู่ระหว่างการทดลอง ivermectin คือหนึ่งในนั้นที่กำลังทดลองวิจัยในหลายที่ เช่น University of Oxford กำลังทดลองในผู้ป่วยอาการเล็กน้อย รักษาตัวที่บ้าน หากผลการทดลองออกมาดีเป็นที่ยอมรับ เมื่อถึงตอนนั้น อย. หรือ FDA ของแต่ละประเทศ องค์การอนามัยโลกจะประกาศใช้เอง ย้ำว่าในระหว่างนี้คือการทดลอง ไม่ควรซื้อยากินเองหรือเชื่อ fake news

            การป้องกันรักษาโรคควรยึดแนวทางที่ประกาศ เป็นแนวทางที่ถูกต้องมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นแนวทางที่ใช้กันทุกประเทศทั่วโลก.----------------------


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"