นิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย เวทีแสดงฝีมือ 28 มรภ.


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

 

 

 

         เวลานี้ศิลปินอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเกือบ 30 แห่ง ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนและเทคนิคใหม่ๆ ในการสร้างผลงานศิลปะพร้อมเข้าร่วมโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ และการแสดงนิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2564  กิจกรรมครั้งใหญ่นี้เกิดจากความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 28 แห่ง  ซึ่งปีนี้ได้ปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นการอบรม  Online และผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings ระหว่างวันที่ 23 ก.ค. – 31 ส.ค.นี้   โดย 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่ยอมแพ้ต่อสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

 

ผลงาน”วัฏจักร” เทคนิคสื่อผสม ศ.เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ

 

      ในส่วนผลงานศิลปะแขนงต่างๆ จากศิลปินคณาจารย์จำนวน 133 คน รวมถึงผลงานศิลปินรับเชิญ อาทิ อินสนธิ์ วงค์สาม และ ศ.เดชา วราชุน สองศิลปินแห่งชาติ และ ดร.วินัย ปราบริปู ผู้อำนวยการหอศิลป์ริมน่าน ที่เตรียมปรากฏสู่สายตาผู้รักงานศิลป์และนิสิตนักศึกษาในรูปแบบออนไลน์    แต่ละชิ้นงานล้วนเกิดจินตนาการและพลังความคิดสร้างสรรค์บนรากฐานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของศิลปินผู้ผลิตผลงาน ลีลาสร้างสรรค์และเทคนิคต่างกันไป สะท้อนให้เห็นศักยภาพด้านความคิดและทักษะฝีมือ เชื่อว่าจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้ชื่นชม  ที่สำคัญคณาจารย์ยังได้นำความรู้ความสามารถที่เพิ่มพูนขึ้นไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนให้บัณฑิตมีคุณภาพเข้มข้น

ผลงาน”โควิด-19สู่สัมมาสติ”โดย ผศ.ณัฐวัฒน์ โสมดี 

 

       รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รษก.แทนอธิการบดี มรภ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ประโยชน์ของโครงการนี้เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทางด้านศิลปกรรม จะเกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันใน เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏของอาจารย์และนักศึกษา โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมระดับประเทศของคณาจารย์ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยอาศัยฐานความรู้ศิลปกรรมท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่เพื่อนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย

       “ พลังแห่งปัญญาและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเครือข่าย มรภ. จะเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมสังคมวิชาการด้านศิลปกรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ นำไปต่อยอดเชิงวิชาการ สนับสนุนให้มีการวิจัยและบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนได้ “ รศ.ดร.ชาตรี กล่าว

”Summertime” เทคนิคสื่อผสม โดยขวัญจิรา เจียนสกุล

 

        ด้าน รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์  รษก.แทนอธิการบดี มรภ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ศิลปะเกิดจากการถ่ายทอดจิตนาการของศิลปินเชิงแนวคิด และประสบการณ์ที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคนออกมาได้อย่างสวยงาม ประณีต  และมีคุณค่า  ศิลปินทุกคนที่นำผลงานมาจัดแสดงในครั้งนี้มีเอกลักษณ์ และยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพด้านงานศิลปะของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์

      “ ความร่วมมือทางวิชาการของทั้ง 28 มรภ. จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักศึกษา  และผู้สนใจเข้าร่วมงาน  มีโอกาสเรียนรู้งานศิลปะ มีเวทีให้ได้แสดงผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำเป็นต่อการพัฒนาสังคม “  รศ.ดร.สุภาวิณี ย้ำประโยชน์ของการรวมเครือข่ายพันธมิตร

ผลงานสื่อผสม ”Light of Chanthaboon”(แสง-จันท์)

 

     สนใจติดตามความเคลื่อนไหวการเวิร์คช็อปคณาจารย์กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏและชมผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์ที่ร่วมจัดแสดงคลิกไปที่ เพจนิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิธีเปิดวันที่ 23 ก.ค.นี้ เวลา 8.30 น.เป็นต้นไป  สนใจสามารถ Join Zoom Meeting  https://zoom.us/j/2350352910?pwd=bERFcVdjRmszRFc1MHFrRy9WMXpYUT09 รหัสสำหรับเข้า Zoom  Meeting ID: 235 035 2910  Passcode: 699319


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"