'โบว์อยากเลือกตั้ง'บ่นยูเอ็นทำน้อยไป ปลุกคนไทยต่อต้านเผด็จการด้วยตัวเอง


เพิ่มเพื่อน    

10 มิ.ย.61 -น.ส.ณัฏฐา หรือโบว์  มหัทธนา   แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Bow Nuttaa Mahattana ระบุว่า

#UNtoThailand โบว์เพิ่งได้อ่านเอกสารข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่เผยแพร่สู่สาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนสรุปเนื้อหาให้ได้อ่านกัน ขอแสดงความเห็นในหลักการ และตั้งข้อสังเกตดังนี้

แม้จะเป็นเรื่องน่ายินดีที่องค์กรทางการทูตและองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระดับโลกหลายองค์กรได้ร่วมแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนร่วมกับเรา แต่องค์กรทั้งหมดนั้นก็ทำได้เพียงยืนยันหลักการที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนในฐานะเพื่อนร่วมประชาคมโลก และจะทำเมื่อมีหลักฐานการละเมิดขั้นรุนแรงอย่างชัดเจนเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น

คนไทยต้องไม่ลืมว่า หากปราศจากการแสดงออกว่าไม่ยอมจำนนต่ออำนาจเผด็จการ หากปราศจากการลุกขึ้นสู้ด้วยตนเอง ก็จะไม่มีใครมายืนเคียงข้างเรา เพราะคงเป็นที่เคอะเขิน หากคนนอกจะมีปฏิกิริยามากกว่าผู้ถูกกระทำ

โดยส่วนตัวเราเชื่อมั่นในการยืนขึ้นด้วยตนเองให้มั่นคงและนานพอ แล้วบอกกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นข้อเท็จจริง ไม่เคยร้องขอให้ใครมายืนเป็นวอลเปเปอร์ ไม่มีบารมีใดจะยิ่งใหญ่กว่าความถูกต้องเที่ยงธรรม หากใครจะลุกขึ้นยืนยันหลักการเพื่อเรา เขาจะต้องยืนขึ้นด้วยแรงขับดันจากจิตสำนึก เป็นการยืนเคียงข้างกันที่มีพลังและยั่งยืน

ข้อเรียกร้องที่จะสรุปต่อไปนี้ ได้ออกเป็นหนังสือถึงรัฐบาลไทยตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ แต่เพิ่งจะเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกระบวนการของ UN Human Rights Council ที่จะปิดเป็นความลับเพื่อให้สิทธิรัฐบาลได้ตอบก่อน แม้รัฐบาลไทยจะมีเวลากว่าสามเดือนครึ่งที่จะสนองหรือตอบโต้ข้อเรียกร้องเพื่อรักษาหน้าตัวเองก็ยังไม่ทำ ตามธรรมชาติของเผด็จการที่จะไม่ต้องเกรงใจใครหรือรักษาหลักการใดๆ ยิ่งเป็นการยืนยันว่าเมื่อเราไม่ต่อสู้ด้วยตนเอง ก็ไม่มีกลไกใดๆจะปกป้องสิทธิของเราได้ เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการละเมิดสิทธิขั้นรุนแรงอีกหลายกรณี นับจากวันที่ข้อเรียกร้องนี้มาถึงรัฐบาลไทย ถึงวันที่เอกสารดังกล่าวถูกเผยแพร่ อันน่าจะเห็นกันได้ชัดเจนว่าอำนาจที่จะหยุดการละเมิดจะอยู่ในมือใครได้ถ้าไม่ใช่เรา

ต่อไปนี้คือใจความสำคัญของหนังสือดังกล่าวค่ะ

ผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษด้านการสนับสนุนและปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีหนังสือถึงรัฐบาลไทยเพื่อให้รัฐบาลให้ความสนใจกับกรณีการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือเพื่อคุกคามนักกิจกรรมและผู้ชุมนุมโดยสันติที่ได้เข้าร่วมในการชุมนุมประท้วงอย่างสันติหลายครั้ง โดยบุคคลเหล่านั้นถูกตั้งข้อหาภายใต้บริบทของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานหลายประการ รวมถึงสิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการแสดงออก และสิทธิในการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ

โดยตลอดช่วงเวลาหลังรัฐประหารได้มีการสื่อสารถึงรัฐบาลไทยโดยกลไกพิเศษของสหประชาชาติถึง 13 ครั้ง(ยังไม่รวมครั้งนี้) โดยเป็นกรณีเกี่ยวกับการไม่รับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และการจับกุมคุมขังนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ทางสหประชาชาติยังคงเฝ้ารอคำตอบที่ยังไม่ได้รับอยู่สามกรณี และแม้จะทราบดีจากคำยืนยันของรัฐบาลว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก็ยังเห็นว่ามีการออกกฎหมายต่างๆและใช้เพื่อตั้งข้อหากับนักกิจกรรม และเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมอย่างสันติ ซึ่งตลอดสี่ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การรัฐประหาร การชุมนุมทางการเมืองโดยสันติได้ถูกทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย มีการใช้กฎหมายที่เขียนด้วยถ้อยคำที่ไม่รัดกุมมาเอาผิดกับผู้เข้าร่วมการชุมนุม โดยเฉพาะคำสั่งที่ 3/2558 ที่ห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึงหกเดือนและปรับสูงสุดหนึ่งหมื่นบาท

ในหนังสือข้อเรียกร้องนี้ได้มีการระบุถึงการตั้งข้อหากับผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรม We Walk เดินเพื่อมิตรภาพ และกิจกรรมของ #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่สกายวอล์ค แยกปทุมวัน โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการจับกุม การคุกคาม และการตั้งข้อกล่าวหากับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและจำกัดการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งหากเป็นจริง การตั้งข้อหาดังกล่าวก็จะขัดกับข้อตกลงตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่ไทยได้ลงนามรับรองไว้ โดยเฉพาะข้อ 14, 19 และ 21 ซึ่งรับรองสิทธิในการสู้คดีอย่างยุติธรรม เสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติปราศจากอาวุธ

นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงถึงกติกาข้อ 12/16 และ 24/5 ของสภาสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรียกร้องให้รัฐให้ความสำคัญกับสิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกว่าเป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญของสังคมประชาธิปไตย โดยกฎหมายต่างๆที่จะมีใช้บังคับจะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ และการจำกัดสิทธิใดๆจะต้องเป็นไปด้วยความจำเป็นและได้ส่วนอย่างเคร่งครัด รวมถึงเคารพกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการอ้างถึงกติกาที่ว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่าการจำกัดสิทธิที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวด้วยความจำเป็นอย่างเคร่งครัดเท่านั้น รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับประกาศสิทธิหน้าที่และหลักปฏิบัติต่อผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกหลายข้อ

โดยอำนาจที่ได้รับมอบหมายมา ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติได้ตั้งคำถามและขอให้รัฐบาลได้มีคำตอบในประเด็นการละเมิดสิทธิต่างๆ โดยขอให้รัฐบาลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งข้อหาดำเนินคดี และอธิบายว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นสอดคล้องกับมาตรฐานการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสันติอย่างไร นอกจากนี้ยังขอให้ระบุว่ารัฐบาลมีการดำเนินการอย่างไรเพื่อจะให้มั่นใจได้ว่าสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนจะได้รับความคุ้มครอง

สุดท้ายคือคำถามว่าคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 นั้น สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่างไร โดยเฉพาะข้อ 4, 19 และ 21 ของ ICCPR

ทิ้งท้ายหนังสือด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ใช้มาตรการที่จำเป็นทุกอย่างในการหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก และหากจำเป็นต้องใช้อำนาจใดๆที่เป็นการละเมิดสิทธิก็ให้มีผู้รับผิดชอบด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"