ธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทยตั้งเป้า Net Zero การผลิตไร้"คาร์บอน"


เพิ่มเพื่อน    

 

  ธุรกิจยักษ์ใหญ่ของไทยที่ร่วมเสวนาออนไลน์ ถึงแผนการผลิตขององค์กร ที่ตั้งเป้าที่จะให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็น 0

 

ในยุคนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ต้องมีการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในวงเสวนาเรื่อง “ภาคธุรกิจไทย TBCSD : พลังความร่วมมือ มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ สู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ สู่อนาคตที่ยั่งยืน” โดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ได้จัดขึ้นเพื่อให้ภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง บทบาทของภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ (Country Issue) ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย

 



ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(TBCSD) กล่าวว่า ปัจจุบันมีสมาชิกใน TBCSD กว่า 40 องค์กร ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย อาทิ ยานยนต์ พลังงานและสาธารณูปโภค ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค และการเงินการธนาคาร เพื่อร่วมกันส่งเสริมและขับเคลื่อนให้ภาครัฐและภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายระดับประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบันภาคธุรกิจไทยความตื่นตัวและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาธุรกิจบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลอันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

  ในภาพรวมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เผยว่า ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 354 ล้านตัน ในจำนวนนี้มาจากภาคพลังงาน 71% ภาคพลังงานผลิตไฟฟ้า 42% ภาคขนส่ง 28% ภาคพลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรม 20% ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 8.9% โดยทั้งหมดเป็นปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมประมาณกว่า 80% จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งประเทศ ซึ่งแนวทางในการทำธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน เป็นการทำธุรกิจที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคยุคใหม่ที่กังวลถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


“ดังนั้นภาพจำใหม่ที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจคือ เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นได้พร้อมกับการลดก๊าซเรือนกระจก ตัวอย่างที่ประเทศสวีเดน ตั้งแต่ปี 1990-2013 มีจีดีพีเพิ่มขึ้น 58% ในขณะเดียวกันมีการลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 23% ดังนั้นหากมีการลดใช้พลังงานในภาคพลังงานหรืออุตสาหกรรมก็เท่ากับลดต้นทุนในการผลิต ไทยก็จะเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน” ดร.พงษ์วิภา กล่าว

 

กราฟแสดงแผนการลดคาร์บอนของปตท.

ด้าน อรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า  ปตท.ได้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก โดยในกลุ่มบริษัท ปตท.ด้านพลังงาน ทั้งในและต่างประเทศ มีการปลดปล่อยคาร์บอนประมาณ 39 ล้านตัน  จึงต้องเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ Net Zero ปรับวิสัยทัศน์ให้สอดรับกับทิศทางอนาคต โดยขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต (Powering Life with Future Energy and Beyond) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ในมิติของสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดกลยุทธ์ PTT Group Clean and Green Strategy ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดําเนินธุรกิจ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดเป้าหมายการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ลงร้อยละ 15 จากระดับปี 2020  การดำเนินงานตามกลยุทธ์ดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่กับการดําเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การปลูกและดูแลป่าเพื่อช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

นําพล ลิ้มประเสริฐ ผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี ได้ให้มุมมองว่า โดยรวมแล้วในภาคธุรกิจของเอสซีจี มีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 23.34 ล้านตัน ดังนั้นเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ในปี 2568  และ 28% ในปี 2573  และลดการใช้พลังงานลง 13% ในปี 2568 เทียบกับ BAU ในปี  2550 และตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ผ่านการดำเนินงานด้านกลไกราคาระบบซื้อขายการปล่อยมลพิษ (ETS) เพิ่มส่วนแบ่งของชีวมวลและพลังงานหมุนเวียน เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การวิจัยและพัฒนา (R&D) ของเทคโนโลยี  รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และแนวทางแก้ไขปัญหา และการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและความยืดหยุ่นของสภาพอากาศ การฟื้นฟูสภาพป่า และแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ  ผลิต-ใช้-วนกลับ

เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของเอสซีจี

สำหรับบทบาทของคนรุ่นใหม่ จรินทร์พร จุนเกียรติ ดารานักแสดง และ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อีอีซี (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ความสมดุลที่ควรจะมีก็สั่นคลอน เกิดการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์บก อย่างเต่าก็อาจจะมีโอกาสในการวางไข่ในน้ำน้อยลงได้ จึงมีความสนใจและศึกษาอย่างลึกซึ้งเพราะแต่ละคนก็มีหนทางในการช่วยสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน  โดยอีอีซีจะทำให้การเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก บูรณาการ Education & Entertainment เข้าด้วยกัน ขยับไปถึงภาคส่วนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ เอกชนที่ต้องช่วยกันดูแลและขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"