กังขาข้อกำหนดให้อำนาจกสทช.ฟันเฟคนิวส์ได้เลยกลายเป็นซูเปอร์พนักงานสอบสวนใหญ่กว่าศาล


เพิ่มเพื่อน    


30 ก.ค.64 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการ สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กให้ความเห็นกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกข้อกำหนดห้ามเสนอข่าวที่อาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว โดยให้อำนาจกสทช.แจ้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสั่งระงับได้ พร้อมส่งตำรวจดำเนินคดี มีผล 30 ก.ค. นี้ ว่า  ข้อพิจารณาที่ผมเห็น 1. โดยที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปซึ่งข้อความอันเป็นเท็จ ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในอารัมภบท  คือปัญหาที่จะเกิดขึ้น ว่า ความเท็จเป็นอย่างไร   จะเป็นเท็จตามข้อมูลหรือตามดุลพินิจของ กสทช. นั้นมีหลักประกันใดที่จะไม่เปิดช่องให้เกิดการใช้อำนาจดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม หรือความเท็จนั้นมีความจริงอย่างไร  กสทช. ต้องบอกสังคมให้ทราบ ความจริงทันทีเช่นกัน   ประชาชนจะได้ตรวจสอบ โต้แย้ง และนำพยานหลักฐานพิสูจน์สนับสนุนข้อโต้แย้งได้ถูกต้อง จึงจะเรียกว่า กสทช. มีมาตรฐานจริง หาก กสทช. อ้างลอยๆไม่มีเนื้อหาของความจริงให้ปรากฏว่าเป็นความเท็จหรือเป็นข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนอย่างชัดแจ้ง  เพื่อเป็นเหตุผลแห่งการใช้อำนาจในการออกคำสั่งให้ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP Address)ของบุคคลทันที  ซึ่งในทางปฏิบัติอาจมีความเป็นไปได้ว่า การใช้อำนาจจะเกิดความไม่เป็นธรรม ลักลั่นทางข้อเท็จจริงและผลของการออกข้อกำหนดนี้อาจขัดรัฐธรรมนูญก็ได้

2. กสทช. จะกลายเป็นองค์กรใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดสั่งระงับฯ มิใช่ศาลยุติธรรม ปกติตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 20 ให้อำนาจศาลระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์    แม้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ  มาตรา 9 จะให้อำนาจในการออกข้อกำหนดนี้ได้ แต่ก็ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายประสงค์ให้ห้ามเป็นการเฉพาะข่าวหรือข้อความซึ่งเป็นการห้ามเข้าถึงข้อมูลหรือข้อความที่มีการนำเสนอ   แต่กฎหมายไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะให้สั่งปิดช่องทางการสื่อสาร ของบุคคลหรือสื่อสารมวลชนทั้งช่องทาง  ซึ่งมีผลต่อการนำเสนอข้อความในอนาคตที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด

เมื่อข้อกำหนดนี้อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 มาตรา 26 มาตรา 35 และมาตรา 36 แล้วศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้   สื่อมวลชนหรือประชาชนผู้ใช้เพลตฟอร์มที่ถูกสั่งระงับใช้ถูกดำเนินคดี  ต้องต่อสู้ประเด็นเหล่านี้ไว้ผมเห็นว่าต้องเป็นความเท็จที่สังคมและประชาชนยอมรับกัน ว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อความอันเป็นเท็จหรือเป็นข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ถึงขนาดทำให้ประชาชนหวาดกลัว  จึงจะเป็นการใช้อำนาจตามข้อกำหนดนี้ได้อย่างถูกต้อง

กล่าวโดยสรุปว่า  การพิจารณาของศาลยังให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างและข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่าย ตามหลักฟังความสองฝ่าย  ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กลับออกข้อกำหนดให้อำนาจ กสทช. ใช้อำนาจเด็ดขาดยิ่งกว่าศาล เป็นซุปเปอร์พนักงานสอบสวนสั่งปิดการสื่อสารและชงเรื่องดำเนินคดีได้เอง ถามว่าเป็นธรรมแล้วหรือ  "

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้าที่ นายกฯ จะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 9 ออกข้อกำหนดดังกล่าว  นายสิทธิโชค  อินทรวิเศษ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาศัยอำนาจตาม    พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 (4) ออกคำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่าด้วยแนวทางการพิจารณาคำร้องขอให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  มาตรา 20 เพื่อให้ผู้พิพากษาศาลอาญามีแนวทางในการปฏิบัติและพิจารณาคำร้องอย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน โดยวางแนวพิจารณาคำร้องปิดเว็บ อาทิ จัดไต่สวนทุกครั้งภายใน 7 วัน เน้นให้โอกาสคัดค้าน

โดยมอบหมายให้  นายมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์  ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะแผนกคดีค้ามนุษย์รับผิดชอบคดียื่นคำร้องขอปิดเว็บไซต์  ระงับการเข้าถึงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ว่า เเนวทางดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสร้างกระบวนพิจารณาเป็นธรรม  ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเน้นการตีความกฎหมายและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญจำกัดสิทธิเป็นข้อยกเว้น สังคมศรัทธา ไม่มุ่งแค่ปราบปราม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"