ไทยจะขอเข้า COVAX: ช้าไป-น้อยไปหรือไม่?


เพิ่มเพื่อน    

สัปดาห์ก่อนคุณหมอนคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกมาขอโทษประชาชนที่จัดหาวัคซีนไม่ทันกับความต้องการของประชาชนด้วยเหตุผลหลายประการ
    ข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือการ “กลับลำ” ของรัฐบาลเกี่ยวกับการเข้าร่วม  Covax ขององค์การอนามัยโลก เพื่อการจัดหาและกระจายวัคซีนให้ประเทศรายได้ปานกลางและยากจนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
    ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าไทยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วม ด้วยเหตุผลหลายประการเช่นว่า ประเทศไทยไม่เข้าข่ายประเทศด้อยพัฒนา, ส่วนใหญ่เขาใช้วัคซีน AstraZeneca ซึ่งเรามีอยู่แล้ว และเราจะต้องลงขันในกองกลางด้วยซึ่งอาจจะ “ไม่คุ้ม” กับที่ไทยจะได้รับ
    แต่วันนั้นคุณหมอนครบอกว่า ไทยจะกลับเข้าสู่กระบวนการเข้าร่วม  COVAX 
    “เรายังอยู่ในการเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ เพียงแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในการจัดหาวัคซีนร่วมกันผ่านโครงการนี้ ส่วนนี้สถาบันได้เริ่มเจรจาและส่งข้อความประสานงานไปยังองค์กรกาวีในการที่จะขอเจรจาจัดหาวัคซีนร่วมกับโครงการ มีเป้าหมายของการได้รับวัคซีนของปี  2565 เพิ่มเติมจากการเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนลำพัง...”
    กระทรวงการต่างประเทศบอกเมื่อสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับประเด็น  COVAX ว่า
    แม้ว่าไทยจะไม่ได้เข้าร่วมโครงการแบ่งปันวัคซีน COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ได้ร่วมบริจาคให้ WHO เป็นจำนวน  เงิน ๒๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับกลไก  COVAX จึงทำให้ไทยสามารถแลกเปลี่ยน จำหน่าย หรือแจกจ่ายวัคซีนที่ไทยผลิตได้เองในอนาคตข้างหน้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ไทยประกาศไว้ว่า วัคซีนคือสินค้าสาธารณะของโลก (global public goods) ที่ประเทศต่างๆ ควรเข้าถึงได้ทั่วกัน เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ เป็นสิ่งท้าทายที่ประชาคมระหว่างประเทศมีร่วมกัน
    โครงการนานาชาติที่ชื่อโคแวกซ์ (COVAX) ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายอันสูงส่งที่จะให้ทั้งประเทศร่ำรวยและยากจนได้แบ่งวัคซีนกันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมมากที่สุด
    ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2020 มุ่งสนับสนุนการพัฒนา จัดซื้อ และส่งวัคซีนไปยังกว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยมีองค์การอนามัยโลกเป็นผู้นำ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (The Vaccine Alliance  หรือ Gavi) ที่ก่อตั้งโดยบิลและเมลินดา เกตส์ และกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic  Preparedness Innovations หรือ Cepi)
    COVAX ย่อมาจาก COVId-19 Vaccines Global Access  Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก
    โครงการนี้ตั้งเป้าว่าจะเริ่มจัดส่งวัคซีนในเดือน ก.พ. โดยประเทศที่มีฐานะระดับยากจนและปานกลางจะได้รับวัคซีน พวกเขาหวังว่าถึงปลายปี 2021 จะจัดส่งวัคซีนไปทั่วโลกให้ได้ 2 พันล้านโดส
    จากวัคซีนที่มีทั้งหมด วัคซีนจำนวน 1.8 พันล้านโดสจะถูกส่งไปยัง  92 ประเทศยากจนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเข้าถึงประชากรในประเทศเหล่านั้นราว 20%
    โคแวกซ์เรี่ยไรเงินได้แล้ว 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ต้องการอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงจะทำตามเป้าที่วางไว้สำหรับปี 2021 ได้
    สหราชอาณาจักรได้บริจาคเงินไปแล้ว 748 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ขณะที่สหรัฐฯ ประกาศเมื่อเดือน ธ.ค.ว่าจะให้ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    สิ่งแรกๆ ที่โจ ไบเดน ทำเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ  คือเซ็นเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์
    แต่ก็ยังมีข้อกล่าวหาว่าอเมริกาและประเทศร่ำรวยอื่นๆ ก็ยังกักตุนวัคซีนเพื่อประชาชนของตนอยู่ดี
    ล่าสุด หลังจากที่รัฐบาลไทยถูกวิพากษ์อย่างหนักและการเร่งหาวัคซีนยังไม่เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุขก็หันมาบอกว่ากำลังจะกลับไปพูดจาขอเข้าร่วมโครงการ COVAX แล้ว
    หลังจากที่เราได้รับทราบจากจดหมายของรองประธาน  AstraZeneca ถึงรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ลงวันที่ 25 มิถุนายนปีนี้ ว่าเขาได้แนะนำฝ่ายไทยตั้งแต่การคุยกันปีที่แล้วให้ไทยเข้าร่วม COVAX  เพื่อเป็นแหล่งได้รับวัคซีนอีกทางหนึ่ง...แต่ดูเหมือนไทยเราจะไม่เชื่อ...อย่างน้อยก็ในตอนนั้น
    ไทยจะต้องไปต่อคิวยาวแค่ไหนในการเข้าร่วม COVAX ที่ค่อนข้างจะล่าช้า
    หรือจะต้อง “เสียค่าตกรถไฟขบวนแรก” แค่ไหน
    ยังเป็นคำถามที่รอคำตอบอยู่วันนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"