สศอ.โชว์ เอ็มพีไองวดมิ.ย. ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 รับอานิสงส์ส่งออก


เพิ่มเพื่อน    


31 ก.ค. 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ที่รวบรวมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่าเดือนมิ.ย. 2564  ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และยุโรป

 

ส่งผลให้ภาคการผลิตโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีบางโรงงานอุตสาหกรรมต้องหยุดการผลิตชั่วคราวแต่เป็นเฉพาะบางสายการผลิต และสามารถกลับมาเร่งกำลังการผลิตได้เหมือนเดิม ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมมีการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมกัน

 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า ดัชนีเอ็มพีไอ เดือนมิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 97.73 เพิ่มขึ้น 17.58% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาสที่ 2/64 ขยายตัวเฉลี่ย 20.41% ส่วนครึ่งปีแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ย 9.41% โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทอง อาวุธ รถถัง และอากาศยาน) มูลค่า 18,440 เหรียญสหรัฐ ขยายตัวสูงถึง 45.23% ส่วนการนำเข้าสินค้าทุน ขยาย 28.5% ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 69.4%  ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น

 

 สำหรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2564 ขยายตัวเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตของอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์มีการผลิตเพิ่มขึ้น 39.87% โดยเป็นการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นในรถทุกประเภทจากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางล้อขยายตัวตามไปด้วย อุตสาหกรรมเหล็กขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น 23.80% การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีการผลิตเพิ่มขึ้น 15.65 %ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากการเรียนและการทำงานออนไลน์


 
ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางที่เติบโตตามความต้องการใช้งานทางการแพทย์สูงขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้ง ในเดือนมิ.ย. 2564 อุตสาหกรรมเครื่องประดับ ซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเริ่มกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 178.89% สะท้อนให้เห็นภาพของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว

 

 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศการเร่งกระจายการฉีดวัคซีน และแผนการเปิดประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้การคาดการณ์เอ็มพีไอ ในเดือนถัดไปจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ อาทิเช่น การระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาการขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปัญหาต้นทุนค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือตู้ คอนเทนเนอร์สูงขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในอนาคต
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"