รมว.ดีอีเอสจ่อเชิญ'องค์กรสื่อ'แจงข้อห้ามพรก.ฉุกเฉิน ยันใช้ฟันสื่อเทียม


เพิ่มเพื่อน    

2 ส.ค. 64 - นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีที่ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกข้อกำหนดฉบับที่ 27 และ ฉบับที่ 29 ที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เกี่ยวกับมาตรการมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสร้างความหวาดกลัวว่า 

ขอยืนยันว่าข้อกำหนดที่ออกมา ไม่ได้มีเจตนาควบคุมการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน ตลอดจนประชาชน ที่เป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพของสื่อมวลชนในการปฏิบัติหน้าที่ และมีองค์กรสื่อมวลชนคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพและจริยธรรม รวมทั้งที่ผ่านมารัฐบาลรับฟังการวิพากษ์วิจารณด้วยเหตุผลและอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม​ กต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาการรับรู้ และส่งต่อข้อมูลข่าวสาร มีความคลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องได้ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนโดยเจตนา เนื่องจากกระทบการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติขณะนี้ 

"ผมมองว่าสื่อมวลชนมีส่วนสำคัญในการนำพาสังคมให้เดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับประชาชนในการฝ่าฟันปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญ การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง รัฐบาลยิ่งต้องรับฟังเพื่อนำสู่การแก้ไข ไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดกั้นการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา" นายชัยวุฒิ ระบุ

ส่วนข้อกำหนดที่ออกมานั้น เจตนาสำคัญเพื่อดำเนินการกับผู้ที่ทำตัวเสมือนเป็นสื่อมวลชน หรือสื่อเทียม ไร้สังกัด ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่มีองค์กรกำกับตรวจสอบการทำหน้าที่ที่ชัดเจน ซึ่งมักนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดจากข้อเท็จจริง ผ่านบัญชีผู้ใช้งานใน Facebook และ Twitter หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่พบว่ามีเจตนาตั้งใจบิดเบือนเพื่อหวังผลบางอย่าง ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด จนเกิดความหวาดกลัวหรือตื่นตระหนก การประกาศข้อกำหนดข้างต้นจะนำมาบังคับใช้เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้เป็นหลัก ในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญความยากลำบากจากโควิด-19 แต่กลับมีบางคนนำเสนอข้อมูลบิดเบือน สร้างความสับสนในสังคม ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงถูกประกาศใช้เพื่อแก้ปัญหาส่วนนี้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอยู่แล้ว

“เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางของรัฐบาล ผมจึงขอเชิญผู้บริหารองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน หารือในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหาการนำเสนอข้อมูลที่ปราศจากข้อเท็จจริงที่ระบาดในสังคม และจะทำให้เกิดความมั่นใจด้วยว่า รัฐบาลตระหนักถึงบทบาทของสื่อมวลชนในการมีส่วนช่วยนำพาบ้านเมืองให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปด้วยกัน" รมว.ดีอีเอส กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"