“ศุลกากร” ตั้งแท่นเอ็กซเรย์ยิบตู้ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก


เพิ่มเพื่อน    

“ศุลกากร” เต้นแจงไม่นิ่งนอนใจตรวจยิบตู้คอนเทนเนอร์ขนขยะอิเล็กทรอนิกส์-พลาสติก พร้อมจับมือ “กรมโรงงานอุตสาหกรรม” วางกรอบการทำงานแน่นหนา ตั้งแท่นเอ็กซเรย์ทุกตู้สินค้าแบบ 100%

13 มิ.ย. 61 - นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบความคุมทางศุลกากร และโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรและกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือเรื่องการแก้ไขปัญหาการนำเข้าเศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชีวิตประชาชน และจะกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมากรมศุลกากรไม่ได้นิ่งนอนใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในขณะนี้ที่มีการนำเข้าเศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ซึ่งกรมศุลกากรถือเป็นประตูด่านแรก และที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างสูงที่สุด โดยได้มีการประสานความร่วมมือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการทำงานในส่วนดังกล่าว

ทั้งนี้ ได้มีการสรุปมาตรการ 6 ด้านเพื่อดูแลปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย 1. กรมศุลกากรจะทำบิ๊กดาต้ากับกรมโรงงานอุตสาหกรรม แลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น มีโรงงานที่นำเข้าเศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้อง ทางกรมโรงงานก็จะส่งข้อมูลมาให้กรมศุลกากรเพื่อไม่ให้นำสินเข้าดังกล่าวเข้าประเทศ มาตรการที่ 2 หลังจากนี้กรมศุลกากรจะมีการเอ็กซเรย์ตู้เศษพลาสติก และเศษอิเล็กทรอนิกส์ ทุกตู้ 100% จากเดิมที่สุ่มตรวจเป็นบางตู้เท่านั้น สำหรับมาตรการที่ 3 หากพบว่ามีการนำเข้าไม่ถูกต้องทางกรมศุลกากรก็จะให้ผู้นำเข้านำสินค้าดังกล่าวกลับสู่ประเทศต้นทางทันที

ขณะที่มาตรการที่ 4 กรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบหลังการปล่อยตู้เศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเมื่อออกจากท่าเรือแล้ว ได้เดินทางไปยังโรงงานที่แจ้งไว้หรือไม่ มาตรการที่ 5 กรมศุลกากรและกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นช่องโหว่ในการนำเข้า นำส่ง นำผ่านไปยังปลายทาง และกำหนดมาตรการเพิ่มโทษในกรณีที่มีการกระทำความผิด และมาตรการที่ 6 บริษัทที่นำเข้ามาไม่ถูกต้องทางกรมศุลกากรจะส่งชื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทำการยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ

นายชัยยุทธ ก่าวอีกว่า การนำเข้าเศษพลาสติก และเศษอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายหากดำเนินการถูกต้อง โดยการนำเข้าเศษพลาสติกต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์และกรมโรงงานอุตสาหกรรม เสียภาษีนำเข้าอัตรา 30% สำหรับการเศษอิเล็กทรอนิกส์ต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เสียภาษีนำเข้า 0% โดยการนำเข้าเศษทั้งสองชนิดต้องทำความสะอาดก่อนนำเข้ามาในประเทศอย่างเพียงพอ

นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าเศษโลหะ เศษทองแดง เศษทองเหลือง และเศษอลูมิเนียม ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานใด แต่ต้องเสียภาษีนำเข้า 1-10% ซึ่งกรมศุลกากรได้เข้มตรวจการนำเข้าในกลุ่มนี้ด้วย เพราะพบว่ามีการนำเข้าเศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์ผสมเข้ามาเป็นจำนวนมาก และได้การกักตู้สินค้าดังกล่าว 33 ตู้ที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมมาตรวจสอบว่าเป็นการนำเข้าที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่มีการทำความสะอาดและมีกลิ่นเหม็น หากไม่ถูกต้องก็จะให้ส่งกลับประเทศต้นทาง และมีการอายัดตู้สินค้าประเภทเศษพลาสติก จำนวน 2 ตู้ แม้ว่าจะมีใบอนุญาตนำเข้าถูกต้อง แต่พบว่าโรงงานมีการทำผิดเงื่อนไข จึงต้องรอการตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมด รวมถึงแหล่งกำเนิดด้วย

ขณะที่ท่าเรือแหลมฉบัง พบว่า มีการจับกุมและเตรียมปลดปล่อยสินค้าจำนวน 21 ตู้ และเตรียมผลักดันกับประเทศต้นทาง 80-90 ตู้ โดยที่ผ่านมามีการผลักดันกลับประเทศต้นทางแล้ว 40 ตู้ โดยส่วนใหญ่เป็นเศษพลาสติก ประมาณ 90% ส่วนท่าเรือลาดกระบัง อยู่ระหว่างการตรวจสอบตู้สินค้า จำนวน 37 ตู้ ส่วนใหญ่เป็นเศษพลาสติก

“การนำเข้าเศษพลาสติก และเศษอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีปัญหาขณะนี้เป็นเรื่องปลายทางเมื่อผู้นำเข้านำและไปคัดแยก และเกิดมีขยะเสียเป็นพิษและไม่มีกระบวนการกำจัดที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษ จะเข้าไปจัดการ ในส่วนของกรมศุลกากรเป็นผู้ดูแลต้นทางหากมีใบอนุญาตนำเข้าและเสียภาษีถูกต้อง ก็นำเข้าอยู่แล้ว” นายชัยยุทธ กล่าว

นายชัยยุทธ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ามีการจ่ายสินบนนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์ ตู้ละ 1 แสนบาทนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าไปเกี่ยวข้องในส่วนดังกล่าวด้วย แต่หากตรวจสอบแล้วว่ามีเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเข้าไปเกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ดี ในปี 2560 ที่ผ่านมาประเทศจีนประกาศห้ามนำเศษพลาสติกและเศษอิเล็กทรอนิกส์เข้าประเทศจีนมีผลตั้งแต่ต้นปี 2561 ส่งผลให้มีการนำเข้าเศษทั้ง 2 ชนิดเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ส่วนจะมีการห้ามนำเข้าเหมือนประเทศจีนหรือไม่ต้องเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม ว่ายังมีความจำเป็นต้องนำเข้าหรือไม่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"