เร่งเพิ่มทักษะแรงงานลุยเมกะโปรเจ็กต์ รองรับลงทุน"อีอีซี"หลังโควิดคลี่คลาย     


เพิ่มเพื่อน    

   
นโยบายส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของภาครัฐที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อดึงดูดนักลงทุนและเปลี่ยนพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จากพื้นที่เกษตรกรรมและประมงสู่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ  
    
จะเห็นว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น ภาครัฐจะโหมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนโครงการจะเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการลงทุน แต่การแพร่ระบาดของไวรัฐโคโรนา-19 หรือโควิด-19 นั้นได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน ดังนั้นการลงทุนของภาคเอกชนจะเป็นเครื่องยนต์ที่สำคัญในการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19 รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายว่า ในช่วงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566-2570) การลงทุนของประเทศจะต้องอยู่ที่ประมาณ 6 แสนล้านบาทต่อปี โดยการลงทุนส่วนใหญ่ยังอยู่ในพื้นที่อีอีซีโดยตั้งเป้าปีละประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อปี"

เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ในเรื่องนี้ นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การลงทุนในอีอีซีถือเป็นความพยายามที่ดี แต่ในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการเพิ่มเติมคือ ต้องหากิจกรรมมาเสริมในส่วนของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีความล่าช้า อย่างเช่น อุตสาหกรรมการบิน เพราะฉะนั้น หลักๆ เลยต้องคิดว่าจะสามารถนำกิจกรรมใดมาเสริมได้หรือไม่


ขณะเดียวกัน ต้องเร่งที่จะลงทุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์) เนื่องจากสิ่งเหล่านี้กว่าจะเห็นผลได้ต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ โดยต้องหารือกับภาคเอกชนเพื่อที่จะดำเนินการในเรื่องของอินฟราฯ ให้เสร็จทัน พร้อมใช้ พร้อมสร้างรายได้ มองว่าภายใน 4-5 เดือนที่ภาครัฐสามารถคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว ก็จะทำให้เริ่มโครงการได้ เช่น การสร้างโรงงาน และการสร้างถนน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะต้องเร่งผลักดันให้ได้ในขณะนี้ 

นอกจากนี้ อยากให้ภาครัฐเปิดมุมมองว่าไม่ควรจะจำกัดการลงทุนเฉพาะในพื้นที่อีอีซี หากชาวต่างชาติหรือคนไทยต้องการที่จะลงทุนในพื้นที่ใดก็ตาม ก็ควรจะได้รับการสนับสนุน แต่ต้องยอมรับสำหรับความพร้อมในระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ของอีอีซีที่มากกว่าพื้นที่อื่น ดังนั้นหากนักลงทุนมีความต้องการที่จะเข้าไปลงทุนในพื้นที่อื่น เช่น จังหวัดนครราชสีมา ลำพูน หรือจังหวัดอื่น ก็ต้องปล่อยให้มีการลงทุนได้ ไม่ควรปิดโอกาสที่จะเกิดการลงทุนในพื้นที่อื่นๆ

เตรียมพร้อมบุคลากร
นายนณริฏ กล่าวว่า จากการประมาณการเศรษฐกิจของไทยในอีก 20 ปีข้างหน้านั้น หากโครงการอีอีซีสามารถเดินหน้าสำเร็จ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3-5% แต่ถ้าไม่สำเร็จหรือมีความล่าช้า โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน และการชักชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอีอีซี การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี พ.ศ.2568 ที่คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.3% จนกระทั่งเหลือเพียง 1.76% เท่านั้น


"ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยโตเฉลี่ย 3% หากจะเพิ่มการเติบโตให้ได้ 5% ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้เราติดกับดักเชิงโครงสร้าง ด้วยการเพิ่มการลงทุน เพราะปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมน้อย สังเกตจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทที่เป็น Old Economy เช่น หุ้น น้ำมัน โรงกลั่น สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีที่มีความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องเตรียมความพร้อม อาทิ เตรียมคน ต้องเร่งรัด ฝึกทักษะอาชีพที่จำเป็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย ซึ่งต้องเร่ง เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ทันทีที่โควิดคลี่คลายลง" นายนณริฏ กล่าว


หนุนแลนด์บริดจ์-คลองไทย

นายนณริฏ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้รัฐบาลควรเตรียมความพร้อมในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) โครงการอื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตมากขึ้น โดยเป็นโครงการใหม่ที่เชื่อมโยง มีความเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เกี่ยวกับโครงการอีอีซี ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะมีการลงทุนโครงการใหม่ๆ โดยส่วนตัวมองว่ามีโครงการที่รัฐบาลอยู่ระหว่างศึกษาและตัดสินใจว่าจะลงทุน ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) โครงการคลองไทย และโครงการเชื่อมรถไฟไทย-จีน มองว่าโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่จะทำให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่และสนับสนุนธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนาคต


"เราต้องมีการเตรียมความพร้อม ตอนนี้ถ้ารอดชีวิตไปได้ ได้รับการฉีดวัคซีน หลังจากโควิด-19 คลี่คลายลง แน่นอนว่าสิ่งที่ทุกคนต้องการคือการเดินทางไปพักผ่อนหลังจากได้มีการทำงานและกักตัวมาโดยตลอด มองว่าหากสถานการณ์คลี่คลายจะมีดีมานต์เกิดขึ้นมหาศาล ดังนั้นทำยังไงที่จะสามารถรองรับความต้องการหลังจากผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปได้" นายนณริฏกล่าว


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงรุนแรง และส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อ และหลายคนคาดการณ์ว่าการลงทุนน่าจะปรับลดลง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้แจ้งว่า ภาวะการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2564 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 801 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14% มูลค่าเงินลงทุน 386,200 ล้านบาท ในจำนวนนี้การขอรับการส่งเสริมนพื้นที่อีอีซีจำนวน 232 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 126,640 ล้านบาท จังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 64,350 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มูลค่าเงินลงทุน 40,860 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มูลค่าเงินลงทุน 21,430 ล้านบาท


ลงทุนกว่า 1.6 ล้านล้านบาท
ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า จากการดำเนินตามแผนการพัฒนาอีอีซี โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในโครงการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) การบูรณาการ และการดึงการลงทุนเข้ามาของอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จากที่ได้กำหนดเป้าหมายการลงทุนในพื้นที่อีอีซีไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งขณะนี้รวมการลงทุนที่ได้อนุมัติไปแล้ว 1,594,282 ล้านบาท หรือประมาณ 94% ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอย่างมาก ทั้งการลงทุนโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้ผู้ลงทุน 4 โครงการหลัก มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท งบบูรณาการ ปี 2561-2564 อนุมัติไปแล้ว 82,000 ล้านบาท การออกบัตรส่งเสริมการลงทุน 878,881 ล้านบาท และอีกทั้งยังเหลือการลงทุนอีกไม่น้อยกว่า 600,000 ล้านบาท


“จากแผนเดิมจะมีการลงทุนอยู่แล้วปีละ 300,000-400,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้มี 4 อุตสาหกรรมใหม่ที่เริ่มเข้ามาแล้ว ที่จะช่วยเพิ่มการลงทุนได้อีกปีละอย่างน้อย 100,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การลงทุนด้านเทคโนโลยี 5 จี อุตสาหกรรมทางการแพทย์แม่นยำ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะพลิกโฉมใหม่ และการลงทุนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) ทำให้แผนที่ปรับใหม่ สามารถเพิ่มการลงทุนได้ถึงปีละ 500,000 ล้านบาท โดยขอไปปรับปรุงแผนให้ชัดเจนก่อน และขอให้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จบหรือคลี่คลายได้ภายในปีนี้ เมื่อไปรวมกับเศรษฐกิจในภาคอื่นๆ ก็จะผลักดันจีดีพีรวมของประเทศไทยขยายตัวได้ปีละ 4-5% หลังจากที่การระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจปีที่ผ่านมาและปีนี้สะดุดลง”


ไฮสปีด-สนามบินอีอีซีคืบ
นายคณิศ กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซีขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างมาก เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) หรือ CP ไปแล้วกว่า 86% และพร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือน ก.ย.2564 คู่ขนานไปกับการยกระดับแอร์พอร์ตเรลลิงก์โฉมใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น


ขณะที่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 290,000 ล้านบาท ที่บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เข้าพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งเข้าสำรวจพื้นที่โครงการพร้อมก่อสร้างรั้วมาตรการเขตการบิน ความยาว 4.9 กิโลเมตร แล้วเสร็จ 95%


โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่วนของท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี มีการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ และมีกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นเอกชนคู่สัญญา ปัจจุบันตัวร่างสัญญาอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยอัยการสูงสุด
โดยในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2564 ได้มีมติให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับ ตามที่ มติ ครม.ได้อนุมัติไว้ หลังจากล่าช้ามา 3 ปี ในขั้นตอนฟ้องร้องต่อศาล ขณะนี้ได้ข้อตกลงในร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและลงนามสัญญาในเดือน ส.ค.นี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"