สช.จับมือศิษย์เก่ามธ. องค์กรเอกชน เยียวยาผู้ป่วยโควิดกลุ่มแรงงานข้ามชาติ .


เพิ่มเพื่อน    


20ส.ค.64 - อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะทำงานโครงการ TBSA CONNECT อิ่ม&บุญ  กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นการเป็นการระดมพลังบริจาคทั้งเงินและสิ่งของ จากทั้งศิษย์เก่าคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี,คณะอื่นๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,พี่น้องต่างสถาบันตลอดจนประชาชนทั่วไป ผ่านทาง สมาคมฯ (TBS) จัดทำเป็นกล่องบุญ&รอด มอบให้กับผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเข้าระบบการรักษาของโรงพยาบาลได้ ซึ่งทางสมาคมฯ เล็งเห็นว่าไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยเหล่านั้นอยู่อย่างสิ้นหวังเดียวดายและโดดเดี่ยว จึงจัดทำ กล่องบุญ&รอด ที่ภายในบรรจุเครื่องอุปโภค บริโภค และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ซึ่งทางสมาคมฯอยากให้ผู้ป่วยมีความหวัง และต่อสู้โรคร้ายไปด้วยกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่ยังขาดการดูแลอย่างจริงจังจากหน่วยงานต่างๆ

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า การสนับสนุนครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS)  เครือข่ายอาสาสมัครไทยแคร์ (Thai.care) มูลนิธิรักษ์ไทย  Migrant Working Group (MWG) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดย สช.เป็นกลไกเชื่อมประสานหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ และหน่วยงานที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อกระจายไปยังกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งการสนับสนุนกล่องบุญ&รอด ในครั้งนี้ ทาง สช. ได้ประสานมูลนิธิรักษ์ไทย ในฐานะเครือข่ายไทยแคร์ รับมอบและกระจายไปยังกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับการดูแลอยู่ ณ ศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation : CI) ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ยังขาดอุปกรณ์ และปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตในช่วงโควิด-19 ได้ใช้ในการดูแลตนเองอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นับเป็นการประสานความร่วมมือของหลายภาคส่วนเพื่อต่อสู้วิกฤติโควิด-19 โดยมุ่งเน้นกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติ อันเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางในวิกฤติการแพร่ระบาดครั้งนี้

นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กล่าวว่า เครือข่ายไทยแคร์ (Thaci.care) เป็นแพลตฟอร์มประสานงานความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านโควิด-19 ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ทั้งนี้เราได้วางแผน ออกแบบการขับเคลื่อนแบบ Individule Care ที่ผ่านแพลตฟอร์ม Thaci.care ที่เป็น โรงพยาบาลเสมือน (Virtual Hospital) สู่การขยายไปยังแพลตฟอร์ม Thai.care ดูแลชุมชนที่เป็นการสร้าง Community Care ให้กับชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยวางแผนเริ่มต้นที่จังหวัดนครปฐม และเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

นายชูวงค์ แสงคง เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส มูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวเสริมว่า เป้าหมายการทำงานแรงงานข้ามชาติครั้งนี้ เพื่อวางระบบสุขภาวะชุมชนให้ชุมชนแรงงานข้ามชาติสามารถจัดการตนเองในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีการกำหนดแผนระยะสั้น คือ การขยายขอบเขตการทำงานในรูปแบบอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ (อสต.) และการเชื่อมประสานระหว่างกลไกสมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดและเครือข่ายแรงงานข้ามชาติในพื้นต่อไป

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"