'หมอยง'เผยกระตุ้นเข็ม3 ด้วยAZแอนติบอดีพุ่งเกือบ100% ชี้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เด็ก3ขวบขึ้นไป ต้องฉีดด้วย


เพิ่มเพื่อน    

 

25ส.ค.64-  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงงานวิจัยแอนติบอดีและวัคซีนป้องกันโควิด19 ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 29 ว่า จากผลศึกษาในงานวิจัยแอนติบอดีต่อการตรวจหาเชื้อโควิด19 นั้นไม่สามารถในการตรวจหาเชื้อให้เจอในทันที แต่หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 2-3 สัปดาห์จะสามารถตรวจหาเชื้อในแอนติบอดีได้ และคนที่ติดเชื้อรุนแรงจะทำให้มีแอนติบอดีสูงกว่าคนที่ติดเชื้อไม่รุนแรง ดังนั้นโควิด19 จึงเป็นโรคที่สามารถเป็นแล้วเป็นอีกได้ เนื่องจาก ผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งมีแอนติบอดีที่ต่ำมาก จากการตรวจพลาสมาของผู้ที่เคยเป็นโควิดแล้วหาย  พบว่ามีค่าไตเตอร์จะสูงมากในคนไข้โควิดที่มีอาการปอดบวม  ซึ่งในการเก็บพลาสมาของคนไข้ที่มีค่าไตเตอร์สูง 1/320 ขึ้นไป จำนวน 10 คน  อาจจะสามารถบริจาคพลาสมาได้แค่ 2 คน และจากการติดตามผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อธรรมชาติที่หายป่วยเป็นระยะยาว 1 ปี  จำนวน 250 คน โดยมีการเจาะเลือดทุก 3 เดือน พบว่าแอนติบอดีลดลงอย่างรวดเร็ว 

ศ.นพ.ยง  กล่าวต่อว่า ในส่วนของวัคซีนโควิด19 มีเพียง 3 แพลตฟอร์มเท่านั้น ที่ได้อนุมัติให้ใช้ฉุกเฉินได้ในโลก คือ เชื้อตาย ซึ่งฉีดเป็นตัวแรกดี แต่ไม่ใช่ตัวบูสเตอร์ที่ดี ส่วนไวรัสเวกเตอร์ และmRNA  นับว่าเป็นตัวบูสเตอร์ที่ดี   อย่างที่ทราบว่า ขณะนี้ วัคซีนแพลตฟอร์มซับยูนิต ที่มีการพูดถึงกันมากคือ โนวาแวกซ์, อันฮุย(Anhui)ของจีน และ GSK ของบริษัท ซาโนฟี่  ที่กำลังพยายามผลิตออกมา   เพราะวัคซีนชนิดซับยูนิตนั้นทำไม่ง่าย เนื่องจากโปรตีนรีคอมบิแนนท์มีขนาดใหญ่ ทำให้โอกาสกระตุ้นการสร้างภูมิได้สูง ทำได้ลำบากและต้องขึ้นอยู่กับการหาแอดจูแวนต์ ( Adjuvent)หรือสารเสริมฤทธิ์ภูมิคุ้มกัน  ที่จะส่ลงไปในวัคซีนด้วย อย่าง โนวาแวกซ์ ได้ทำการวิจัยแอดจูแวนต์มานาน จากการใช้สารซาโปนิน ที่ได้มาจากเปลือกไม้ต้นโมลิน่า ซึ่งทำการศึกษาเสร็จแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่จนปัจจุบัน อย.ของสหรัฐอเมริกายังไม่รับรอง แต่หากมีการรับรองแล้วจะสามารถอนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) จากนั้นองค์การอนามัยโลก จะรับรองทำให้เกิดการผลิตจำนวนมาก ขณะเดียววัคซีนอังกุยของจีน ต้องมีการฉีดถึง 3 เข็ม ซึ่งจะใช้ระยะเวลารอให้ภูมิคุ้มกันค่อนข้างนานถึง 6 เดือน 

ศ.นพ.ยง กล่าวถึง การศึกษาความปลอดภัยและภูมิต้านของวัคซีนซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า ที่นำมาปรับเป็นสูตรไขว้ โดยผลการติดตามในคนไข้ที่ฉีดสลับวัคซีน 70-80 คน พบว่าค่าไตเตอร์หรือภูมิคุ้มกันสูงเท่ากับฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม และขณะเดียวกันแอนติบอดี้ก็เพิ่มขึ้นหลังฉีดห่างกันเพียง 3 สัปดาห์ ต่างจากแอสตร้าฯที่ต้องฉีดห่างจากเข็มแรกกัน 8-10 สัปดาห์ แต่ย้ำว่าการฉีดสลับต้องเริ่มต้นด้วยเชื้อตายถึงจะดี หากฉีดด้วยแอสตร้าฯเข็มแรกตามด้วยซิโนแวคค่าไตเตอร์จะขึ้นต่ำมาก 

ส่วนการกระตุ้นเข็ม3 ในบุคลากรทางการแพทย์ ศ. นพ.ยง กล่าวว่า จากข้อมูลผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม บูสด้วยแอสตร้าฯ 1 เข็ม จำนวน 500 คน ในจำนวนนี้ 190 คนพบว่า แอนติบอดี้ขึ้นสูงมากกว่า 100 เท่า เมื่อเทียบกับซิโนแวค 2 เข็ม และค่าการตรวจภูมิคุ้มกัน หรือ The surrogate Virus Neutralization Test(sVNT) พบว่า sVNT ต่อสายพันธุ์ปกติ (Wild type) หรือต่อสายพันธุ์อัลฟ่า ก็จะมีภูมิขึ้น 100% ส่วน sVNT ต่อสายพันธุ์เดลตานั้นแอนติบอดี้ดีมากเกือบ 100%  แต่ภูมิจะลดลงมาในสายพันธุ์เบตา 


" ทั้งนี้ตามกาลเวลา แอนติบอดี้ย่อมลดลง ซึ่งสิ่งที่จะต้องหาคำตอบให้ได้ คือ คนที่ติดเชื้อธรรมชาติ ไม่เคยฉีดวัคซีน จะพบแอนติบอดี้ไม่สูง แต่หากคนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วติดเชื้อ แอนติบอดี้จะต่างกัน 100 เท่า ซึ่งยังไม่ทราบคำตอบว่าเพราะเหตุใด ดังนั้นผู้ติดเชื้อ แต่ไม่เคยฉีดวัคซีนเลย ควรได้รับวัคซีนหรือไม่นั้น จากการศึกษากลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อแล้ว 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อ 1 ปี และกลุ่มที่ติดเชื้อไม่ถึง 6 เดือน พบว่าเมื่อฉีดแอสตร้าฯที่เป็นไวรัสเวกเตอร์สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าซิโนแวคที่เป็นเชื้อตาย” ศ.นพ.ยง ระบุ

ศ. นพ.ยง กล่าวเพิ่มอีกว่า จากการศึกษาภูมิต้านทานการให้วัคซีนแต่ละชนิดในประเทศไทย พบว่า แอนติบอดี้ในไฟเซอร์และโมเดอร์นาชนิด mRNA สูงกว่าซิโนแวคเชื้อตายถึง 17 เท่า และแอสตร้าฯ ชนิดไวรัสเวกเตอร์สูงกว่าซิโนแวค 9 เท่า แต่ขณะเดียวกัน แอนติบอดี้ที่พบในซิโนฟาร์ม และจอห์นสันแอนด์จอห์นสันไม่สูงเท่า mRNA ดังนั้น  การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่รวมถึงประชากรเด็ก โดยเด็กตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป  จะต้องได้รับวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง แม้ว่าเด็กจะเป็นโควิด19 อาการจะไม่รุนแรง แต่ต้องไม่ให้เป็นพาหะในการแพร่เชื้อ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"