ไทยเจ้าภาพจัดประชุมต้านบุหรี่เอเชีย -แปซิฟิก '13 th APACT 2021 Bangkok' 


เพิ่มเพื่อน    

28ส.ค.64 - ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์    ผู้อำนวยการ ศจย. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานจัดงานประชุม 13 th APACT2021 Bangkok กล่าวถึงที่มาและความน่าสนใจของงานประชุมด้านยาสูบระดับนานาชาติในครั้งนี้ว่างานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (13 th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13 th APACT 2021 Bangkok)   ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดงานเป็นครั้งที่ 3 ตลอดระยะเวลาการจัดประชุมของ  APACT ที่ยาวนานกว่า 26 ปี  ในปีนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่าง ศจย. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีก 12 องค์กรพันธมิตรตกลงจัดงานประชุม ในลักษณะลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมแบบ Live Streamระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19  หวังสร้างสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาสูบที่ร้ายแรงกว่าโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 เพราะจำนวนผู้ที่เสียชีวิต ทั่วโลกจากยาสูบต่อปีมากกว่าโควิด 19 ถึง 3-4เท่า และบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ในประเทศไทยเองบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ


ศ.นพ.รณชัย กล่าวต่ออีกว่า ภายในงาน 13 th APACT 2021 Bangkok ยังมีงานประชุมวิชาการที่น่าสนใจอีก 2 งาน คือ การประชุมวิชาการ 100 ปี แพทยสมาคม หรือ Medical Association of Thailand 1921 – 2021 โดยแพทยสมาคม-แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 19 หรือ TRCINTERNATIONAL CONFERENCE 2021 “Empowering  Policy   Implementation on Tobacco Control” โดย ศจย. จะเสริมพลังวิชาการ ด้านงานควบคุมยาสูบที่จะแปรเป็นโยบายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย –แปซิฟิก ให้เข้มแข็งทั้งในปัจจุบันและอนาคต ประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถรับทราบข่าวสารงานประชุมได้ที่เว็บไซต์www.apact2021.com

 


โดยขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติในฐานะภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบจาก ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ราว2,700 คน จาก 40 ประเทศตอบรับเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนให้สังคมปลอดบุหรี่โดยเป็นคนไทยประมาณ 2,200 คน ต่างชาติ 500 กว่าคน มากที่สุดตั้งแต่จัดAPACT มา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักวิชาการด้านยาสูบโดยเฉพาะกว่า 120 คน   นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและผลงานวิชาการเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ และสุขภาพด้านต่างๆ อีก 300 กว่าชิ้น จาก 36 ประเทศที่จะมาอัพเดตให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้ากับโควิด 19ที่ มีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกัน นโยบายเพื่อหยุดการใช้ยาสูบผลกระทบการเก็บ ภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคติน อนาคตการควบคุมยาสูบรวมถึงกรณีเยาวชนในเอเชีย – แปซิฟิกจับมือออกปฏิญญา รณรงค์ต้านยาสูบซึ่งนับเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนวัยใสหันมาสนใจเรื่องยาสูบและสุขภาพมากขึ้น


ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021 กล่าวว่า ในงานประชุม 13 th APACT 2021 Bangkok ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนที่กำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า โดยจะมีการประชุมกลุ่ม Youth ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ประกอบด้วยเยาวชนไทย 100 คน เยาวชนจากเอเชีย-แปซิฟิก 73 คน ซึ่งเยาวชนแต่ละคน มีแผนงานรณรงค์ต้านยาสูบของตนเอง   วงประชุมที่จัดแยกออกมานี้ ก็เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหาข้อสรุป  ในการออกปฏิญญาต้านยาสูบ  สำหรับเยาวชนเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ  อย่างไรก็ดี จะมีการติดตามปฏิญญาหลังประชุมเสร็จด้วยว่ามีความคืบหน้าหรือผลสำเร็จอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยปฏิญญา Youth จะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของปฏิญญา APACT 2021 ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับภาคส่วนอื่นๆจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับ นานาชาติได้อย่างแท้จริง

 


“การออกปฏิญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบข้อควรปฏิบัติ และความร่วมมือระดับนานาชาติ ในงาน APACT 2021จะมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฉบับ คือ ปฎิญญาเยาวชนปฏิญญาเครือข่ายทำงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.และปฏิญญาของกลุ่มผู้ทำงานด้านยาสูบระดับชาติกว่า 900 องค์กรที่ทำงานร่วมกันโดยทั้ง 3 ปฏิญญาจะกลายเป็นปฏิญญา ใหญ่ของ APACT 2021”

 

ด้าน นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในกล่าวว่า ที่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ หน่วยงานแพทย์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในเจ้าภาพจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน เนื่องจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินงานด้านยาสูบมาตลอด โดยเป็นผู้แต่งตั้งเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จนได้รับรางวัลจาก สมาพันธ์เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพแห่งโลก (WHPA) เมื่อปี 2558 และยังเป็นผู้ผลักดันกฎหมายต้านบุหรี่ฉบับแรก .. 2517 จนถึงกฎหมายต้านบุหรี่ ฉบับปัจจุบัน นับรวมเป็นระยะเวลา 40-50 ปี ที่สำคัญคือในปีนี้เป็นการครบรอบ 100 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จึงมีแนวคิด จัดงานประชุมวิชาการร่วมกับ APACT

 

 


“สิ่งที่เราคาดหวังจากการเข้าร่วม APACT 2021 ในครั้งนี้ คือ การสร้างเครือข่ายแพทยสมาคมที่มีอยู่ในประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น  และร่วมดำเนินงานขยายเครือข่ายสมาชิกให้เป็นกำลังช่วยขับเลื่อนการกระตุ้นให้ประชาชน ลด งด และเลิกสูบบุหรี่  โดยมีแพทยสมาคมของประเทศนั้นๆ เป็น โหมดนำและส่งไม้ต่องานต้านบุหรี่ให้กลุ่มเยาวชน ที่จะเป็นอนาคตของเรื่องนี้ต่อไป  รวมถึงการนำองค์ความรู้ถึงพิษภัยบุหรี่ที่ได้แลกเปลี่ยนกันภายในงานประชุมไปปฏิบัติในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ๆ จากงานวิจัยของหลายๆ ประเทศ ที่ว่าด้วยผลร้ายของนิโคตินในบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อปอด ซึ่งเกี่ยวพันกับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19ที่จะทำให้อาการป่วยทวีความรุนแรงมากขึ้นได้  โดยเฉพาะในบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถเพิ่มปริมาณและความเข้มข้นของนิโคตินได้ไม่จำกัด” 

 


ขณะที่ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ รองเลขาธิการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียนและอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี  กล่าวว่า  ความร่วมมือระดับอาเซียนในการรณรงค์ต้านยาสูบที่จะเกิดขึ้นในการประชุม 13 thAPACT 2021 Bangkok ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา คือการจับมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 30 สถาบัน ซึ่งเป็นเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network   จะยกประเด็นบุหรี่ให้เป็นเรื่องสำคัญในลักษณะ Zero Tolerance คือ ไม่ให้มีบุหรี่ทั้งการสูบ การขาย ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัย  ทั้งหมดในทุกระดับทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ พนักงาน มหาวิทยาลัย และนิสิตนักศึกษาซึ่งที่ผ่านมาสามารถขยายผลการดำเนินงานไปสู่นโยบายระดับชาติ เช่น  พื้นที่ปลอดบุหรี่ของคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาฯ  ได้ขยายผลไปสู่ทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย และไปสู่พื้นที่สาธารณทั่วประเทศ  นอกจากนี้ จะมีการจัดเรตติ้งของมหาวิทยาลัย หรือ Healthy University Rating System (HURS) ว่าเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ โดยมีบุหรี่เป็นปัจจัย ในการจัดอันดับด้วย  พร้อมกับทำข้อตกลงไม่รับทุนวิจัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจากบริษัทผู้ผลิตยาสูบหรือบริษัทที่แฝงมากับ บริษัทยาสูบในทุกกรณี

 

การประชุม APACT จัดครั้งแรกในปี 2532ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกในปี 2538 ซึ่งเป็นการจัดครั้งที่ 4 ที่ จ.เชียงใหม่และเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในการจัดครั้งที่ 13 หรือปี 2556 โดยจัดที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก APACTนับเป็นงานประชุมวิชาการด้านบุหรี่และสุขภาพระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"