ด้านหนึ่งพูดถึงโควิด ‘ขาลง’  อีกด้านเตือนระวัง ‘ระลอก 5’ 


เพิ่มเพื่อน    

รูปนี้ไม่เกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 เป็นหนังเก่าชื่อ “คลื่นลูกที่ห้า”
    แต่พอผมได้ยินคำเตือนจากคุณหมอบางท่านว่าให้ระวังโควิดอาจจะมี “เวฟที่ 5” ก็ทำให้ผมย้อนคิดถึงหนังเก่าเรื่องนี้
    ทำไมขณะที่รัฐบาลพูดถึงตัวเลขคนติดเชื้อโควิด-19 “ทรงตัว” และอยู่ในช่วง “ขาลง” จึงมีคำเตือนเรื่อง “การระบาดระลอกที่ 5”?
    เพราะดูจากพฤติกรรมของสายพันธุ์ Delta และตัวอย่างจากประเทศอื่นแล้ว การที่ตัวเลขภาพรวมลดลงไม่ได้หมายความว่าประเทศนั้นมี “ชัยชนะ” เหนือโควิดแล้ว
    ตรงกันข้ามคำว่า “ขาลง” อาจจะเป็นการตีความของฝ่ายเดียว ขณะที่ศัตรูตัวร้ายยังมีฤทธิ์เดชที่ซ่อนอยู่อีกหลายอย่าง ที่แม้แต่นักวิจัยและกูรูในวงการยังไม่สามารถจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ครบถ้วน
    วันก่อน ข้อความในเพจของ “โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์” ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า ให้ระวัง
    Wave 5 หรือคลื่นระลอก 5 ของการระบาด
    เป็นคำเตือนที่ควรจะได้รับความสนใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง
    ตอนหนึ่งของคำเตือนนั้นบอกว่า
    “อีกสองวัน (1 กันยายนที่ผ่านมา) เราจะเริ่มคลายล็อกตามมาตรการของรัฐบาล ด้วยเหตุผลในทางเศรษฐกิจและสังคมที่คงจะหลีกเลี่ยงลำบาก 
    หลังมาตรการนี้ออกคงจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้มีการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างผู้คนมากขึ้น ซึ่งก็แน่นอนว่าจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากผู้ป่วยที่มีอาการและไม่ทราบว่าตนเองป่วยมากขึ้นกว่าเดิม
    ประกอบกับการที่เรายังฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ยังไม่มากนัก จนถึงวันนี้ ตัวเลขผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มทั่วประเทศยังอยู่ที่ประมาณ  7.36 ล้านคนเท่านั้น 
    ดังนั้น สถานการณ์ของ “เวฟ 5” จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่จะมาหลังจากนี้ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยแน่ ๆ 
    คงต้องเตรียมตัวกันให้ดีทั้งระบบโรงพยาบาล ระบบบริหารบุคลากร  ยาและเวชภัณฑ์ 
    ตลอดจนการบริหารจัดการเรื่องระบบดูแลผู้ป่วย 
    ซึ่งทุกประเทศในโลกจะมีผู้ป่วยเวฟใหม่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว ไปจนถึง 4-5 เท่าของเวฟก่อนหน้านั้น
     เรื่องของเราคงอยู่ตรงที่ว่า “เวฟ 5” จะมาเมื่อไหร่?
     ซึ่งเราคาดเดาไม่ได้ชัดเจน อย่างเร็วคงเป็นตุลาคมและอย่างช้าก็คงเป็นปลายปี
    คงต้องเตรียมตัวกันให้ดีทั้งระบบ รวมทั้งพวกเราที่ธรรมศาสตร์ด้วย 
    เรารับรองว่า เราจะใช้เวลาที่มีอยู่นี้ ช่วยกันเตรียมคน เตรียมยา และเวชภัณฑ์ ตลอดจนเตรียมวอร์ดต่างๆ ให้พร้อมมากกว่าที่ทำมาก่อนหน้านี้ 
    เพราะพวกเราที่นี่ เชื่อจริงๆ ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับเวฟ 5  อย่างหนีไม่พ้นแน่นอน
    ถ้าเราคลายล็อกในช่วงนี้ และสถานการณ์การระบาดเริ่มลดลงแล้ว  การรายงานสถานการณ์รายวันของโควิดจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์และระบบบริการโควิดเสริมของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาลสนาม  ศูนย์รับวัคซีน และโครงการ Home Isolation ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องรายงานต่อเนื่องทุกๆ วันเช่นเดิมอีกแล้ว 
    เหมือนกับที่ ศบค.ก็มีการแถลงข่าวสรุปสถานการณ์เพียงสัปดาห์ละสองหนเท่านั้น" 
    คุณหมอผู้ใหญ่อีกท่านก็เตือนช่วงเวลาเดียวกันว่า เห็นตัวเลขล่าสุดแล้วก็ “เบาใจขึ้นหน่อย แต่อย่าประมาทนะครับ”
    พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เขียนไว้วันนั้น (อังคารที่ผ่านมา) ว่า
    ...สรุปแนวโน้มผู้ป่วยโควิด-19 กำลังรักษาตัวอยู่ตลอดเดือนสิงหาคม 2564
    ตอนนี้จำนวนผู้ป่วยรายวันลดลงอย่างต่อเนื่อง ผมไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญมากนัก 
    เพราะตัวเลขผู้ป่วยจะขึ้นกับว่ามีการตรวจมากน้อยแค่ไหน  
    แต่ตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญคือจำนวนผู้ป่วยที่รักษาอยู่มากกว่า  เพราะแสดงถึงผลกระทบของการระบาดต่อระบบการรักษาพยาบาล
    มีรายงานรายละเอียดของการรักษาตัวใน Home isolation (HI)  และ Community Isolation (CI) แยกออกจาก รพ.สนาม ตั้งแต่วันที่ 4  ส.ค.64 ผมเอาข้อมูลมาทำเป็นรูปตามนี้ครับ
    แนวโน้มผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ค่อยๆ ลดลง จากสูงสุด 213,910 ตอนต้นเดือน ลดลงเหลือ 171,368 ราย
    ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ. (สีส้ม) ลดลงอย่างมาก จาก 87,150 เหลือเพียง 14,308 ราย
    ผู้ป่วยรักษาตัวใน HI หรือ CI (สีเขียว) เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก  46,330 เป็น 76,605 ราย
    ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.สนามหรือ Hospitel (สีเหลือง) เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 71,879 เป็น 76,755 ราย
    แนวโน้มผู้ป่วยอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิต
    ผู้ป่วยอาการหนัก (สีแดง) ยังมีจำนวนใกล้เคียงกับต้นเดือน  4,993-5,003 ราย แต่ก็ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยสูงสุดตอนกลางเดือน  5,626 ราย
    ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ (สีแดงเข้ม) ยังมีจำนวนใกล้เคียงกับต้นเดือน 1,058-1,042 ราย แต่ก็ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยสูงสุดตอนกลางเดือน 1,172 ราย
    ผู้ป่วยเสียชีวิต (สีดำ) ยังมีจำนวนใกล้เคียงกับต้นเดือน 160-190 ราย แต่ก็ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยสูงสุดตอนกลางเดือน 312 ราย
    ดูแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยรักษาพยาบาลอยู่ดีขึ้น แต่ผู้ป่วยอาการหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจยังไม่ลดลงมาก 
    จึงอย่าเพิ่งชะล่าใจกัน ผู้ป่วยถึงแม้เข้า รพ.ได้สะดวกขึ้น แต่ก็ยังลำบากในการเข้ารักษาใน ICU โดยเฉพาะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
    1 กันยายนมีการปรับมาตรการต่างๆ ก็คงยังต้องป้องกันตนเองแบบ universal prevention กันต่อด้วยนะครับ แล้วก็อย่าลังเลในการฉีดวัคซีนเมื่อมีโอกาส ฉีดดีกว่าไม่ฉีดแน่นอนครับ 
    เป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยทุกคนครับ
    อ่านคำเตือนของคุณหมอหลายท่านที่วิเคราะห์จากตัวเลขจริง ๆ ประจำวันแล้วก็สรุปได้ว่า
    สงครามนี้ยังอีกยาวไกลนัก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"