ธปท.ชี้แซนด์บ็อกซ์ช่วยไม่ไหว ธุรกิจโรงแรมระทมหนักขาดสภาพคล่อง!


เพิ่มเพื่อน    


7 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม ประจำเดือน ส.ค. 2564 จากการสำรวจผู้ประกอบการที่พักแรม 234 แห่ง โดยเป็น ASQ 14 แห่ง และ Hospitel 5 แห่ง ระหว่างวันที่ 13-28 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการที่พักแรมยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการเข้าพักที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ ผลสำรวจจากโรงแรมจำนวน 215 แห่ง (ไม่รวมโรงแรมที่เป็น ASQ และ Hospitel) พบว่า มีผู้ประกอบการประมาณ 48% ยังคงเปิดกิจการปกติ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากโรงแรมในภูเก็ตที่เปิดรับนักท่องเที่ยว และโรงแรมในกรุงเทพฯ ที่เปิดรับลูกค้าพักระยะยาวเป็นสำคัญ ส่วนผู้ประกอบการอีก 17% ปิดกิจการ โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้งในช่วงไตรมาส 4/2564

นอกจากนี้ พบว่า กว่า 58% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่ทั้งหมด รายได้ยังกลับมาไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีสภาพคล่องปรับลดลงมาก โดยผู้ประกอบการ 70% มีสภาพคล่องลดลงมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และผู้ประกอบการราว 65% มีสภาพคล่องเพียงพอดำเนินธุรกิจได้ไม่ถึง 3 เดือน โดยครึ่งหนึ่งมีสภาพคล่องเพียพอไม่ถึง 1 เดือน กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค

ขณะที่อัตราการเข้าพักในเดือน ส.ค. 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.6% ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยหากไม่รวมกลุ่มที่รับลูกค้าตามโครงการแซนด์บ็อกซ์ และลูกค้าที่เข้าพักระยะยาวเป็นหลัก (ต่างชาติที่มาทำงานในไทย workation/ staycation) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7.5% ส่วนคาดการณ์อัตราการเข้าพักในเดือน ก.ย. 2564 มีแนวโน้มลดลง เฉลี่ยอยู่ที่ 9%

สำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มปรับแย่ลง โดยพบว่าผู้ประกอบการกว่า 72% เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่อีก 45% คาดว่าแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวจะล่าช้าออกไป และพบว่า กว่า 38% ของโรงแรมในภูเก็ตมองว่าอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่เปิดรับนักท่องเที่ยวตามโครงการแซนด์บ็อกซ์แย่กว่าที่คาด ส่วนอีก 35% มองว่ายังเป็นไปตามคาด โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทรงตัวที่ 15% ขณะที่ผู้ประกอบการกว่า 52% ของโรงแรมในสุราษฎร์ธานีมองอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่เปิดรับนักท่องเที่ยวตามโครงการแซนด์บ็อกซ์ว่าแย่กว่าที่คาด โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำมากที่ 4%

อย่างไรก็ดี จากปัจจัยกดดันดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการวางแนวทางในการปรับตัวหากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ โดยผู้ประกอบการกว่า 62% เลือกลดค่าใช้จ่ายแรงงาน ส่วนผู้ประกอบการ 61% เลือกลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และผู้ประกอบการกว่า 52% พิจารณาปิดกิจการชั่วคราวเพื่อลดต้นทุน ขณะที่ผู้ประกอบการอีก 39% เลือกหารายได้เพิ่ม ผู้ประกอบการอีก 30% เลือกชะลอการลงทุน และผู้ประกอบการอีกราว 9% พิจารณาปิดกิจการถาวร ส่วนอีก 9% ปรับไปทำธุรกิจอื่น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"