'ศิลปะดูแลใจ' วิตามินเพิ่มพลังชีวิต ฝ่ามรสุมโควิด


เพิ่มเพื่อน    

   

กล่องชุดศิลปะดูแลใจ                  

การระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เนิ่นนานเกือบครึ่งปี ไม่ได้ทำให้คนเจ็บป่วย หรือเกิดการสูญเสียคนที่เรักและห่วงใย เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้คนต่างๆ  ให้มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิตหลายด้านด้วยกัน  จนบางคนแทบหมดแรงกายและแรงใจที่จะสู้ชีวิตต่อไป


 
ด้วยเหตุนี้ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต ได้ร่วมกับกลุ่ม  Art for cancer  หรือกลุ่มศิลปะบำบัดเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง จัดกิจกรรมส่งมอบกำลังใจใน "โครงการ Mental Well being Work Shop  เปิดกล่องเพิ่มพลังแห่งความชอบ " ซึ่งเป็นกิจกรรมศิลปะบำบัด หรือ" Art therapy Workshop  " ซึ่งทำให้ผู้ร่วมกิจกรรม มีโอกาสปลดปล่อยจินตนาการและได้สำรวจความรู้สึกตนเอง นับเป็นการเยียวยาจิตใจ  ส่งต่อพลังให้ตัวเองและส่งต่อพลังนี้ให้กับคนที่รัก คนที่เราห่วงใย  ที่อยู่รอบตัวเรา

 

แผนที่นำทางก่อนไปสู่กิจกรรมศิลปะบำบัด


  กิจกรรมครั้งนี้มี  “วิว - เพียงขวัญ เมฆาสวัสดิ์” นักศิลปะบำบัดอาชีพ ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมศิลปะบำบัดจากประเทศแคนาดา  และดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมศิลปะบำบัดในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์หลากหลายในการทำกิจกรรมศิลปะบำบัด มาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด


วิว - เพียงขวัญ เมฆาสวัสดิ์ นักศิลปะบำบัดอาชีพ


วิว เกริ่นนำก่อนเข้าสู่กิจกรรมนี้ว่า กล่องชุดศิลปะบำบัดดูแลใจ นี้จะเหมือนเพื่อนที่คอยรับฟังถ้อยคำที่เราสื่อสารในใจ  เพราะด้วยจำกัดในบางสถานการณ์ ทำให้บางทีเรายากที่จะอธิบายเป็นลคำพูดออกมา มันมีป๊อปอัพ ความรู้สึก อารมณ์ที่หลากหลาย มากเลย ซึ่งหลายๆครั้งมันก็จะยากในการสื่อสารออกมา กิจกรรมนี้จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเป็นพื้นที่มอลความสุชและพลังบวกให้กับทุกคน   งานศิลปะที่ทำไม่มีการตัดสินว่าถูก ผิด  เพราะเป็นงานศิลปะที่ออกมาจากใจของเรา
เครื่องมือสำคัญของการใช้ศิลปะบำบัดครั้งนี้ก็คือ  "กล่องชุดศิลปะดูแลใจ" ซึ่งประกอบด้วย หนังสือกิจกรรม,การ์ดไพ่ 24 ใบ  กล่องสี แผ่นโฟม  และแท่งไม้  


        ตัวกิจกรรมจะขับเคลื่อนตามหนังสือ"ศิลปะดูแลใจ "เริ่มจาก ระบายส่องใจ คือ  ก้าวแรกการให้ผู้ร่วมกิจกรรมระบายสีในกระดาษที่เตรียมไว้ให้หมดแล้วจะพบข้อความด้านหลังที่ปรากฎ ต่อมาเป็นก้าวที่สอง เป็นการระบายสีกระดาษหน้าใหม่ ซึ่งจะพบข้อความ ซึ่งข้อความทั้งสองครั้งที่พบ จะชักชวนให้เรา หันทบทวนความรู้สึกว่า ข้อความที่พบครั้งที่สองมีความแตกต่างจากข้อความแรก ที่เห็นหรือไม่ อย่างไร และคำที่ปรากฎนี้  เชื่อมโยงเรื่องราวของเราอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นเป็นการบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้น  และเป็นก้าวที่สาม เป็นการระบายสีใหม่แล้วเขียนคำที่เป็นความในใจออกมา

โปสการ์ดภาพ 24 ใบ ที่จะมาเป็นตัวช่วยเปิดเผยความรู้สึก


อันดับต่อไป เป็นการเลือกภาพโปสการ์ด  ที่มี2 ชุดๆละ 4ใบ ชุดแรกเป็นภาพเกี่ยวกับการเดินทาง ท่องเที่ยว และชุดที่สอง เป็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน โดยให้เลือกภาพชุดละ 1ใบ แล้วเขียนบอกเล่าความรู้สึก ของการเลือกภาพเหล่านั้น ที่เป็นเสมือนตัวแทนความรู้สึกที่ให้กับตนเองและคนที่เรารัก
กิจกรรมถัดมา เป็นช่วงของ"เปิดประตูสู่ความรู้สึก" โดยใช้กิจกรรมตามสี ใช้การ์ดไพ่ 24ใบ ให้ผู้ร่วมกิจกรรมเลือก การ์ดที่เราชอบ  และอีกใบคือ เลือกการ์ดให้คนที่เรารัก  ซึ่งคนที่เรารัก ไม่ใช่แค่สามี ภรรยา หรือคนรักเท่านั้น แต่ยังหมายถึงครอบครัว เพื่อนฝูง คนใกล้ตัวอีกด้วย หลังจากนั้นบอกเล่าความรู้สึกการเลือกการ์ดนี้

การ์ดใส 8 ใบ ในช่วงกิจกรรม ซ้อนซ่อนศิลป์


"  ซ้อนซ่อนศิลป์" เป็นอีกกิจกรรม ที่จะมาเป็นประตูเผยความรู้สึกตัวเราเอง หลังจากที่เราดูแลและให้พลังกับคนรอบข้างแล้ว เราอาจต้องนำพลังเหล่านี้มาดุแลตัวเราเอง  เป็นการนำการ์ดใส 8 ใบ ที่อยู่ในชุดกล่อง นำมาวางซ้อนกัน ให้เกิดงานศิลปะใหม่ ทีใจเราอยากนึกให้เป็น ทั้งสี และรูปทรงของการ์ด ที่ซ้อนทับกันจะเกิดเป็นภาพใหม่ และเมื่อมองผ่านแสงไฟ หรือแสงธรรมชาติ ก็จะเกิดภาพที่เป็นมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม



"บางทีเราเจออะไรหนักๆ ไร้เรี่ยวแรง ถ้าเราสามารถสร้างภาพศิลปะ ผ่านการ์ดใสนี้ได้  เราก็อาจจะรู้สึกสนุก และจุดประกายแวบขึ้นมา ออกจากความเนือย เหนื่อยนี้ได้ เช่นเดียวกับชีวิตของเรา การได้ทำอะไรง่ายๆ ไมยุ่งยาก อาจทำให้เรารู้สึกสนุกและสามารถพาตัวเอง จากความซ้ำซากจำเจได้อย่างไม่น่าเชื่อ เป็นการเติมพลังหันกลับมาดูแลตัวเราเอง" วิว กล่าว

แผ่นโฟม กล่องสี  แท่งไม้  อุปกรณ์ทำงานศิลปะ 


ต่อมา เป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกที่ค่อยๆ บังเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม โดยการโยงภาพแต่ละภาพเข้าด้วยกัน ภาพที่เชือมโยงนี้เปรียบเสมือนตัวแทนความรู้สึก   เป็นกิจกรรม ในขั้นของ"ร่องรอยและเรื่องราว" ซึ่งเป็นการบอกเล่าความรูัสึกผ่านกิจกรรมศิลปะอีกเช่นเคย  โดยใช้อุปกรณ์ แท่งไม้ และแผ่นโฟม กระดาษ  วิธีการนำกระดาษมาวางรองด้วยแผ่นโฟม หลังจากนั้นใช้ไม้เจาะกระดาษให้เป็นรู  รู้ที่เจาะไม่จำเป็นต้องสร้างลวดลายใดๆ  เจาะไปตามความรู้สึกที่พาไป  หลังจากนั้น การฉีกกระดาษสีในเล่มให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และนำกระดาษเหล่านี้ มาสร้างเป็นงานศิลปะภาพ เป็นเรื่องราวขึ้นมา

 

รูปภาพที่เป็นเสมือน การเตือนให้เราหันมาเพิ่มพลังให้ตัวเอง 


"การฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นๆ เป็นกระบวนการออกแรง เพื่อทำลายบางอย่างให้แยกออกจากกัน  เป็นการทำให้เรารู้สึกปลดปล่อย โล่งใจ  ส่วนการนำกระดาษที่ฉีกมาสร้างงานศิลปะใหม่ ไม่ใช่การซ่อมแซม ให้เหมือนเดิม เพราะนั่นคงไม่มีทางทำได้ แต่เป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่สวยงาม จากสิ่งที่ถูกทำลายไปแล้ว  เรื่องราวบางอย่างที่ถูกเก็บไว้เนิ่นนาน คงจะดี หากให้โอกาสตัวเองปลดปล่อยบ้าง เลือกบางสิ่งที่จะเก็บกลับมา แล้วสร้างสิ่งใหม่ที่แตกสลาย เหมือนหายใจ "เข้า" ก็ต้องมี"ออก "ให้พอดีกัน ชีวิตจึงจะไปต่อได้ อย่างสมดุล" วิว นักศิลปะกล่าวสรุป

 

พลอยไพลิน ตันเจริญ  ผู้ก่อตั้งกลุ่มศิลปะบำบัดเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"