'สยามสแควร์'สมรภูมิใหม่ของซีพีเอ็น


เพิ่มเพื่อน    

หลายคนคงได้ติดตามข่าวที่สํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ Block A เขตพาณิชย์สยามสแควร์ ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางสํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศคัดเลือกให้ “บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)” หรือ CPN เป็นผู้เช่าลงทุนพัฒนาพื้นที่บริเวณ Block A เขตพาณิชย์สยามสแควร์ เป็นระยะเวลา 30 ปี ถือเป็นการเริ่มต้นตำนานบทใหม่ของสยามสแควร์  และอีกสมรภูมิใหม่ของทาง เซ็นทรัลเลย เพราะ สยามสแควร์ เป็นแหล่งช้อปปิ้ง แหล่งไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นไทยมาหลายสิบปีแล้ว แต่เจ้าถิ่นแถวนั้นนอกจากกลุ่ม Local Business ร้านเล็กร้านน้อยต่างๆแล้ว ก็ยังมีกลุ่ม เดอะมอลล์กรุ๊ปที่เป็นเจ้าถิ่นมาหลายปี  ด้วย Siam Paragon ที่ต่างชาติรู้จักเป็นอย่างดี และยังมี Siam Discovery อีก

ซึ่งแน่นอนว่าการมาของ CPN น่าจะทำให้เสน่ห์ของ สยามสแควร์ กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เพราะที่ดิน Block A ที่พูดถึง คือพื้นที่สยามสแควร์ ตั้งแต่บริเวณสกายวอล์คโค้งทางลงสถานีบีทีเอสสถานีสยามสแควร์ บรรจบฝั่งตรงข้าม ห้างเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ และอยู่ใกล้กับโครงการสยามสเคปจุฬาฯ หรือตั้งอยู่ทำเลแยกปทุมวันตัดถนนพญาไท-พระราม1 ตรงข้ามสยามดิสคัฟเวอรี่ โดยไฮไลท์สำคัญที่สุดคืออาคารโรงภาพยนตร์ “สกาลา” แบบ 1,000 ที่นั่ง ที่เปิดให้บริการเคียงคู่สยามสแควร์มาตั้งแต่ปี 2512 หรือครึ่งศตวรรษมาแล้ว และสกาล่านับเป็นโรงภาพยนตร์ที่ล้ำมากในขณะนั้น เพราะก่อสร้างตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกที่สวยงามโดดเด่น ผสมผสานระหว่างรูปแบบตะวันตกและตะวันออก ภาพจำที่ทุกคนน่าจะจำได้ดีคือโคมไฟระย้า 5 ชั้นขนาดยักษ์ที่สั่งตรงจากอิตาลีและเครื่องประดับอาคารที่ทางโรงภาพยนตร์สั่งทำขึ้นมาพิเศษ

สำหรับ“สกาล่า” จึงเป็น “โรงหนังที่ใครๆก็มากัน เป็นโรงหนังประวัติศาตร์ และโรงหนังแห่งความทรงจำ” ที่เชื่อว่า  น่าจะเป็นไฮไลท์สำคัญที่สุดในการพัฒนาพื้นที่ บล็อค A ที่มีเนื้อที่ทั้งหมด 7 ไร่ 31 ตารางวา นอกจากสกาล่าแล้วยังมีอาคารพาณิชย์สูง 3 ชั้นจำนวน 79 คูหา ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจเป็นร้านคลินิก ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ธนาคาร และโรงเรียนกวดวิชาเก่าอยู่

ต้องบอกว่าชื่อชั้นของ CPN ที่เป็นผู้นำด้านค้าปลีกมากว่า 40 ปี  จึงน่าจับตามองว่า CPN จะออกแบบพื้นที่นี้ให้น่าสนใจ และดึงดูดร้านค้าต่างๆให้มาลงทุนเช่าในราคาที่น่าแพงเอาเรื่องอยู่ได้อย่างไร  ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามก็มีห้างใหญ่ระดับโลกคอยดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่มาช้อปปิ้งเช่นกัน  ดังนั้นแนวทางการออกแบบของ CPN จึงเน้นให้พื้นที่นี้เป็น Shopping Street เท่ๆ เก๋ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มวัยรุ่น  นักศึกษา และคนทำงานมากกว่าจะไปหรูหราแบบ Siam Paragon  แน่นอนว่าเดิมพันครั้งนี้ของ CPN สูงมากๆ ด้วยค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉียดๆ 6,000 ล้านบาท แลกกับระยะเวลาในการเช่าพัฒนาพื้นที่ 30 ปี  การพัฒนาจึงจะไม่ใช่การทุบอาคารเก่าทิ้งแล้วสร้างใหม่ แต่น่าจะเป็นการปรับปรุง รีโนเวต และสร้างใหม่บางส่วนให้เป็นแนว คอมมูนิตี้มอลล์ เพื่อเติมเต็มโซนนี้ให้เป็น Shopping Street แบบเต็มรูปแบบมากกว่าโดยเฉพาะอาคารตำนานอย่าง “สกาล่า” น่าจะถูกคงไว้ และปรับปรุงบางส่วนเพื่อเป็น Landmark สำคัญของจุดนี้ เพื่อเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2566

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าการมาของ CPN น่าจะ WIN-WIN กันทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกอบการเจ้าถิ่นเดิม หรือแม้แต่ CPN เอง ต่างก็จะได้ความสดใหม่ ความหลากหลาย และจุดขายใหม่ๆ มาเติมเสน่ห์ให้กับสยามสแควร์  แหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมของคนทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่รุ่นพ่อ ถึงรุ่นหลาน ให้กลับมาเป็น Talk of the Town อีกครั้งบนความท้าทายของโลกใหม่แบบ New Normal ที่คนทั่วไป มีแนวโน้มจะชอบ Shopping Online มากขึ้น  ซื้อของนอกบ้านน้อยลง โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนหลังที่โลกรู้จัก COVID-19 แต่ความเป็นคนเมืองที่ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์บนความสนุกสนานและการแสดงออกถึงไลฟ์สไตล์ยังน่าจะผลักดันให้การเดิมพันครั้งใหม่ของ CPN น่าสนใจได้

จับชีพจรอสังหา 

โดย โอภาส ถิรปัญญาเลิศ

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"