'กรณ์' ก็มา ! ชี้ 'ลิซาฟีเวอร์' เป็น'ซอฟต์พาวเวอร์ ' โอกาสเศรษฐกิจตัวใหม่


เพิ่มเพื่อน    


12ก.ย.64-จากปรากฎการณ์ “ลิซ่าฟีเวอร์” ภายหลังจากนักร้องเกาหลีสายเลือดไทย “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” แห่งวงแบล็กพิงก์ (BlackPink) ที่ปล่อย MV เพลง LALISA ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลแรกของเธอ มียอดคนเข้าไปชมถล่มทลายเป็นสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์ของยูทูบที่มียอดผู้ชม 10 ล้านวิวในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงครึ่งเท่านั้น

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า กระแส LALISA พาซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) ของไทยไปอวดคนกว่า 70 ล้านวิวทั่วโลกภายใน 24 ชั่วโมง กระแสพลังบวกแห่งวัฒนธรรมไทย (Thainess) ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ การที่กระแส LALISA ในบ้านเราเปรี้ยงปร้างขนาดนี้ ไม่ใช่แค่เพราะสาวก BLINK หรือแฟนคลับลิซ่า แต่เพราะเนื้อหาใน MV ที่มีความเป็นไทยสอดแทรกไว้อย่างน่าดู และน่าชม จากเป้าหมายของอัลบั้ม LALISA คือบุกตลาดอเมริกา หลังจากวงแบล็กพิงก์ตีตลาดจีน และอาเซียนไปได้แล้ว ซึ่งเมื่อโปรดิวเซอร์และทีมกลยุทธ์ตอบสนองความต้องการของลิซ่า โดยเอาความเป็นไทยใส่เข้าไปใน MV ขนาดนี้ ถือเป็นสัญญานที่ดีว่า “'เสน่ห์ไทย' ในมุมพลังสร้างสรรค์ยังขายได้ในสายตาชาวโลก

“ซอฟท์พาวเวอร์ คือยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการพลิกฟื้นประเทศเกาหลี และเป็นโอกาสของประเทศไทยเช่นกันที่จะใช้ทุนทางวัฒนธรรม ที่เรามีเยอะกว่าประเทศอื่นมากๆ มาพลิกโฉมประเทศไทย ใช้พลังสร้างสรรค์ของคนไทยให้เป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะช่วยให้เรารอดและโตอย่างยั่งยืน” หัวหน้าพรรคกล้า กล่าว

นายกรณ์ กล่าวด้วยว่า หนึ่งอุปสรรคในการผลักดันเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องของมายด์เซ็ทของระบบราชการ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่พอจะชูความเป็นไทยแบบสร้างสรรค์ ต้องไปดันกันนอกประเทศผ่านเพลงเกาหลี (เพราะถ้าอยากทำแบบเดียวกันในประเทศไทย มีปราสาท ชฎา สไบ คงได้เถียงกันหนักกว่านี้) กว่าจะสร้างรายได้ขายเสน่ห์ความเป็นไทย ผู้ใหญ่ต้องเปิดใจ ต้องส่งเสริมให้ผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้อย่างเสรี มากกว่ามาจี้ถาม ตรวจสอบควบคุม และที่สำคัญ ต้องเข้าใจผู้บริโภคว่าต้องการอะไร บางอย่างต้องปรุงใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย ดีไซเนอร์ไทยทั้งคุณหมู อาซาว่า ที่ออกแบบชุดไทยประยุกต์ แบรนด์ Hook's by Prapakas สำหรับรัดเกล้ายอด และเครื่องประดับดอกไม้จากแบรนด์ SARRAN ใน MV นี้เป็นตัวอย่างของการเอาความเป็นไทยไปถ่ายทอดในงานสมัยใหม่ได้สวยงามและลงตัว

“ผมเชื่อว่า คนไทยมีความสร้างสรรค์ในสายเลือด แต่ยังขาดกลไกที่จะดึงออกมาสร้างผลทางเศรฐกิจ ถ้าอยากผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Thai Soft Power เป็น Creative Economy ได้อย่างเต็มรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ด้านบันเทิง ดีไซน์ กีฬา e-Sport อาหาร Wellness Events & Tourism หรืออีกหลายเรื่อง ต้องมาจากนโยบายที่เข้าใจความต้องการและคุยกับตลาดโลกให้เป็น แล้วส่งเสริมทั้งเรื่องทุน กับทักษะความรู้ของคนอย่างต่อเนื่อง อยากเก่งเรื่องไหน ดูเลยที่ประเทศไหนเก่งแล้วส่งคนไปเรียน ไปทำงาน ไปฝังตัว ลองผิดลองถูกจนกว่าจะมีฝีมือ เจอช่องทางทำมาหากิน สนับสนุนคนเก่งให้ไปรับวิธีการและวัฒนธรรมการทำงานดีๆ กลับมา ระบบก็จะดีขึ้น คุณภาพงานก็จะดีขึ้น” หัวหน้าพรรคกล้า กล่าว

นายกรณ์ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์นี้เป็นเกมยาว เราต้องเอา 1.ทุนเดิมที่เรามีมาบวกกับ 2.การบริหารจัดการที่ดี อาจใช้เวลา 5-10 ปีถึงจะเห็นผล แต่ต้องทำ เพราะนี่คือ "โอกาสของประเทศไทย” กับขีดความสามารถใหม่ให้ไทยมีที่ยืนในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ในระยะสั้นปรากฎการณ์ LALISA จะช่วยกระตุ้นยอดขายกำลังซื้อ เสื้อผ้า งานศิลปะ สินค้าวัฒนธรรมไทยได้อีกมหาศาล ผู้ประกอบการทั้งหลายอย่าปล่อยโอกาสนี้ไปครับ ยุคแห่งอีคอมเมิร์ซ โปรโมทวัฒนธรรมไทยและขายของไทย ดึงสปอตไลท์กลับมาที่ประเทศไทยของเรา

สำหรับซอฟท์ พาวเวอร์ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของพรรคกล้า เนื่องจากมองว่าเป็นโอกาสของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกใน ทั้งศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม อาหารไทยที่แสนอร่อย มวยไทยเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ ธรรมชาติที่สวยงาม และที่สำคัญประเทศไทยมีคนเก่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นครีเอทีพมากมายพร้อมที่จะเป็นกำลังหลักในทุกด้านของภาคส่วนอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหนัง ละคร เพลง ภาพยนตร์ สื่อโฆษณา แอนิเมชั่น เกม หรือแม้กระทั่ง แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ที่เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย เป้าหมายของพรรคกล้า คือการนำทรัพยากรซึ่งมี DNA ของความเป็นไทย ที่มีคุณค่า ไปสู่การนำประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อสร้างมูลค่า Economic Value ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมและการเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์ไปทั่วโลก
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"