บอดร์ดอิสระรื้อใหญ่งบฯการศึกษาไม่จัดสรรเฉลี่ยตามรายหัวเน้นเกลี่ยตามความจำเป็น/ส่งเงินถึงมือรร.โดยตรง


เพิ่มเพื่อน    


                     

19มิ.ย.-บอร์ด อิสระฯ รื้อใหญ่การจัดสร  ไม่จัดสรรเฉลี่ยตามรายหัวเน้นเกลี่ยตามความจำเป็น/ส่งเงินถึงมือรร.โดยตรงงบประมาณการศึกษาประเทศ เล็งปรับเงินอุดหนุนรายหัวใหม่ หลังจากใช้มา 12ปี  ไม่ใช้วิธีให้แบบถัวเฉลี่ยเท่ากันหมด แต่จะดูตามความแตกต่าง และความจำเป็นแต่ละแห่ง เพื่อลดเหลื่อมล้ำ   รวมทั้ง ให้ส่งเงินถึงมือโรงเรียนโดยตรง  สพท.มีทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลเท่านั้น   มีการประเมินรายปีเพื่อคงวิทยฐานะครู  ย้ำหวังให้เงินส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียนมากกว่า กระจายไปอยู่ในส่วนอื่นๆของโครงสร้างการศึกษา


นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ใน หมวดที่ 6 แผนการศึกษาแห่งชาติและทรัพยากรเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ เนื่องจากประเทศไทยใช้เงินเพื่อการศึกษาจำนวนมาก แต่ผลการศึกษาที่ออกมายังมีคุณภาพต่ำ มีความเหลื่อมล้ำสูง  ดังนั้นคณะกรรมการอิสระฯ จึงเห็นว่าถ้ามีการปรับโครงสร้างการใช้ทรัพยากร โดยให้ตรงไปที่โรงเรียน  และโรงเรียนสามารถบริหารทรัพยากรได้เอง จะเพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงได้ ส่วน สพฐ.และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จะมีหน้าที่เพียงการสนับสนุนดูแล ไม่ใช่ปฏิบัติโดยตรง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ เงินที่ใช้ด้านบุคลากร ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่มีประสิทธิภาพ เช่น เงินวิทยฐานะ ที่ สพฐ.ใช้ปีละประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยใช้มากสำหรับผู้ที่มีวิทยฐานะชำนาญการ 77,135 คนและชำนาญการพิเศษ 197,880 คน  แต่ระบบวิทยฐานะยังไม่เอื้อไปสู่คุณภาพ เพราะไปอิงผลงานในอดีต อิงการเข้าร่วมการอบรมพัฒนา  ดังนั้น จะต้องมีการปรับระบบวิทยฐานะให้มีความหมายมากยิ่งขึ้น และให้มีการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ

"หลักเกณฑ์ใหม่นี้ อาจไม่สามารถทำได้กับผู้ที่มีวิทยฐานะอยู่แล้ว แต่จะเริ่มใช้สำหรับผู้ที่จะเข้าสู่วิทยฐานะใหม่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ คณะกรรมการอิสระฯ จะมีพิจารณาว่าส่วนใดจะต้องบรรจุไว้ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และส่วนใดจะอยู่ในแผนการปฏิรูปที่จะออกมาคู่กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ"ประธานบอร์ดอิสระฯกล่าว

 

ด้านนายชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ กรรมการคณะกรรมการอิสระฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงที่มาของขนาดงบประมาณด้านการศึกษา พบว่าประเทศไทยใช้งบฯการศึกษาเกือบ 9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ จีดีพี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาครัฐเป็นหน่วยที่จัดการศึกษาใหญ่ที่สุด ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการศึกษามากที่สุด คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของโครงสร้าง สพฐ.มีการใช้ข้าราชการ จำนวนเกือบ 5 แสนคน ใช้งบฯ ด้านบุคลากรกว่า 2 แสนล้านบาท และในจำนวนนี้เป็นงบฯ วิทยฐานะและค่าตอบแทนครู ปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วงปี 2561-2565 จะมีข้าราชการครูและบุคลากรเกษียณอายุกว่าปีละ 2 หมื่นคน ดังนั้นจึงจะต้องมีการหาแนวทางการบริหารทรัพยากรที่เกี่ยวกับกำลังคนให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาทั้งการขาดแคลนครู การเกลี่ยอัตรากำลัง โดยอาจจะใช้วิธีการจัดสรรงบฯ ผ่านผู้เรียน รวมถึงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนต้องมีแผนอัตรากำลังที่ชัดเจนและเร่งด่วน  ทั้งนี้  ที่ประชุมได้ให้ไปศึกษาอัตราเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ เนื่องจากอัตราที่ใช้อยู่ปัจจุบันคำนวณมาตั้งแต่ปี 2545  หรือใช้มา 12 ปีแล้ว และควรมีการปรับอัตราเงินอุดหนุนให้แก่สถานศึกษาเอกชน  ซึ่งปัจจุบันรัฐอุดหนุนอยู่ร้อยละ 70

 

ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณที่จะเสนอในประเด็นการปฏิรูปประเทศนั้น 1.งบฯลงทุน ก่อสร้าง ครุภัณฑ์ ให้ดูสภาพตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ 2. งบฯดำเนินงานควรไปอยู่ที่โรงเรียนมากสุด  และการจัดสรรงบฯจะไม่มีการเฉลี่ยเท่ากันหมด แต่จะดูตามความแตกต่างใน เรื่องบุคคล เช่น ฐานะ ความพิการ เรื่อง สถานศึกษา เช่น สถานที่ตั้ง ขนาดโรงเรียน และเรื่องความแตกต่างระหว่างรัฐและเอกชน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"