กินของทอดอร่อยต้องคู่ผักผลไม้ ช่วยห่างไกลโรคและมีสุขภาพดี


เพิ่มเพื่อน    

กระแสลูกชิ้นยืนกินกำลังฟีเวอร์ สืบเนื่องจากเป็นเมนูโปรดของ “ลิซ่า” วงแบล็กพิงก์ (Blackpink) ศิลปินนักร้องเกาหลีสายเลือดไทย ที่เมื่อบินกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่ จ.บุรีรัมย์ เป็นต้องแวะไปชิมลูกชิ้นทอดเจ้าโปรดกับน้ำจิ้มรสเด็ดทุกครั้ง และปัจจุบันทำให้มียอดขายเพิ่มเป็นหลักหมื่นบาทต่อวัน นั่นจึงทำให้พ่อค้าแม่ขายยิ้มไม่หุบแล้ว 
    แต่เมนูแนะนำของคนดังนี้ รู้บ้างหรือไม่ว่า อร่อยปากแต่อาจทำลายสุขภาพได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากในเมนูดังกล่าวมีน้ำมันอยู่ถึง 2 ชนิดในตัวของลูกชิ้น ทั้งน้ำมันจากเนื้อสัตว์ที่ใช้แปรรูปทำลูกชิ้น และน้ำมันทอดลูกชิ้น งานนี้เพื่อให้คนรักสุขภาพสามารถกินลูกชิ้นทอดได้อย่างอร่อย และสร้างสมดุลต่อสุขภาพที่ดี อีกทั้งช่วยขยับเศรษฐกิจในชุมชนให้ขยายตัวได้นั้น “พี่แวว-แววตา เอกชาวนา” นักกำหนดอาหารอิสระ และที่ปรึกษาโครงการกินผักและผลไม้ดีวันละ 400 กรัม จาก สสส. แนะนำว่า “อันที่จริงแล้วอาหารทอดอย่างลูกชิ้นทอดนั้นสามารถกินได้ แต่เวลาที่เรารับประทานนั้นจะต้องกินให้อยู่ในจุดสมดุลของร่างกาย พูดง่ายๆ ว่าเราจะต้องรับประทานเมนูลูกชิ้นทอดแบบไม่ให้เกิดภาวะน้ำมันเกินในร่างกาย เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักในการเผาผลาญไขมันมากเกินไป 
    ทั้งนี้ จะมีหลักในการรับประทานที่ว่า “661” (6 = ต้องไม่กินน้ำมันเกินวันละ 6 ช้อนชา, 6 = ต้องไม่กินน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา, 1 = ต้องไม่กินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา) ทั้งนี้ ข้อดีของน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารนั้น จะทำให้อาหารมีกลิ่นหอมและกรอบ แต่ถ้าน้ำมันอยู่บนขนมอย่างเบเกอรี่ ก็จะทำให้ขนมมีความนุ่มอร่อย ที่สำคัญคุณสมบัติของน้ำมันจะช่วยดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่าง วิตามิน A, E, D, K แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ ถ้ากินมากก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย และถ้าถามว่าทำไมลูกชิ้นจึงอร่อย และเป็นที่นิยมของคนทั่วไปนั้น อันดับแรกมาจากรสชาติของลูกชิ้น ที่มีความเค็ม ซึ่งคุณสมบัติของความเค็มนั้น จะกระตุ้นความยากอาหาร นอกจากนี้ความนิ่ม ก็ทำให้ผู้ที่ได้กินรู้สึกชื่นชอบเมนูลูกชิ้นทอด


    “สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้นั้น ในเมนูลูกชิ้นทอดจะประกอบด้วยไขมัน 2 ชนิดคือ ทั้งจากไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์ ที่นำมาทำลูกชิ้นอยู่จำนวนมาก ดังนั้นถ้าเรากินลูกชิ้นมากเกินไปก็จะทำให้ได้ไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งเรียกว่าไขมัน LDL มากเกินจำเป็น และไขมันอีกส่วนที่ได้จากลูกชิ้นคือไขมันจากน้ำมันทอดลูกชิ้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องรับประทานลูกชิ้นทอด ในปริมาณที่จำกัด เช่น ใน 1 วันไม่ควรกินลูกชิ้นทอดเกิน 2-3 ไม้ หรือไม่เกิน 10 ลูกต่อวัน และเมื่อกินลูกชิ้นทอดไปแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารในลักษณะแปรรูปที่คล้ายกับลูกชิ้น เช่น ควรงดการบริโภคเบคอน แฮม หรือไส้กรอก เนื่องจากอาหารแปรรูปเหล่านี้จะมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่มีไขมันอยู่"  
    นักโภชนาการย้ำว่า หากมื้อกลางวันเรากินลูกชิ้นทอดแล้ว แนะนำว่ามื้อเย็นให้เรากินอาหารแก้ตัวที่ต่างไปจากเมนูเดิม เช่น ตอนเย็นให้กินแกงส้ม สลัดผักที่ไม่มีเนื้อสัตว์ แกงป่า เป็นต้น หรือหลังจากที่กินลูกชิ้นทอดแล้ว แนะนำให้กินผลไม้หวานน้อยและอมเปรี้ยวนิดๆ อย่าง แอบเปิล ฝรั่ง หรือให้กินผักอย่างแตงกวา หรือผักกาดหอมที่ล้างสะอาดแกล้มกับลูกชิ้นทอด เนื่องจากในผักนั้นไม่เพียงมีใยอาหารที่ช่วยดูดซับไขมันจากลูกชิ้นทอดแล้ว แต่ในผักแกล้มลูกชิ้นจะมีโพแทสเซียม ที่จะไปขัดขวางความเค็มจากลูกชิ้นได้ นั่นจะทำให้เกลือหรือโซเดียมไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง หรือทำให้ผู้บริโภคไม่รับเกลือมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจากเมนูลูกชิ้นทอด หรือจะพลิกแพลงจากเมนูลูกชิ้นทอด เป็นยำลูกชิ้นใส่ผักก็ได้เช่นกัน
    ในส่วนของเด็กเล็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ และในผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปีนั้น การปรับเปลี่ยนจากเมนูลูกชิ้นที่เป็นอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ ก็จะดีสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ ได้ โดยแนะนำให้เปลี่ยนมารับประทานเมนูเนื้อสัตว์ไม่แปรรูปแทน เช่น หมูสะเต๊ะ หรือหมูทอดกระเทียม กระทั่งหมูย่าง เป็นต้น ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ควรซื้อลูกชิ้นมารับประทาน เพื่อทำตัวเป็นแบบอย่าง และป้องกันเด็กไม่ให้งอแงเพราะอยากกินลูกชิ้นทอด แต่ถ้าเด็กเล็กอยากกินลูกชิ้นทอดจริงๆ ก็ควรกินคู่กับผักและตามด้วยผลไม้รสเปรี้ยวหวานน้อย ส่วนหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้เด็กกินผักและผลไม้ และเพื่อป้องกันการรับประทานลูกชิ้นทอด ซึ่งจะทำให้ได้รับน้ำมันมากเกิน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"