ดร.สุเมธ รำลึกในหลวง ร.9อยากให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจ'ทรงมีความเป็นสากล บนฐานความเป็นไทย'


เพิ่มเพื่อน    

 

13 ต.ค.64 -เนื่องในวันที่ 13 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานศิระกรานพระภูบาล นวมินทร์ ปีที่5 “ในหลวงในความทรงจา” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและสืบสานพระราชปณิธานอัน หาที่สุดมิได้ 

ภายในงานมีกิจกรรมปาฐกถาเทิดพระเกียรติ การแก้ไขสถานการณ์น้ำตามแนวทางพระราชดาริ “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้ถวายงานใกล้ชิดในหลวงรัชกาลที่ 9 กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 13 ต.ค.59 เป็นวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยตลอดระยะเวลาที่พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจตลอด 70 ปี ไม่ได้มีเพียงแค่คำสอน แต่ทรงปฏิบัติให้ดูกว่า 4,700 บทเรียน ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ดิน ป่า และอีกหลายบทเรียน ที่ตนได้เคยเรียนรู้งานพระราชกรณียกิจ ซึ่งจนถึงทุกวันนี้บทเรียนต่างๆของพระองค์ไม่เพียงแค่ทำตามอย่างเดียว แต่ต้องทบทวน ตีความสร้างความเข้าใจให้ถ่องแท้ 

“ในปี 2531 ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงเรียกผม้ไปเข้าเฝ้าเพื่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ เพื่อนำทัพในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้านต่างๆ เพราะชีวิตมนุษย์นับวันยิ่งลำบาก เจอกับปัญหาต่างๆ อาทิ สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จำนวนคนมากขึ้น ความยากจน มลพิษ ความพินาศทางด้านเศรษฐกิจ จึงต้องมีการช่วยเหลือและพัฒนา และตนคิดว่ายังมีอีกปัญหาคือ การเมือง ดังนั้นปัญหาต่างๆจึงเหมือนการทำสงครามที่ต้องขจัดปัญหา โดยไม่ใช่อาวุธเข่นฆ่ากัน แต่ใช้การพัฒนาเพื่อชนะสงคราม เพราะจุดอ่อนของประเทศไทยนั้น รู้เขา พยายามจะทำแบบเขา คือ พยายามที่จะทำเหมือนในต่างประเทศ แต่ไม่รู้เรา คือ การไม่พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในประเทศ” 

ดร.สุเมธ  กล่าวต่อว่า หลายคนพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่อาจจะมีการเข้าใจความหมายไปว่าคือวิธีการทำเกษตร ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นปรัชญาในการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ในประชาชนทุกระดับ  รวมไปถึงการบริหารประเทศในทางสายกลาง ซึ่งในเนื้อความของปรัชญาแฝงไปด้วยคำเตือน อย่างแรกคือ การก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้รู้ทัน และปรับปรุง ในขณะที่ไทยยังคงก้าวตามยุคประเทศอื่น 2.ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ3. ความพร้อมรับมือต่อผลกระทบที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกไม่ว่าจะเป็นทางวัตถุ สังคม วัฒนธรรมในยุค disruption 

สอดคล้องกับในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ดร.สุเมธ ได้เล่าถึงในอดีตที่ผ่านมาว่า เราเคยเผชิญกับโรคระบาดไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งในหลวงร.9 ได้ทรงเสด็จไปเยือนที่อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ทรงรับน้ำดื่มจากชาวบ้านมาเสวยได้รับสั่งว่า “สิ่งที่ทำนั้นเพื่อทรงสร้างความเข้าใจว่าโรคนี้ไม่ได้ติดกันง่ายๆ” 

เช่นเดียวกับในสถานการณ์โควิด19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีการกลายพันธุ์ของเชื้อ ที่เราจะต้องปรับตัว การทำความใจต่อโรค และรับมือไม่ว่าจะเป็นการรักษา ป้องกันดูแล  เช่น การผลิตหน้ากากอนามัย หรือการผลิตวัคซีนในประเทศได้ 

“และในวันที่ 2 เม.ย.63 ทางมูลนิธิโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 

สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด19 (และโรคระบาดต่างๆ) เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 ให้ทันต่อเหตุการณ์ รวมไปถึงการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต นี่จึงเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน เหมือนกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสุขที่จะมีร่วมกับประชาชนไทยในการสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม” ดร.สุเมธ บอกถึงการช่วยเหลือโควิดจากมูลนิธิ

ดร.สุเมธ  ให้มุมมองในเรื่องของวิกฤตน้ำว่า ทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงใช้หลักในการบูรณาการภาพรวม ชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาตั้งแต่บนฟ้า ยอดเขา ที่ราบ สู่ทะเล ซึ่งทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยน้ำ พระองค์จึงบอกเสมอว่า น้ำ คือ ชีวิตที่ขาดไม่ได้ และปัญหาน้ำต่างๆที่เกิดก็เพราะต้นไม้ลดจำนวนลง  อย่างในตอนนี้ที่แม่เจ้าพระยาเผชิญกับวิกฤตน้ำ ก็สืบเนื่องมาจากป่าที่ต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน เหลือน้อยลง หรือบางส่วนก็เป็นเขาหัวโล้นไปแล้ว จึงทำให้ฝนที่ตกลงมาไม่มีที่ชะลอหรือซับน้ำ จึงเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ไม่ใช่แค่ที่ไทย แต่ปัญหาก็เกิดในต่างประเทศเช่นกัน 

ดร.สุเมธ  กล่าวอีกว่า จึงต้องมีการแก้ปัญหาที่ต้นตอคือ การนำป่ากลับคืนมา ดังนั้นเมื่อฝนตกลงมาจึงต้องมีการวางแผนในการใช้น้ำ เริ่มจากการปลูกป่าอนุรักษ์ ที่ต้องเป็นไม้พื้นเมืองในแต่ละที่ การสร้างฝ่ายชะลอน้ำในเขา เพื่อสร้างความชื่นปลุกต้นไม้ที่ถูกตัดได้แตกกิ่งก้านสาขา เพราะมนุษย์ต้องการไม้ที่จำเป็น  3 ประเภท ได้แก่ ไม้เนื้อแข็ง เพื่อสร้างบ้าน ไม้กิน เพื่อนำไปทำกินได้ทุกวัน หรือทำเป็นยา และไม้ฟืน เพื่อเผาใช้งาน จึงจะเป็นป่าที่สมบูรณ์ และป่าเศรษฐกิจ อาทิ ลำไย ลินจี่ 

นอกจากนี้น้ำฝนที่ตกชะลางลงมายังต้องเก็บไว้ใช้อุปโภคบริโภค จึงได้สร้างอ่างเก็บน้ำ และมีปลาเพื่อสร้างความสมดุลทางระบบนิเวศ ก่อนที่น้ำจะไหลลงที่ราบสู่ให้เราได้ใช้ เมื่อเกิดวิกฤตน้ำเราต้องไม่รอเพียงการพึงพาจากรัฐเท่านั้น หรือการรอใช้เพียงแค่น้ำในเขื่อน แต่ต้องเริ่มจากการช่วยตัวเองก่อน จากการทำพื้นที่ธนาคารน้ำของตนเอง เพื่อเอาไว้ใช้และทำการเกษตร สู่การบริหารน้ำในชุมชนในการสร้างทางน้ำเดิน หรือแกล้งลิง นี่จึงเป็นเหมือนการประเมินและมีความพอเพียง ทำให้ชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

อีกสิ่งหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สะท้อนภาพคำว่า ข้างนอกเลี้ยงดูข้างใน ได้อย่างชัดเจนคือ คนชนบทเลี้ยงดูคนในเมือง เมื่อชนบทรอดพ้นวิกฤตน้ำ ในเมืองใหญ่ก็รอดเช่นกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างเป็นระบบ 

“สุดท้ายสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนไทย สิ่งที่ประทับใจในพรองค์อีกอย่างคือ ทรงมีความเป็นสากล แต่อยู่บนฐานความเป็นไทย จึงอยากฝากเด็กสมัยใหม่ให้คิดว่ารากฐานความเป็นไทยยังคงอยู่ผสมผสานต่อยอดกับความเป็นสากล และการนำหลักคำสอนมาปฏิบัติโดยต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อประโยชน์สุขของเราทุกคน” ดร.สุเมธ ทิ้งท้าย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"