ภาคปชช.-เอกชน ร่วมสร้าง'บ้านอยู่ดีมีสุข'ให้อสม.ขุนพลด่านหน้าสู้ภัยโควิดผ่อนราคาถูก


เพิ่มเพื่อน    


15 ต.ค.64 - ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ประธานสถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน และพีรพล ตริยะเกษม ประธานมูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา  ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี กริม และ กลุ่มบริษัท บี กริม เพาเวอร์ ร่วมจัดทำโครงการบ้านอยู่ดีมีสุขครอบครัวอสม.โดยทำพิธียกเสาเอกบ้านหลังแรกให้กับ อสม.วิทสันติ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค ดูแลสุขภาพของประชาชน อย่างเข้มแข็ง จนได้รับการยกย่องจากนานาประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ #อสม.จำนวน 1,050,000 คนทั่วประเทศ (ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน)ต่างได้เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ ความอดทนทุกข์ยากต่าง ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในหมู่บ้านและแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศชาติตลอดมา

 ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี กริม กล่าวว่า การสร้างบ้านอยู่ดีมีสุขให้กับครอบครัว อสม. ผู้ที่มีบทบาทหลัก ในการช่วยเหลือดูแลสุขภาพ และ ควบคุมป้องกันโรคให้กับประชาชนในประเทศไทยตลอดมา ทางบีกริม ยินดีร่วมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งสอดรับกับ โครงการ “บี กริม ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” ที่ได้สนับสนุนเงินบริจาค และปัจจัยสิ่งของจำเป็น เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกันชีวิต และถุงยังชีพ เป็นต้น โดยบริจาคทั้งทางตรง กับ สถานพยาบาลต่างๆ หรือ ประชาชนที่เดือดร้อน รวมถึงผ่านองค์กรการกุศล สำคัญต่างๆอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย

 ดร.ฮาราลด์ ลิงค์  กล่าวอีกว่า บี.กริม ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมายาวนานกว่า 142 ปี มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคมไทย ในหลากหลายภาคส่วนผ่านธุรกิจและบริการต่างๆ ของ บี.กริม เมื่อยามที่ประเทศไทยประสบภัย ทำให้คนไทยได้รับความทุกข์ร้อนจึงเป็นความตระหนักจากใจจริงถึงความร่วมแรงร่วมใจในการให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถของแต่ละบุคคลหรือองค์กร ซึ่งรวมถึง บี.กริม ด้วยอย่างแน่นอน

ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ประธานสถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน กล่าวว่า อสม. มีบทบาทหลักคือการช่วยดูแลสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ ดั่งคำขวัญที่ว่า  “แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข”  อสม.ก็คือชาวบ้านในหมู่บ้านประกอบอาชีพเหมือนกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรฐานะยากจน การศึกษาไม่สูงนัก มีรายได้น้อย อยู่แบบเรียบง่ายและมีจิตอาสา แม้ว่าจะต้องประกอบอาชีพ แต่ก็ยังทำหน้าที่ของอสม.เพื่อส่วนรวมอย่างมั่นคงเสมอมา ไม่ได้มีการเรียกร้องสิ่งตอบแทนใด ๆ จะมีบ้างก็คือ ค่าป่วยการในการทำงานของอสม. เดือนละ 1,000 บาทเท่านั้น ซึ่งอสม.บางคนใช้เงินในการทำงานมากกว่าเดือนละ 1,000 บาท  สวัสดิการการเจ็บป่วย การเสียชีวิต การประกอบอาชีพ อสม.ต้องทำด้วยตนเองแทบทั้งสิ้น ยังไม่มีองค์กรใด ๆ มาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ความเป็นอยู่ของอสม.กว่า 40 ปี จะยังคงทุกข์ยากอยู่ในลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป

ดังนั้นสถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งดำเนินงานร่วมกับอสม.มาโดยตลอดและเข้าใจสภาพปัญหาของอสม.มาเป็นอย่างดี จึงได้หารือกับภาคธุรกิจเอกชนอย่าง บริษัท บีกริม ที่มีแนวความคิดในการสนับสนุนภาคประชาชนให้มาสนับสนุนการดำรงชีวิตของอสม.ให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่พักอาศัยให้มีสภาพที่ดี มั่นคง สวยงาม ภายใต้โครงการบ้านอยู่ดีมีสุขครอบครัวอสม. รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างอาชีพ ปลูกไผ่ สมุนไพร ให้เกิดรายได้กับอสม.ผู้เข้าร่วมโครงการ

ขณะที่ นายพีรพล ตริยะเกษม ประธานมูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา กล่าวว่า โครงการบ้านอยู่ดีมีสุขนี้ จะเป็นความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ บริษัท บีกริม สถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแห่งประเทศไทย มูลนิธินายแพทย์ปรีชาดีสวัสดิ์เพื่อการสาธารณสุขไทย มูลนิธิพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ชมรมอสม.ระดับจังหวัด และบริษัทเวลโกรโซลูชั่น จำกัด เป็นต้น ทางอสม.และครอบครัวสามารถที่จะมีบ้านอยู่ดีมีสุขได้เมื่อเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เบื้องต้น คือเป็นอสม.มาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความเข้มแข็งในการทำงาน มีรายได้เพียงพอในการที่จะผ่อนบ้านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด การพิจารณาคัดเลือกจะพิจารณาจากคณะกรรมการของอสม.ระดับจังหวัดและผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อ อสม.โดยตรง

ด้านนางเอื้อ ทองมั่น อายุ 34 ปีบอกว่าตนเป็น อสม.มา 3 ปีบ้านถูกน้ำท่วมและมีสภาพที่ทรุดโทรม ยังหาเงินมาซ้อมแซมบ้านไม่ได้เพราะต้องใช้เงินจำนวนมากทางด้านประธาน อสม.เห็นความลำบากจึงได้ให้เข้าร่วมกับโครงการและดีใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการเพราะตนก็อยากมีบ้านที่มั่นคง ราคาในการผ่อนก็ถือว่าไม่แพงเพราะมีการส่งเสริมรายได้บวกกับเงินเดือนของ อสม.สามารถที่จะผ่อนชำระให้ได้เพียง 2,500 บาทเท่านั้นดีกว่าไปกู้เงินจำนวนมากมาสร้างบ้าน

กล่าวคือ สถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน ได้จัดทำโครงการสร้างบ้านอสม. 1,000,000 หลังทั่วประเทศ มูลค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท ใช้แรงงานในท้องถิ่นระดับหมู่บ้าน เป็นผู้ก่อสร้างตามแบบบ้าน 5 แบบ โดยให้อสม.ผ่อน ชาระเพียงเดือนละ 2,500 บาท เป็นเวลา 20 ปี ภายใต้ชื่อโครงการ “บ้านอยู่ดีมีสขุ ”ครอบครัวอสม.

โครงการนี้ จะเป็นการ“สร้างชีวิตอสม.ใหม่” ด้วยการใช้พื้นที่ทางการเกษตร เพียง 1 ไร่ ปลูกไผ่ หรือปลูกฟ้า ทะลายโจร หรือปลูกพืชสมุนไพร หรือปลูกพืชผสมผสานกันจะสร้างมูลค่าในการผ่อนชำระค่าก่อสร้างบ้านขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้อง 1 ห้องครัว 1 ห้องเอนกประสงค์ พื้นที่ใช้งานรวม 46 ตารางเมตร ในที่ดินของตนเองได้บ้าน 1 หลัง
“บ้านอยู่ดีมีสุข”ครอบครัว อสม.ถูกออกแบบเพื่อให้เป็นอยู่สบายมีการจัดระเบียบรูปทรงให้เกิดดุลยภาพ โดยจะเน้นการประหยัดพลังงาน การระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการเวียนของลมธรรมชาติ อากาศถ่ายเทสะดวก ให้ แสงจากภายนอกเข้าถึงภายในได้มากที่สุด บรรยากาศภายในดูโปร่งสบายผ่อนคลายไม่อึดอัด

โครงการ “บ้านอยู่ดีสุข ” ครอบครัวอสม.มีพิธียกเสาเอกบ้านหลังแรกของโครงการ วันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา10:00น–11:00น. ซึ่งบ้านหลังแรกเป็นของนายวิทสนัติ หอมงาม เลขที่ตั้ง 101หมู่12ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทราโดยมีดร.ฮาราลด์ ลิงก์ ประธานบริษัท บี กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน)เป็นประธานในพิธี

อนึ่งโครงการ “บ้านอยู่ดีมีสุข”ครอบครัวอสม. ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท บี กริมเพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) บริษัท ดับเบิลไนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

สถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน

มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา

สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)จ.ฉะเชิงเทรา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"