อีอีซีสถานีเศรษฐกิจอาเซียน


เพิ่มเพื่อน    

      เมื่อไทยกำลังปรับเข้าสู่โหมดเตรียมตัวเลือกตั้ง! แน่นอนว่านโยบายของรัฐบาลปัจจุบันย่อมทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศอาจไม่แน่ใจว่าจะเดินหน้าต่อเนื่องหรือถูกสานต่อหรือไม่ โดยเฉพาะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบายสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หมายมั่นปั้นมือที่จะเป็นหัวใจของการขับการลงทุนไทยเพื่อทำให้เคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตได้แบบยั่งยืนในอนาคต

        ทั้งนี้ ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างออกมาประสานเสียงการันตีถึงความต่อเนื่องในนโยบาย โดยเฉพาะในงาน “The Eastern Economic Corridor (EEC) : Taking Off” ที่รัฐบาลได้ชี้แจงให้กับคณะผู้แทนทางการทูตและกงสุลประจำการในประเทศไทย 55 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งผ่านให้นักลงทุนคลายความกังวลอย่างหมดสิ้น

        นอกจากนี้ รัฐบาลนี้พยายามเร่งรัดการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการสนามบินอู่ตะเภา, ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO), ท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3, ท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3, เมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้), เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายของอีอีซี

        และเหตุผลที่ต้องมี “อีอีซี” เพราะต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน ดังนั้นการขับเคลื่อนให้อีอีซีบรรลุผลตามเป้าหมายรัฐบาลจึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในรูปแบบบูรณาการ

        หากย้อนดูการเติบโตเศรษฐกิจไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาคือเริ่มตั้งตั้งแต่ยุคโชติช่วงชัชวาลที่ไทยค้นพบก๊าซธรรมชาตินำมาซึ่งการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่วนหนึ่งมุ่งเน้นใช้แรงงานสูง แต่จะเห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยและการลงทุนเริ่มมีทิศทางแบบชะลอตัวด้วยเหตุที่การลงทุนในอดีตไทยมุ่งเน้นพึ่งพาแรงงานสูงซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะอยู่ไม่ได้ในเมืองไทยด้วยเหตุผลหลักคือค่าแรงที่แพงขึ้น คนไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ต้องพึ่งแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นทุกขณะ แต่แรงงานเหล่านี้หากประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาอีกไม่นานก็จะไหลกลับ และปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคืออีสเทิร์นซีบอร์ดหายไปไม่ได้มีการพัฒนาให้เกิดการต่อเนื่องนี่จึงเป็นเหตุผลที่มาว่าทำไมต้องมี พ.ร.บ.อีอีซี

        นโยบายการพัฒนาพื้นที่อีอีซี เป็นการต่อยอดการลงทุนจากฐานเดิมที่มีอยู่ไปสู่อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อให้เกิดการปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ รองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นในเรื่องของไฮเทคโนโลยี 

        อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมลงทุนของรัฐบาลนั้นไม่ใช่วางไว้เฉพาะ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในอีอีซีเท่านั้น หากการพัฒนายังมองไปในเรื่องของการพัฒนาการท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองใหม่ไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เศรษฐกิจมีการกระจายไปอย่างทั่วถึงในทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

        สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้เข้มแข็ง เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากภายนอกที่นับวันจะรวดเร็วและมีความท้าทายทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงก้าวกระโดด และนโยบายเศรษฐกิจโลกที่จะเปลี่ยนครั้งใหญ่ และหลายคนฟันธงว่ากำลังจะเป็นยุคที่ 4 ของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก และจะย้ายหมุดมาเติบโตในภูมิภาคเอเชีย โดยจีนกำหนดนโยบายเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 หรือ One Belt One Road ซึ่งจะเชื่อมประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเข้าด้วยกัน และไทยจะเป็นสถานีหลักของภูมิภาคอาเซียน

        ดังนั้น การเตรียมพร้อมของไทยคืออีอีซีที่จะเชื่อมไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค และก้าวสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างเข้มแข็งในอนาคต และแน่นอนว่าเมื่อโอกาสมาถึงไทยก็จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มรูปแบบได้ทันที

        หากวันนี้ไทยยังคงนิ่งเฉยไม่คิดเปลี่ยนแปลง บอกได้เลยว่าโอกาสนั้นจะกลายเป็นวิกฤติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน.

บุญช่วย  ค้ายาดี  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"