อดีตผู้ตรวจแฉ ปราบโกงเฉื่อย เหตุกลัวเจอตอ


เพิ่มเพื่อน    

  โฆษกศาลยุติธรรมแจง พ.ร.บ.ขึ้นเงินเดือนศาล แค่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ปรับค่าครองชีพให้เป็นเงินเดือน ไม่มีการปรับเงินเดือนใหม่แต่อย่างใด    อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามเช็ด ซัดแหลก นโยบายตรวจสอบโกงยุครัฐบาล คสช.เปลี่ยนไป ขาดอิสระ ไร้ความคล่องตัว ทำให้การตรวจสอบค่อนข้างเงียบ หากตรวจสอบมากไปในยุคนี้ ผู้ตรวจสอบก็จะโดนร้องเสียเอง กระทบต่อการจัดเก็บรายได้เงินของแผ่นดิน  

    นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการศาลและองค์กรอิสระว่า ก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือน ธ.ค.2557 ที่ผ่านมา มีการปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ในส่วนของศาลยุติธรรมไม่ได้มีการปรับขึ้นเงินเดือนในครั้งนั้นเเต่อย่างใด ได้เป็นเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์แทน 
    โฆษกศาลยุติธรรมอธิบายว่า การที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้มีการปรับขึ้นเงินเดือนในครั้งนี้ โดยเเก้ไขร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งผ่านการทำประชาพิจารณ์ไปแล้ว ก็เป็นเพียงการนำ 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีการจ่ายเป็นเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ซึ่งได้รับอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมแทน และแม้จะมีผลย้อนหลังไปถึง ธ.ค.2557 ก็เพียงแค่ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาเดียวกับข้าราชการอื่น ในภาพรวมจึงไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ
    ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการ?ญาติ?วีรชนพฤษภา? 35 และเครือข่ายตรวจสอบ?ภาค?ประชาชน? จัดเวทีเสวนาตรวจสอบการทุจริต?คอร์รัปชัน?ภาคประชาชน โดยนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลปัจจุบัน มองว่าที่ผ่านมาภาคประชาชนเดินหน้าร้องเรียนนั้นไม่สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ ถึงแม้บางเรื่องอาจจะเกิดความกระจ่างแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังนิ่งเฉย จึงทำให้เกิดการจัดเวทีภาคประชาชนมาเพื่อตั้งกล่าวข้อกล่าวหารัฐบาลให้ประชาชนหรือบุคคลที่สนใจได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริง 
    ด้านนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องหาทางออกหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ ซึ่งเกิดจากการคอร์รัปชันตามระบอบของนักการเมือง ทำให้สุดท้ายต้องเกิดการรัฐประหาร ซึ่งหลังจากรัฐประหาร ก็มีการคอร์รัปชันเพิ่มอีก ซึ่งเป็นในรูปแบบของระบอบทหาร อีกทั้งปัจจุบันตนมองว่าปัญหาการทุจริตหนักกว่าแต่ก่อน เนื่องจากปัจจุบันมีการผสมผสานระหว่างทหารและนักการเมือง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับแต่ก่อน จะเป็นการผนวกระหว่างข้าราชการและนักการเมืองที่คอยเอื้อให้เกิดการทุจริต อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าการป้องกันการทุจริตจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่มีส่วนร่วม รวมถึงการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนจะมีคนที่มีความรู้เชิงวิชาการและจากหลายฝ่ายเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบได้อย่างมีคุณภาพ 
    อดีต รมว.การคลังกล่าวว่า ยังมีการเอื้อประโยชน์แบบชนชั้น ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่กว่าการทุจริต ด้วยสาเหตุที่ว่าชนชั้นใดออกกฎหมายย่อมจะเอื้อประโยชน์ให้กับชนชั้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลจัดโครงสร้างเศรษฐกิจของสังคมที่ไม่เอื้อให้ประชาชน แต่กลับสร้างผลประโยชน์ต่อเนื่องให้กับนายทุน โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบัน ที่เชื้อเชิญกลุ่มเจ้าสัวให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจอย่างเปิดเผย เป็นการใช้ประชานิยมดำเนินนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจเฉพาะระดับสูงเท่านั้น รวมถึงอาจจะเป็นการปูพรมเพื่อสืบทอดอำนาจต่อไป
    ขณะที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นหัวใจสำคัญของคนไทย แต่ข้อมูลเบื้องลึกคนไทยไม่ได้รับรู้เรื่องรายละเอียดมากพอ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการบังคับการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีบทลงโทษ ถ้าใช้บังคับกับประชาชนแล้วเขาไม่รู้ก็จะเป็นอันตราย โดยรัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่กลับได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติฯ   
    อย่างไรก็ตาม ตนคงไม่ยอมให้ยุทธศาสตร์ชาติเดินต่อไปตามอำนาจรัฐ ซึ่งในอนาคตนั้นจะดำเนินการทำหนังสือคัดค้านไปยังรัฐบาล ที่มองว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้นขัดต่อกฎหมายในมาตรา 65 ในหลักธรรมาภิบาล และมาตรา 77 การที่ไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชน อีกทั้งคนยกร่างมีแค่ไม่กี่คน อีกทั้งบุคคลเหล่านั้นไม่ได้มองเห็นปัญหาของประเทศอย่างแท้จริง  ตนจึงเห็นว่าควรจะต้องนำบุคคลวัยทำงานเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
    นายศรีสุวรรณกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ศาลและองค์กรอิสระ โดยอ้างว่าให้เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งที่ตนมองว่าปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากการบริหารของรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการบริหารเศรษฐกิจที่ล้มเหลวจากภาครัฐ ซึ่งปัญหาทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นมาจากประชาชนแม้แต่นิดเดียว 
    "ผมมองว่าการเดินหน้าเรื่องดังกล่าวเป็นเหมือนการคอร์รัปชันทางนโยบาย จากการขึ้นเงินเดือนให้ฝ่ายนิติบัญญัติก่อน แล้วจึงกลับมาขึ้นเงินเดือนให้ฝ่ายบริหาร โดยอ้างว่าในเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติขึ้นแล้วฝ่ายบริหารก็จำเป็นต้องขึ้น อีกทั้งการขึ้นเงินเดือนให้องค์กรอิสระนั้นอาจจะมีการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นเหมือนการปิดปากฝ่ายตรวจสอบให้เงียบ ไม่ให้มีการโต้แย้งหรือสงสัยในตัวของรัฐบาล" นายศรีสุวรรณกล่าว
    นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า หากมองในส่วนของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินนั้น จะเห็นได้ว่าค่อนข้างเปลี่ยนไปจากเดิมในการตรวจสอบการคอร์รัปชันหรือทุจริต แนวนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินก็เปลี่ยนไปเหมือนกัน ที่อาจจะขาดอิสระหรือความคล่องตัวในการตรวจสอบ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ส่วนหนึ่งตนมองว่าเป็นเพราะตัวบทกฎหมายใหม่ที่ออกมานั้น รวมถึงนโยบายของผู้บริหารระดับสูง จึงทำให้การตรวจสอบค่อนข้างเงียบ และเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะหากตรวจสอบมากไปในยุคนี้ ผู้ตรวจสอบก็จะโดนร้องเสียเอง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เงินของแผ่นดิน  
    ทั้งนี้ ในส่วนของการขึ้นเงินเดือนให้กับองค์กรอิสระนั้น ตนมองว่าเป็นการขึ้นเงินเดือนเพื่อเอาใจองค์กรอิสระจากฝ่ายรัฐบาล เนื่องจากฝั่งองค์กรอิสระนั้นไม่ได้มีการเรียกร้องเพื่อจะขึ้นเงินเดือน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับสภาวะแบบนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"