"สมพงษ์" แนะถอดบทเรียน" เด็กติดถ้ำ "อนุบาล-ม.ปลาย เรียนรู้ทักษะเอาชีวิตรอด


เพิ่มเพื่อน    

 

11ก.ค.61-นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางการถอดบทเรียนกรณีเยาวชน 12 คนและโค้ช 1 คน รวม 13 ชีวิตจากทีมหมูป่าอะคาเดมี ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน นานกว่า 17 วัน ว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดภัยพิบัติ จึงต้องมีการถอดองค์ความรู้และ ควรแบ่งการนำเสนอองค์ความรู้ตามช่วงอายุของเด็ก ได้แก่ ระดับอนุบาล ควรทำหนังสือประเภทตำนาน นิทาน โดยสอดแทรกการสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความรัก ระดับประถม ควรเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตผจญภัย  ทั้งนี้หากเด็กไทยได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากเหตุการณ์นักฟุตบอลเยาวชนหมู่ป่าอะคาเดมี พูดตอบโต้กับนักดำน้ำชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั่วโลกรับรู้กัน จะทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ จะไม่กลัวฝรั่ง และกล้าพูดตอบโต้ด้วยภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมต้น ควรมีทักษะด้านกีฬาอย่างน้อย 1 ชนิด ปลูกฝังการเล่นกีฬาเป็นทีม ความมีระเบียบวินัย มีสติและสมาธิ ซึ่งเด็กหมูป่า 13 คน เห็นได้ชัดว่า เป็นเด็กที่มีระเบียบวินัยสูง อยู่รวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเอาชีวิตรอดได้ ที่สำคัญเด็กในวัยมัธยมศึกษาตอนต้น หากได้เล่นกีฬาจะทำให้ห่างไกลยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือรวมทั้งโลกออนไลน์ต่างๆ 

    

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรเรียนรู้เรื่องการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่ทำงานเพื่อผู้อื่น เช่น หน่วยซีล ทหาร หมอ นักนวัตกรอย่างนายอีลอน มัสค์ นักดำน้ำ  นักฟุตบอลอาชีพ นักโภชนาการ เป็นต้น  ซึ่งทุกสาขาอาชีพที่มาช่วยค้นหาเยาวชนทั้ง 13 คน เป็นกลุ่มบุคคลทำงานเพื่อคนอื่น เป็นผู้มีธรรมาภิบาล ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กไทยรู้จักทำงานเพื่อสังคมส่วนระดับอุดมศึกษา ควรเน้นการปฏิบัติด้านวิชาชีพต่างๆ และปลูกฝังอย่างเข้มข้นในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม สติ สมาธิ โดยเฉพาะด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ที่ต้องปลูกฝังด้านจริยธรรมสื่อ สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้น ควรเป็นหนังสือทั้งเป็นรูปเล่ม หนังสือออนไลน์ ห้องสมุดออนไลน์ เป็นต้น ขณะที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ควรปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง ให้เน้นการลงมือปฏิบัติ เพิ่มสัดส่วนหลักสูตรท้องถิ่น ให้เด็กๆ แต่ละภูมิภาคได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในภาคของตนเอง เช่น ภาคเหนือ เรียนรู้การเอาตัวรอดกรณี น้ำป่า น้ำท่วม ติดถ้ำ ภาคอีสาน เรียนรู้การว่ายน้ำ น้ำท่วม ภาคใต้ เรียนรู้เกี่ยวกับวาตภัย สึนามิ การใช้ชูชีพ การลอยคอในทะเล ภาคกลางและกรุงเทพ เรียนรู้เกี่ยวภัยที่เกิดจากน้ำท่วม การติดอยู่ในรถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า ติดในลิฟท์ การเอาตัวรอดเพื่อเกิดไฟไหม้ในตึกสูง เป็นต้น

 

    “ศธ.และคนไทย ต้องไม่ให้เหตุการณ์การค้นหา การช่วยชีวิต และการเอาตัวรอดของเด็กในถ้ำหลวง ให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะทุกวันนี้เรามีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย จึงต้องสอนให้เด็กไทยทุกคนเรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอด หากเราปล่อยให้เด็กเรียนหนังสืออย่างเดียวก็จะเอาชีวิตไม่รอดเมื่อเจอภัยพิบัติ นอกจากนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นในถ้ำหลวง จะเห็นว่าประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน สหรัฐ นำไปสอนเด็กๆ ของเขาแล้ว แต่ประเทศไทยยังเงียบมาก ซึ่งถึงเวลาที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง”อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"