คมนาคมตีกลับไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหินสั่งทบทวนใหม่


เพิ่มเพื่อน    


31ก.ค.61-ไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน ส่อแท้งไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ หลังคมนาคมตีกลับให้ไปศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและความคุ้มค่าในการลงทุน และปรับแนวเส้นทาง ต้องจ้างศึกษาใหม่ ด้านรฟท.ยันไฮสปีดจีน-ญี่ปุ่นต้องวิ่งร่วมรางเดียวกันที่แรกในโลก หลังติดปัญหาเรื่องข้อจำกัดพื้นที่ก่อสร้าง

 

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-หัวหิน วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้ผลศึกษายังอยู่ที่กระทรวงคมนาคมยังไม่สามารถเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) เนื่องจากปัจจุบันติดปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งจัดทำข้อมูลภาพรวมโครงการ ดังนั้นเชื่อว่าโครงการนี้อาจต้องใช้เวลาอีกนานเพื่อรวบรวมข้อมูลตลอดจนเสนอตามขั้นตอนไปยังหน่วยงานต่างๆ ยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องกรอบเวลาการเปิดประกวดราคา

 
ด้านแหล่งข่าวจากรฟท.ระบุว่ากระทรวงคมนาคมได้ตีกลับแผนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวเพื่อให้ไปศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและความคุ้มค่าในการลงทุนอีกครั้งหนึ่ง โดยรฟท.ต้องดำเนินการร่างทีโออาร์เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษารายใหม่เข้ามาทบทวนแผนศึกษาซึ่งรฟท.ได้การศึกษามานานแล้วโดยเฉพาะเรื่องแนวเส้นทางที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุด เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแนวเส้นทางช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพราะแนวเดิมผ่านเข้าตัวเมือง โดยเฉพาะบริเวณเขาวัง  เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่น บางช่วงมีแนวหักศอก ยากต่อการออกแบบ เนื่องจากรถไฟมีความเร็วถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  แนวเส้นทางใหม่ จะดำเนินการช่วงตำบลไร่ส้ม ข้ามถนนเพชรเกษมก่อนเข้าตัวเมืองเพชรบุรี ผ่านอำเภอบ้านลาด และไปข้ามถนนเพชรเกษมอีกจุดที่บริเวณตำบลเขาทโมน ไปยังสถานีหนองไม้ โดยมีลักษณะเป็นทางวิ่งยกระดับทั้งหมด


 นอกจากนี้ยังต้องไปหาแนวเส้นทางใหม่ที่ออกมาจากสถานีกลางบางซื่ออีกด้วย เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมถูกบดบังด้วยทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันออก ตลอดจนแนวเส้นทางที่ต้องเปลี่ยนจุดทำทางยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาทบทวนแบบมากกว่า 6 เดือน ส่งผลให้โครงการดังกล่าวอาจไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ซึ่งจะมีการเลือกตั้งช่วงต้นปี 2562 อีกทั้งเมื่อศึกษาทบทวนเสร็จแล้วยังต้องส่งเรื่องไปตามขั้นตอนอีกมาก ทั้งกระทรวงคมนาคม สคร. บอร์ดพีพีพี การแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ไปจนถึงการเสนอเข้าสู่ท่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างมาก

 

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าสำหรับพื้นที่ทับซ้อนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา และ รถไฟไทย-ญี่ปุ่นช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ตามแนวเส้นทางที่ออกจากสถานีกลางบางซื่อ-พาชี ระยะทาง 20-30 กม.นั้นเนื่องด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ก่อสร้างบริเวณ Local Road เรียบถนนวิภาวดีรังสิตนั้นทำให้ก่อสร้างรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้เพียงรางเดียว ดังนั้นจะต้องส่งหนังสือชี้แจงไปยังทั้งสองประเทศว่ามีความจำเป็นต้องวิ่งร่วมระบบกันระหว่างเทคโนโลยีจีนและรถไฟชินคันเซ็น ซึ่งยังไม่เคยเกิดที่ไหนมาก่อนในโลก อีกทั้งญี่ปุ่นยังเคยบอกว่าจะไม่วิ่งร่วมรางกับจีน แต่ครั้งนี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลไทยมีตัวเลือกเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือต้องวิ่งร่วมในรางเดียวกันระยะทางสั้นๆก่อนแยกรางกันไปตามแนวเส้นทางต่อไป
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"