ส.อ.ท. เร่งปลุกกระแสเมด อิน ไทยแลนด์ หวังเป็นเกราะป้องกันเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

ส.อ.ท.เดินหน้ามาตรการเมด อิน ไทยแลนด์ มอบศูนย์ไออีซีศึกษาแนวทางการดำเนินงานที่ไม่ขัดดับเบิลยูทีโอ ก่อนทำแผนเสนอรัฐบาลผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ คิดแล้วเสร็จใน 1 เดือน ชี้เป็นการสนับสนุนของไทย ตัวช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยเติบโต

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นเลิศ(ไออีซี)  ทำการศึกษามาตรการและแนวทางเพื่อการส่งเสริมการใช้สินค้าไทยหรือ เมด อิน ไทยแลนด์ เพื่อเป็นวาระแห่งชาติที่จะไม่ขัดกับระเบียบองค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งคาดว่าจะสรุปภายใน 1 เดือนหลังจากนี้ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลพิจารณา และให้การสนับสนุนต่อไป เนื่องจากปัจจุบันการค้าโลกเปลี่ยนไปมีสงครามการค้าเกิดขึ้นที่อาจทำให้สินค้าต่างชาติไหลบ่าเข้าไทย ซึ่งสินค้าไทยเองส่วนใหญ่มีมาตรฐานที่ดีแล้ว จึงควรสนับสนุนการใช้ในประเทศเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับเศรษฐกิจไทย

โดยในเบื้องต้นอาจจะมีการจัดทำซอฟท์แวร์ หรือแอพพิเคชั่น พร้อมทั้งจัดทำเรตติ้ง ของบริษัทผู้ผลิตสินค้าของคนไทย ว่าได้รับความนิยมมากเพียงไร และมีการรีวิวสินค้าจากผู้ใช้ เพื่อให้หน่วยงานราชการ และเอกชน เข้ามาเลือซื้อสินค้าผ่านแอพพิเคชัน และรับรู้รายละเอียดต่างๆ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ผู้ขายสินค้าของคนไทยเข้าถึงผู้ซื้อทั้งภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า มาตรการสนับสนุนให้หน่วยงานราชการใช้สินค้าไทยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเติบโต และพัฒนาสินค้าได้เร็วขึ้น เพราะในขณะนี้ รัฐบาลมีงบประประมาณรายจ่ายประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ ประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งหากเม็ดเงินจำนวนนี้ตกไปอยู่กับผู้ประกอบการคนไทย ก็จะช่วยพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมได้มาก โดยเฉพาะใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่ส่วนใหญ่ไม่เคยผลิตภายในประเทศ ซึ่งหากมีผู้ประกอบการไทยเข้ามาผลิตในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็ควรให้การสนับสนุนเต็มที่

ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศชั้นนำที่มีการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น รัฐบาลแต่ละประเทศได้มีนโยบายส่งเสริมให้ภาคราชการใช้สินค้าในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศที่พึ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ มีเม็ดเงินเข้าไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้รวดเร็ว อย่างเช่นในประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ภาครัฐและเอกชน เข้าไปช่วยซื้อรถยนต์ที่ผลิตในประเทศในระยะแรก แม้ว่าคุณภาพจะสู้ต่างประเทศไม่ได้ แต่ในปัจจุบันค่ายรถยนต์ทั้ง 2 ประเทศนี้ก็มีความแข็งแกร่งเป็นผู้ส่งออกชั้นนำของโลก

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ก็มีข้อกำหนดส่งเสริมการใช้สินค้าไทยอยู่แล้ว เช่น หากมีผู้ยื่นเสนอขายสินค้าให้กับรัฐที่เป็นของไทยเกิน 3 ราย หากมีราคาสูงกว่าต่างชาติไม่เกิน 10% และมีมาตรฐานตรงตามที่กำหนดจะต้องใช้สินค้าไทย แต่ที่ผ่านมา มีการดำเนินการตามแนวทางนี้น้อยมาก ดังนั้นอยากให้รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวด และออกมาตรการใหม่ๆส่งเสริมการใช้สินค้าไทยที่ไม่ขัดกับกติกาของดับเบิลยูทีโอ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"