กรอ.โอดยอดขอรง.4 วูบ 5.9% สวนทาง SME 7 เดือนยังสดใส


เพิ่มเพื่อน    

กรอ.โอดยอดขอร.ง.4 เดือนก.ค. หดตัว 5.9% ฉุดมูลค่าลงทุนลดลงเหลือ 3.04 หมื่นล้านบาท ชี้ความผันผวนเศรษฐกิจยังกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนต่อเนื่อง แต่ยังปลื้มยอดลงทุนเอสเอ็มอีรวม 7 เดือนเติบโตขึ้น 

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยว่ายอดขอใบอนุญาตกิจการและการขยายกิจการ (ร.ง.4) ในช่วงเดือนก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวน 383 โรงงาน ลดลง 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวนโรงงานที่ขอใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการทั้งสิ้น 407 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 30,495.54 ล้านบาท ลดลง 23.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ทำได้ 39,914.73 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ขออนุญาตประกอบกิจการใหม่ 314 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 22,951.52 ล้านบาท กลุ่มขยายกิจการ 69 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 7,544.02 ล้านบาท 

ทั้งนี้สัดส่วนที่ลดลงอาจเกิดจากภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่คาดว่าในช่วงเดือนที่เหลือจะมีตัวเลขเพิ่มตัวสูงขึ้น ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร มูลค่าการลงทุน 5,222.73 ล้านบาท  2.กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ มูลค่าการลงทุน 3,471.46 ล้านบาท 3.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช มูลค่าการลงทุน 1,954.77 ล้านบาท 4.กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 1,521.19 ล้านบาท  5.กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก มูลค่าการลงทุน 1,240.86 ล้านบาท  

ขณะเดียวกันการจดประกอบและขยายกิจการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวน 354 โรงงาน ลดลง 5.85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 376 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 9,787.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.96% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 9,600.17 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มที่ขออนุญาตประกอบกิจการใหม่ 295 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 7,271.49 ล้านบาท  กลุ่มขยายกิจการ 59 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 2,516.38 ล้านบาท  

นอกจากนี้ ภาพรวมการประกอบกิจการเอสเอ็มอีในช่วง 7 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) โดยมีจำนวนการจดประกอบและขยายกิจการ 2,685 โรงงาน เพิ่มขึ้น 0.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 2,663 โรงงาน มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 67,247.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 66,728.10 ล้านบาท ซึ่ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ อาหาร , ผลิตภัณฑ์พลาสติก , ผลิตภัณฑ์โลหะ , ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช

นายมงคล กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ อาจมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงภาพรวมในการลงทุน และการผลิตที่หลายฝ่ายต้องจับตามอง รวมถึงปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ได้แก่นโยบายปกป้องทางการค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังส่งสัญญาณแรงต่อเนื่อง ซึ่งการกีดกันทางการค้าอาจมีผลให้บริษัทข้ามชาติชะลอการลงทุน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรในการผลิตของประเทศที่อาจจะมีความคลาดเคลื่อน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตอาจต้องปรับตัวเข้าสู่การใช้พลังงานทดแทน หรือสรรหาเครื่องมือในกระบวนการผลิตที่มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการประหยัดพลังงาน 

อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนและไม่ชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องหมั่นติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าในแต่ละประเทศให้มากขึ้น พร้อมนำไปปรับตัวในด้านการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการกระจายสินค้าและลดการสูญเสียได้ทางหนึ่ง แต่มั่นใจว่านโยบายด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ค่อยๆ ขยับไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"