ปลุกพลังปฏิรูปการศึกษา สร้างความเท่าเทียมทุกวัย


เพิ่มเพื่อน    

           

“ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาปีละ 5 แสนล้านบาท แล้วทำไมการศึกษาไทยยังเหลื่อมล้ำ เป็นโจทย์ที่ผู้เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษาตั้งข้อสังเกต พร้อมนำเสนอรายละเอียดทั้งปัญหาและทางออกไว้ชัดเจน ผ่านเวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “การพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์สู่ศตวรรษที่ 21 จากการเรียนรู้ร่วมกันสู่นโยบาย อันเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่จัดในมหกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว “กว่าทศวรรษ พัฒนาครอบครัวอบอุ่น สร้างคุณค่าคนคือผลงานเรา” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อไม่นานมานี้

            สำหรับประเด็นหลักดังกล่าว ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า งบประมาณทางด้านการศึกษาปีละ 5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบประจำปี  74.69% งบส่วนกลาง 16.39% และส่วนที่ 3 เป็นงบที่กระจายให้โรงเรียนโดยตรง 8.93% แต่ปัญหาการศึกษายังมีเพราะบางที่มีความเหลื่อมล้ำสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพบว่าเด็กไทยอายุ 15 ปี 1 ใน 3 คนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ 

            ทั้งนี้ สำหรับจำนวนนักเรียนไทยนั้นแบ่งเป็นเด็กนอกระบบ 670,000 คน ส่วนเด็กในระบบมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กยากจนในระบบการศึกษาพื้นฐาน 1.8 ล้านคน และกลุ่มเด็กพิการในระบบศึกษาพื้นฐาน 313,000 คน โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนอุดหนุนเพื่อเด็กยากจนชั้น ป.1-ม.3 ให้เด็ก 1.6 ล้านคน แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รัฐไม่ทราบว่าใครจนจริง จนเทียม มันแก้ไม่ได้ และเงินเข้าไม่ถึง เพราะเด็กยากจนจริงๆ มีมากกว่านั้นถึง 2 เท่า เนื่องจากมียอดรายงานนักเรียนยากจนมากกว่า 3 ล้านคน ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการอัดฉีดเงินไม่ใช่การแก้ที่ถูกจุด เพราะเอามาตรฐานความจนมาแยกเด็กไม่ได้

            นักวิชาการรายเดิมจึงระบุว่า ทางออกที่เหมาะสมคือ การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ในเรื่องกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งเป้าหมายของกองทุนดังกล่าวอยู่ในทุกช่วงวัยก็จริง และมีเด็กต้องการราว 4.3 ล้านคน ในกระบวนการนี้ต้องมีการปฏิรูปแบบทั้งหมด คือใช้นวัตกรรม ข้อมูล เทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมเข้ามาช่วยคัดกรองความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล และศึกษาปัญหาความไม่เท่าเทียมของเด็กให้ดี จากนั้นเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกันทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

            ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพดังกล่าวควรทำตั้งแต่ก่อนวัยเรียน โดยให้เด็กทุกคนมีความเสมอภาคทางการศึกษา นั่นคือเรียนในสถาบันที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กกลุ่มช้างเผือกที่สังคมและโรงเรียนต้องบ่มเพาะให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถเอาชนะอุปสรรคทางเศรษฐกิจและสังคมได้ โดย 5 ปีแรกไทยต้องตั้งเป้าปลดล็อกความเหลื่อมล้ำให้ได้ โดยทำให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพที่ดีเหมือนกันให้ได้ แล้วปัญหาแป๊ะเจี๊ยก็จะหมดไป เพราะผู้ปกครองไม่ต้องแย่งให้ลูกเรียนโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง ขณะที่รัฐบาลเองก็กำลังพิจารณาให้มีกองทุนการศึกษาเพื่อผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เชื่อว่าจะทำให้เด็กยากจนช้างเผือกมีโอกาสได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างแท้จริง

            ด้าน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า จากสถานการณ์เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ารวดเร็ว หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง คนตกงานเยอะ ทักษะไม่เพียงพอ นั่นเพราะประเทศไทยเน้นการพัฒนามนุษย์โดยให้ความสำคัญกับปริมาณ ให้น้ำหนักเรื่องคุณภาพน้อย โดยเฉพาะคุณภาพคน ซ้ำในส่วนของโครงสร้างกลไกภาครัฐที่มีพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลดลง มีการสะสมกฎระเบียบต่างๆ ไว้มากจนกลายเป็นตุ้มถ่วง

            นอกจากต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายเรื่อง ได้แก่ ข้อ 1 ความก้าวหน้าแบบอัตราเร่งของเทคโนโลยี ถ้าตามไม่ทันจะเกิดการว่างงาน ข้อ 2 ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนทำงาน 2 คนอาจต้องรับภาระคนที่ไม่ทำงาน 1 คน ข้อ 3 ความท้าทายจากมาตรฐานต่างๆ ของโลกที่จะสูงขึ้น ข้อ 4 โลกเชื่อมโยงกันมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจากที่หนึ่งจะกระทบกับประเทศอื่นได้รวดเร็ว ทั้งนี้ เราจะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อตอบโจทย์ความท้าทาย นั่นคือภาครัฐเองต้องปรับบทบาทจากกำกับดูแลมาเป็นผู้สนับสนุน โดยคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น เน้นความโปร่งใส และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พร้อมประสานความร่วมมือ ซึ่งทั้งหมดนี้หากจะทำสำเร็จต้องมีการปฏิรูปการศึกษา และปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

            ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย กล่าวว่า ยุค 4.0 จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ความเป็น 3.0 ทุกวันนี้ทำลายประเทศ ทำลายโลกและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาได้มีการวิจัยไว้ว่า ถ้าพรุ่งนี้โลกเปลี่ยนจากยุค 3.0 เป็น 4.0 คนในประเทศไทยที่เป็นแรงงานในระบบประมาณ 13 ล้านคน หรือ 72% จะต้องเปลี่ยนอาชีพ ในจำนวนนี้ไม่นับแรงงานนอกระบบอีก 20 ล้านคนที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ 80-90% ของอุตสาหกรรมบนโลก จะเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนปลายน้ำที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป และไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 28% ที่ภาคอุตสาหกรรมรักษาไว้ จะได้รับผลกระทบภายใน 5 ปี โดยความเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จะไม่จ้างคนเพิ่มหรือจ้างน้อยมาก

            “การปฏิรูปคนต้องเริ่มที่การสื่อสาร การทำงานตามทุนนิยม ตอนนี้ได้เข้ามาทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ แต่พอมีเทคโนโลยีเข้ามาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการสื่อสาร การจัดการที่ท้าทายมากขึ้น เราจะต้องใช้แรงจูงใจเชิงนโยบายว่าทำยังไงให้คนทำงานสามารถต่อสู้ได้ ไม่ใช่ไปมองแค่ระยะสั้น การทำงานในระบบนั้น หากจะทำให้ดีต้องอาศัยนโยบายจากภาครัฐให้รองรับกับอาชีพใหม่ รองรับชีวิตใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้น คนปลายน้ำอายุกว่า 30-50 จะได้รับผลกระทบภายใน 5 ปี คนจะน้อยลงในภาคแรงงาน สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จะไม่ทันโลก เพราะทุกภาคส่วนเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตอนนี้การศึกษายังนิ่งแข็ง 

                คุณจะผลิตคนเดิมๆ กระบวนการเดิมไม่ได้แล้ว ความเป็น 4.0 ในวันนี้ต้องการเทคโนโลยีใหม่ คือ Innovation ผมพยายามบอกว่า ถ้าคุณยังเรียนในห้องเรียน เรียนในตำราเหมือนเดิม คนจบจะไม่มีงานทำ การศึกษาร่วมกับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม การศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นจำเป็นอย่างมาก เราต้องย้ำและปลุกเรื่องนี้ เราต้องดูให้ทั่ว ภาคประชาชนไม่ได้แอคทีฟเลย จำเป็นต้องหามาตรการใหม่” ดร.สัมพันธ์กล่าวปิดท้าย

                หากประเทศไทยปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็เชื่อว่าจะสร้างเยาวชนที่เติบโตอย่างมีคุณภาพสอดรับการตลาดแรงงานในอนาคตได้.

 

ชี้ไอระเหยบุหรี่ไฟฟ้า พ่นสารพิษจำนวนมาก

            รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภาคี สสส. เปิดเผยรายงานการศึกษา “ผลกระทบต่อสุขภาพของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์หรือบุหรี่ไฟฟ้า” เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2561 โดยสถาบันวิชาการแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์ (NASEM) ร่วมกับองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ที่ได้ข้อสรุปจากผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ มากกว่า 800 ชิ้น พบว่า ในบุหรี่ไฟฟ้าและไอระเหยที่ผู้สูบพ่นออกมานั้น ประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก และมีสารนิโคตินและสารพิษอื่นอีกจำนวนมากที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และอะโครลีน เป็นต้น

            โดยในไอระเหยที่พ่นออกมาสามารถทำลายดีเอ็นเอและทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ ซึ่งการสูดดมไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง และเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ และยังมีรายงานการวิจัยที่ระบุถึงอันตรายของการสูดไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด โดยภายหลังการสูดควันไอน้ำบุหรี่ไฟฟ้าเพียง 10 ครั้ง จะสามารถตรวจพบเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่ตายและหลุดลอยอยู่ในกระแสเลือดจำนวนมาก ซึ่งในระยะยาวสามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังตรวจพบโลหะหนักในไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งอาจมาจากขดลวดที่ใช้เป็นแหล่งความร้อน หรือส่วนอื่นๆ ของแท่งหลอดบรรจุแบตเตอรี่และของเหลว

            ส่วนรายงานขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ.2559 ระบุว่า แต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกันมาก ทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ แท่งหลอดที่บรรจุน้ำยา ส่วนผสมของน้ำยา และลักษณะการใช้อุปกรณ์ โดยแต่ละยี่ห้อมีสารที่เป็นอันตรายในระดับที่สูง และต่ำกว่าควันบุหรี่ธรรมดาแตกต่างกัน ดังนั้นจึงขอสรุปว่าอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เพื่อการเลิกบุหรี่ยังต้องพัฒนา และพิสูจน์ให้มั่นใจว่าปลอดภัยทั้งระยะสั้น และไม่มีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"