หนุน 2 พันชุมชนประกาศเลิกบุหรี่ หยุดผู้สูบใหม่ลดอมควันหน้าเก่า 


เพิ่มเพื่อน    

          ภายในงานปฏิบัติการเพื่อการออกแบบการรณรงค์และขับเคลื่อนกิจกรรม “เลิกสูบ ก็เจอสุข” 5 วิถีปลอดบุหรี่โดยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กว่า 2 พันแห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 105 แห่ง ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์สนับสนุนวิชาการเฉพาะประเด็นการควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศวฉ.ยาสูบ) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน 3 (สำนัก 3) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นในช่วงวันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา และได้มีการประกาศปฏิญญา เลิกสูบ ก็เจอสุข ด้วยการสร้าง 5 วิถีใหม่ พร้อมทั้งภารกิจสำคัญคือหยุดนักสูบหน้าใหม่ลดจำนวนนักสูบหน้าเก่าให้สำเร็จ

            นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวว่า การมาร่วมกันออกแบบเพื่อค้นหาปฏิบัติการ "เลิกสูบ ก็เจอสุข” เป็นเรื่องที่แต่ละชุมชนต้องอาศัยการประเมินศักยภาพ และการประเมินความร่วมมือเพื่อใช้โอกาส และจังหวัดมาขับเคลื่อนให้เกิด 5 วิถีใหม่ในการเลิกการบริโภคบุหรี่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันประเมินปัญหาและค้นหาศักยภาพเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

            “ยอมรับว่าการเคลื่อนในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และอาจต้องใช้หลายแนวทางในการดำเนินการ เพราะต้องยอมรับว่าการสูบบุหรี่ให้ติดไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเลิกสูบก็ยากยิ่งกว่าเช่นกัน เราจึงจำเป็นต้องมีคนต้นแบบที่ทั้งไม่สูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่ได้ เพื่อขยายผลให้เกิดแบบอย่างในการเลิกสูบบุหรี่ได้การรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ จึงต้องใช้ความมุ่งมั่นเพื่อเอาชนะคนสูบบุหรี่ และยึดมั่นแนวทางตามเป้าหมายที่กำหนด” ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. ระบุ

            นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้ร่วมกับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ประกาศปฏิญญา โดยระบุว่า ฐานปรัชญาในการดำเนินการของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ คือการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นฐานในการสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งและเป็นฐานในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงได้

            นอกจากนี้ ตามเจตนารมณ์ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่ยึดมั่นอุดมการณ์เพื่อนำพาชุมชนท้องถิ่นไปสู่ความเข้มแข็ง จัดการตนเอง และร่วมสร้างพื้นที่ของตนเองให้เป็นชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) มาปฏิบัติให้เป็นวิถีร่วมกัน

            การลด ละ เลิก บริโภคยาสูบ ในทุกรูปแบบ เป็นเรื่องหนึ่งที่เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ มองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการตนเองและความน่าอยู่สำหรับทุกคนในชุมชน เนื่องจากยาสูบเป็นเหตุของการทำลายสุขภาพของแต่ละบุคคล ครอบครัว และสาธารณะ ดังที่ท่านทั้งหลายทราบดีแล้วว่า ประเทศไทยได้ออกกฎหมายที่ก้าวหน้าที่สุดในการปกป้องสุขภาพของคนไทยจากพิษภัยของยาสูบ

            นายสมพรกล่าวอีกว่า เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยในวันนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย จำนวน 105 แห่ง มาร่วมประกาศเจตจำนง และจะนำพาเจตจำนงที่ประกาศ ไปเชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายในทุกจังหวัดกว่า 2,000 แห่ง ดำเนินการรณรงค์ “เลิกสูบ ก็เจอสุข” จากข้อมูลที่มีการสำรวจในพื้นที่ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ครอบคลุมประชากร 8.2 ล้านคนที่ยังมีผู้สูบบุหรี่กว่า 6 แสน 2 หมื่นคน

            แม้ว่าอัตราการสูบน้อยกว่าอัตราตามสัดส่วนภาพรวมของประเทศ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้มีผู้สูบหน้าใหม่ ลดจำนวนผู้สูบหน้าเก่าให้น้อยลงและหมดไป จนเป็นวิถีของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยการดำเนินการดังนี้คือ

            1.เพิ่มคนต้นแบบ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่มีบทบาททางสังคม ประกอบด้วย ผู้นำ แกนนำชุมชน อาสาสมัครทุกกลุ่มในชุมชน นักเรียน เยาวชนในพื้นที่ และสมาชิกในครัวเรือนที่สูบบุหรี่

            2.เพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ โดยการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในพื้นที่ทำการของ 4 องค์กรหลัก พื้นที่สาธารณะ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

            3.สร้างคลินิกหรือนวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ ที่ใช้ทุนทางสังคมให้เป็นแนวทางในการลด ละ เลิกบุหรี่

            4.เพิ่มกติกาทางสังคม ที่คนในชุมชนร่วมกันกำหนดผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อใช้เป็นแนวทาง ข้อกำหนด ข้อปฏิบัติร่วมกันในการควบคุมยาสูบในพื้นที่

            5.การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเคร่งครัด มีการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่อย่างชัดเจน รวมถึงร้านค้ามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง

            “พวกเรา เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จะตั้งมั่นในการเดินตามรอยพ่อ และใช้ “ศาสตร์พระราชา” “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “ระเบิดจากข้างใน” “ความพอเพียง” เพื่อความสุขของครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน และจะร่วมกันขับเคลื่อนปฏิบัติการดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมภายในเวลา 8 เดือน เพื่อให้มีบทเรียนและต้นแบบการดำเนินงาน ในการควบคุมการบริโภคยาสูบโดยชุมชน ที่เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง สร้างปัจจัยเสริมทางสุขภาพ และนำสู่สุขภาวะของชุมชนท้องถิ่นในที่สุด” ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กล่าว

            ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล รองผู้จัดการ สสส.และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาจะต้องลงไปถึงกลุ่มพื้นที่ท้องถิ่นเพื่อศึกษาปัญหาและป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ให้ยากมากขึ้น โดยใช้กระบวนการขับเคลื่อน กิจกรรมทั้ง 5 วิถีปลอดบุหรี่โดยชุมชน เพราะการสูบบุหรี่เป็นตัวการใหญ่ที่นำพาให้เกิดโรคต่างๆ  มากกว่า 30 โรค เช่น โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

            ที่ร้ายแรงกว่านั้น บุหรี่มือสอง สารพิษจากควันบุหรี่ที่ตกค้างตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ตุ๊กตา พรม โซฟา ผ้าม่าน ที่นอน หรือช่องแอร์ ซึ่งการสูบบุหรี่เพียง 1 มวน อาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่สารพิษจากควันบุหรี่จะยังคงตกค้างอบอวลอยู่ในบ้านอย่างน้อย 6 เดือน ยิ่งไปกว่านั้นหากมีเด็กและทารกอยู่ในบ้าน เด็กจะสามารถรับฝุ่นที่มีควันบุหรี่เข้าไปในร่างกายได้เป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่ เพราะเด็กหายใจได้เร็วกว่าและสัมผัสใกล้กับพื้นผิวที่เป็นฝุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น สสส.จะต้องรณรงค์ให้ความรู้ตระหนักถึงโทษของบุหรี่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมไทยเลิกและไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ได้สำเร็จ

            "เป้าหมายการลดอัตราการสูบบุหรี่ของประเทศไทยที่รับมาจากองค์การอนามัยโลกคือภายในปี 2568 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า จะต้องลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงให้เหลือประมาณ 9 ล้านคน หรือลดลงให้ได้อีก 1 ล้านคนภายใน 7 ปี เฉลี่ยแล้วต้องลดคนสูบบุหรี่ให้ได้ 2.5 แสนคนทุกปี จึงจะประสบความสำเร็จไปถึงเป้าหมายได้" ดร.นพ.บัณฑิตกล่าวปิดท้าย

            เชื่อว่าพลังของผู้นำท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายที่รณรงค์ต้านบุหรี่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดจำนวนนักสูบหน้าเก่า และป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่ได้สำเร็จ.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"