แสตมป์ชุดพิเศษ 4 ยุควิวัฒนาการไปรษณีย์ไทย


เพิ่มเพื่อน    

แสตมป์ชุดพิเศษ 135 ปี ไปรษณีย์ไทย 
 

     เพื่อย้อนรำลึกต้นกำเนิดไปรษณีย์แห่งกรุงสยาม ก่อนมาถึงไปรษณีย์ไทยยุค 4.0 ที่มีบริการผ่านแอปพลิเคชันสุดทันสมัย     บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) จัดนิทรรศการครั้งสำคัญ “135 ปี การไปรษณีย์ไทย...ก้าวมาไกล ยังใกล้กัน” เฉลิมฉลองกิจการไปรษณีย์ของประเทศอายุครบ 135 ปี โดยนิทรรศการสะท้อนวิวัฒนาการภารกิจการส่งจดหมายทั้งหมด 4 ยุค ตั้งแต่การเดินเท้าส่งจดหมาย สู่ยุคที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะ ก่อนพัฒนามาใช้รถจักรยานยนต์ จนกระทั่งถึงยุคที่มีการใช้รถยนต์และขนส่งขนาดใหญ่ในการจัดส่งพัสดุถึงผู้รับสบายใจ เปิดให้เข้าถึงวันที่ 31 ต.ค. ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก
    ภายในนิทรรศการได้จัดแสดงเรื่องราวของกิจการไปรษณีย์แบ่งเป็น 3 ส่วน เริ่มจากสิ่งแรกมีเมื่อวันวาน นำเสนอเหตุการณ์ครั้งสำคัญของไปรษณีย์ในอดีต ประกอบวัตถุจัดแสดงที่หาชมได้ยาก วีดิทัศน์และข้อมูลอินเตอร์แอคทีฟผ่านคิวอาร์โค้ด โซนสิ่งใหม่ในวันนี้ นำเสนอบริการใหม่ๆ และแอปพลิเคชันภายใต้ยุคไปรษณีย์ไทย 4.0 ที่เน้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการในโลกยุคดิจิทัล อาทิ การติดตั้งตู้นำจ่ายอัตโนมัติ iBox อำนวยความสะดวกผู้รับตลอด 24 ชั่วโมง เครื่องคัดแยกอัตโนมัติ เครื่องมือสำหรับพนักงานนำจ่ายสุดทันสมัย และการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงภารกิจเพื่อสังคม โดยเฉพาะการสนับสนุนสินค้าชุมชนและผลผลิตทางการเกษตร

แสตมป์ชุดโสฬศ


    โซนสุดท้าย สิ่งท้าทายในวันหน้า เพราะ ปณท นำเสนอสิ่งที่กำลังจะมาถึงในอนาคต ทั้งการขนส่งโดยอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน รถขนส่งไปรษณีย์ที่ขับได้เอง การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้ามาบริหารจัดการด้านศูนย์ไปรษณีย์ และการนำจ่าย เป็นต้น
    นางสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท กล่าวว่า เพื่อร่วมรำลึกถึงจุดกำเนิดแห่งไปรษณีย์สยาม เหตุการณ์สำคัญ และตระหนักความสำคัญไปรษณีย์ไทย ในฐานะองค์กรที่ดำเนินกิจการเคียงคู่สังคมไทยมายาวนานกว่าศตวรรษ โดยมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนมาหลายยุคหลายสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย คือความผูกพันใกล้ชิดกับคนไทย ทั้งหมดนำเสนอในนิทรรศการ

 


    ไฮไลต์สำคัญ นางสมรบอกว่า โชว์ตู้ไปรษณีย์รุ่นแรก ทำด้วยเหล็กหล่อทั้งตู้ ศิลปะแบบวิกตอเรียนได้รับมอบเป็นของขวัญจากรัฐบาลเยอรมนี ในโอกาสที่เปิดกิจการไปรษณีย์ในสยามขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2426 หรือระฆังคู่นาฬิกาเรือนแรกที่เคยประดับอยู่บนอาคารไปรสนียาคาร ที่ทำการกรมไปรษณีย์หลังแรก และได้จัดแสดงแสตมป์ชุดแรกของไทย คือ ชุดโสฬศ และแสตมป์ในแต่ละรัชกาล เครื่องแบบบุรุษไปรษณีย์ยุคแรก ป้ายที่ทำการไปรษณีย์โบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ใบโทรเลขจริง ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงส่งในอำลาโทรเลข เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 นอกจากนี้ จัดแสดงนวัตกรรมการให้บริการเครื่องมือนำจ่ายอัตโนมัติ และสิ่งจัดแสดงอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก


    นายธเนศ พลไชยวงศ์ ผู้ออกแบบแสตมป์ชุด 135 ปี ไปรษณีย์ไทย บอกว่า เป็นช่างศิลป์ที่ไปรษณีย์ไทยมากว่า 28 ปี ออกแบบภายใต้แนวคิดวิวัฒนาการการนำจ่ายไปรษณีย์ของไทย 4 ยุค โดยแสตมป์ดวงแรกออกแบบใช้พื้นหลังเป็นไปรสนียาคาร อาคารที่ก่อตั้งขึ้นแห่งแรก แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว มีเพียงส่วนที่จำลองอยู่ที่บริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้า และด้านหน้าก็จะเป็นบริบทและชุดทำงานของบุรุษไปรษณีย์ในช่วงยุคแรกที่ยังเดินจ่ายจดหมาย ในแสตมป์ดวงที่สองจึงได้นำเสนอเป็นยุคของการปั่นจักรยานส่งจดหมายยานพาหนะประเภทแรก ซึ่งพื้นหลังก็ได้นำภาพอาคารกระทรวงคมนาคมมาไว้ เพราะต้องการสื่อความหมายให้รู้ว่าเมื่อก่อนไปรษณีย์ไทยเคยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงนี้
    “แสตมป์ดวงที่สามออกแบบให้บุรุษไปรษณีย์จ่ายจดหมายด้วยรถจักรยานยนต์ ภาพพื้นหลังเป็นอาคารไปรษณีย์กลางอายุกว่า 70 ปี และแสตมป์ดวงที่ 4 นำเสนอเรื่องการขนส่งพัสดุในปัจจุบันมีการใช้รถยนต์ ผ่านพื้นหลังอาคารไปรษณีย์ไทย สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณเขตหลักสี่ ทั้ง 4 แบบถ่ายทอดวิวัฒนาการของไปรษณีย์ไทยให้เห็นภาพชัดเจน จัดพิมพ์เพียง 500,000 ดวง” นายธเนศกล่าว
    สำหรับแสตมป์ชุด 135 ปี ไปรษณีย์ไทย มีจำหน่ายในราคาชุดละ 120 บาท (1 ชุดมีทั้ง 4 แบบ) จนถึงวันที่ 31ตุลาคม 2561 และมีของที่ระลึกเป็นโปสต์การ์ดภาพเดียวกับแสตมป์ 135 ปี ไปรษณีย์ไทย โดยจะมีแบบไม่ซ้ำกันทุกๆ 3 สัปดาห์ และได้ประทับตราไปรษณีย์ประจำงานครั้งนี้ด้วย นิทรรศการดีๆ เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-19.00 น. ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"