สำรวจภูมิทัศน์เจ้าพระยา ร้าง-รุกล้ำ ปัญหาใหญ่!


เพิ่มเพื่อน    

 

     

     พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ทำเลทองที่มีราคาสูง คอนโดฯ ใหม่ๆ ผุดขึ้นเป็นว่าเล่นบนสองฝั่ง ท่ามกลางความเจริญเติบโตยังหลงเหลือสถานที่แสดงเรื่องราววิถีชีวิตผู้คนริมน้ำเจ้าพระยาให้เห็นอยู่ เช่น  สถานที่เก่าแก่ วัด บ้านเรือนผู้คน ฯลฯ

      สิ่งที่น่ากังวลคือ ภูมิทัศน์เจ้าพระยาที่ควรทำให้สวยงามควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนา เพราะปัจจุบันเจ้าพระยาได้เสื่อมโทรมไปมาก เหตุนี้ ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ นำคณะสื่อมวลชนล่องเรือสำรวจภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะดำเนินการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำ

      ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ กล่าวว่า การล่องเรือสำรวจเจ้าพระยาครั้งนี้เพื่อจะตรวจดูสภาพในปัจจุบันว่าจะหาแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟู ซึ่งคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดขึ้นจากการรวมกับกลุ่มหน่วยงานหลายกลุ่มในการทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่องการพัฒนา การสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งหัวข้อย่อยคือการอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

 

      ดร.อภิชาติกล่าวอีกว่า แม่น้ำลำคลองเหมือนเส้นเลือดในร่างกาย ทั้งเส้นเลือดใหญ่ เส้นเลือดฝอย จากการสำรวจเจ้าพระยาพบว่า ตอนนี้อาการเริ่มอุดตัน ต้องหาสาเหตุ ตรวจหาแนวเขต อันไหนที่ผิดต้องทำการล้างเส้นเลือดให้สะอาด สิ่งก่อสร้างไหนไม่ดี ไม่ใช้ ก็รื้อถอน หรือบ้านคนที่รุกล้ำออกมาควรจะฟื้นฟูให้น่ามอง และยังพบอีกว่าวัฒนธรรมริมน้ำน่าสนใจ หากจะต้องมีการปรับปรุงจำเป็นต้องอนุรักษ์ วัดวา อาราม สิ่งเก่าแก่ที่อยู่รอบๆ ยกตัวอย่างเอเชียทีค ที่เคยเป็นโกดังเก่า ไม่มีใครใช้ แต่พอมาฟื้นฟูใหม่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมแล้ว หรือล้งก็คล้ายๆ กัน ต้องดูหลายมิติ คือการอนุรักษ์ฟื้นฟู เราไม่ได้ดูเฉพาะทางด้านวิศวกรรมอย่างเดียว เราต้องดูด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณสถาน ระบบนิเวศทางน้ำ

      สิ่งที่น่ากังวลคือคุณภาพน้ำ ทุกวันนี้แม่น้ำเราสกปรก เพราะน้ำเสีย แล้วมีขยะ วัชพืช สิ่งกีดขวางทั้งหลาย คลองเล็กๆ เต็มไปด้วยผักตบชวา แล้วมีขยะอยู่ จะมีแผนยังไง ใครจะดูแล ส่วนใหญ่มีปัญหาเพราะเป็นคลองสาธารณะ ไม่มีใครดูแล ต้องเริ่มพิจารณาองค์กรจะต้องทำยังไง ใครจะรับผิดชอบ เราต้องมีการกำหนดมาตรฐาน ถ้าแหล่งน้ำใหญ่จะดูเรื่องอะไร ที่สำคัญสุดคือทำอย่างไรไม่ให้เส้นเลือดอุดตัน เราต้องเอาคืน แล้วพัฒนาต่อ อย่างลำคลอง  กทม.ถ้าสิบปียังทำแผนไม่เสร็จ ทำไม่ทันแน่ เกิดการรุกล้ำต่อ เพราะฉะนั้นเรากำหนดเป้าแผนนี้ให้เสร็จภายใน 20 ปี

      "ลำคลองเก่าสมัยก่อน ร.5 และ ร.6 พระราชทานเป็นทางระบายน้ำ เป็นทางขนส่ง เดี๋ยวนี้กลายเป็นท่อระบายน้ำเสียแล้ว ภายใน 10 ปี เราตั้งเป้าให้ กทม.มีลำคลองที่ใสสะอาด ถ้าหากรัฐบาลยอมรับแผนนี้ก็ต้องมีแผนสำรองออกมาสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างเจ้าพระยา ชุมชนที่รุกล้ำจะทำอย่างไร เราเห็นใจคนรุกล้ำ แต่ถ้าผิดกฎหมาย ยังอยู่ที่เดิมและรุกล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน เกิดน้ำเสีย น้ำท่วม ต้องหามาตรการรองรับว่าควรหาที่อยู่ให้เขาไหม" ดร.อภิชาติกล่าวในท้าย

 

      

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"