กสทช.ควรทบทวนเงื่อนไขหาทางออกประมูลคลื่น 900 MHz


เพิ่มเพื่อน    


ความล้มเหลวในการจัดประมูลคลื่นความถี่  900  เมกะเฮิรตซ์  ถึงสองครั้ง  ก่อให้เกิดการตั้งคำถามต่อการทำงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าดื้อแพ่งเกินไปหรือเปล่า  สำหรับการวางเงื่อนไขในการประมูลที่เรียกว่า "ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ แถม ยังเสียเปรียบในการแข่งขันอีกต่างหาก" 

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องราคาที่มีราคาประมูลเริ่มต้นที่ 35,988 ล้านบาท แม้ว่าลดลงจากครั้งแรกเล็กน้อย ประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแก้ปัญหาติดตั้งอุปกรณ์กันคลื่นรบกวน และก็ยังไม่พอกับภาระที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งราคาก็ยังถือว่ามีราคาที่แพงติดระดับโลก ซึ่งหากเทียบสภาพตลาดในปัจจุบัน ราคานี้ก็ไม่ได้สอดคล้องกับราคาตลาดที่ควรจะเป็น  รวมถึงเรื่องเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว 

 

ภาพจาก กสทช.

 

แน่นอน ทั้งสองประเด็นนี้ ทางกสทช.รู้ดี และ รับทราบข้อมูลมาโดยตลอดว่ามันเป็นเงื่อนไขที่บีบบังคับผู้เข้าร่วมประมูลมากเกินไป เพราะที่ผ่านมาทางภาคเอกชนเอง ไม่ว่าจะเป็นสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) รวมถึงดีแทค  ก็เคยออกมาเตือนถึงเงื่อนไขการกประมูลเหล่านี้ว่า เป็นการเพิ่มภาระให้ทั้งโอเปอเรเตอร์ และผู้ใช้บริการ และก็เคยเรียกร้องให้ กสทช. มีการทบทวนเงื่อนไข

 

แต่ดูเหมือนว่า "ข้อมูล และ เสียง" ที่ส่งออกไป จะลอยหายไปตามสายลม เพราะ ทางกสทช. ก็ไม่สนใจ และพยายามเดินหน้าผลักดันเงื่อนไขในการประมูลนี้ต่อไป  ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า กสทช. มองว่าตัวเองมีแต้มต่อกับโอเปอเรเตอร์บางรายเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะ "ดีแทค"  ที่จำเป็นต้องร่วมลงประมูล เนื่องจากต้องใช้คลื่นในการดูแลลูกค้าที่ใช้คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์เดิมที่หมดอายุสัญญาสัมปทานไปกว่า 400,000 เลขหมาย  ซึ่งมติ กสทช. ระบุชัดเจน จะมีมาตรการเยียวยาคนใช้คลื่น ก็ต่อเมื่อโอเปอเรเตอร์เจ้านั้นลงแข่งขันประมูลเท่านั้น


สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่า มันคือ "การมัดมือชก" ของกสทช. ที่ต้องการให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการ โดยไม่สนใจว่า  การแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมจะเป็นอย่างไร และลูกค้าผู้ใช้บริการซึ่งเป็นคนไทย จะได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าสูงสุดจริงหรือไม่


แต่ในที่สุด สิ่งที่ กสทช. ฝืนการกระทำ มันก็สะท้อนกลับให้เห็นแล้วว่า เงื่อนไขที่ออกมานั้น ไม่มีเอกชนรายใดรับได้และสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล จนสุดท้าย คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ กลายเป็นของขายไม่ออก ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของรายได้จากการประมูล ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการลงทุนพัฒนาประเทศต้องเกิดสะดุด  ขณะเดียวกันประชาชนผู้ใช้บริการ ก็จะได้รับเดือดร้อน หากไม่ได้รับการเยียวยา และปล่อยให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ซิมดับ"  

อย่างไรก็ดี แม้ว่า กสทช. จะเตรียมประชุมเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอีกครั้ง ก็ยังถือว่าเป็นการทำประเทศเสียโอกาสครั้งใหญ่ไปแล้ว ส่วนการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งที่ 3 จะต้องเป็นครั้งที่พลาดไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด และต้องพิจารณาให้รอบคอบก็คือ เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่ว่าจะวางหลักเกณฑ์อย่างไร 

เนื่องจากตัวคลื่นนี้เหลือเพียง 5 เมกะเฮิรตซ์ และหากจัดสรรไปใช้สำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีก คลื่นที่เหลือใช้ทางด้านโทรคมนาคมที่น้อยลง  แถมยังมีปัญหาที่คาดว่าจะกวนสัญญาณกันแหลก คล้ายกับกรณีคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ กับรถบีทีเอส ที่เกิดการกวนกัน จนทำให้ระบบการเดินรถเป็นอัมพาตเลยทีเดียว  ซึ่งก็หมายความว่า หากยังให้ผู้ชนะการประมูล เป็นผู้ลงทุนระบบป้องกันคลื่นเอง ก็เชื่อว่า ไม่มีนักลงทุนรายไหนกล้าเสี่ยง  แต่คงต้องจับตาดูในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ว่า ทางบอร์ด กสทช. จะมีความเห็นอย่างไร 

 

 

ขณะที่ทางฝ่ายของภาคเอกชน อย่าง 'ดีแทค' ซึ่งแสดงความสนใจในคลื่น 900  เมกะเฮิรตซ์ มาโดยตลอด ก็พยายามหาทางออกร่วมกับ กสทช.  โดยนายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ ยอมรับว่า เงื่อนไขเดิมนั้น บริษัทรับไม่ไหวจริงๆ ซึ่งปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องต้นทุนทางการเงินเพียงอย่างเดียว  แต่ที่เป็นห่วงมากที่สุด คือ เรื่องของแนวทางปฎิบัติ กับการร่วมรับผิด ที่ทาง ดีแทค เป็นกังวล เพราะเรื่องการเข้าไปปฏิบัติงานติดตัวกันเครื่อง มันไม่ใช่ติดตั้งตัวกรองสัญญาณแค่ในระบบของดีแทคอย่างเดียว มันต้องเข้าไปติดตั้งในเครือข่ายระบบรถไฟด้วย ซึ่งคงไม่ใช่การเดินเข้าไปติดง่ายๆแน่  และเรื่องที่สำคัญมากกว่า คือ เรื่องการรับผิด เพราะปัญหาอุบัติเหตุ หรือ ขัดข้องมันเกิดขึ้นได้ทุกเวลา แต่ต้องถามว่า ถ้าเกิดมีการขัดข้องจริง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ  บริษัทโทรคมนาคมด้วยหรือเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ ความเสี่ยงที่น่ากังวลมากๆๆ สำหรับการเข้าร่วมประมูล

อย่างไรก็ดีทาง ดีแทค ก็มีข้อเสนออยู่3 แนวทางด้วยกันให้ กสทช.ไปพิจารณา  เพื่อเป็นทางออกในการปลดล็อคปัญหา

แนวทางที่ 1.ให้ กสทช. พิจารณาจัดคลื่นความถี่ให้รถไฟใหม่เปลี่ยนมาใช้คลื่น 450 เมกะเฮิรตซ์ บนเทคโนโลยี LTE-R ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งขณะนี้จีน นำมาปรับใช้กับรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งประจวบเหมาะกับที่ไทยจะซื้อรถไฟฟ้าจากจีนอยู่แล้ว ส่วนคลื่น 900  เมกะเฮิรตซ์ กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแล้ว ซึ่งปัจจุบันคลื่น 450 เมกะเฮิรตซ์  ยังว่างไม่ถูกใช้งาน ส่วนคลื่น 900 มาใช้เพื่อโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว

แนวทางที่ 2. หากรถไฟยังใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เหมือนเดิม ก็ขอให้ผู้ได้รับใบอนุญาต และรถไฟ ทุกฝ่ายรวมกันแก้ปัญหาต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบในการติดฟิวเตอร์ป้องกันคลื่นรบกวนสัญญาณกันเอง แล้วนำเงินที่ได้จากการประมูลมาชดเชยจ่ายให้ในส่วนนี้ ซึ่งเงินชดเชยจะมาจากเงินประมูล หรือ เงินกองทุนกองทุน USO 

และ 3. ทำการย้ายคลื่นความถี่ 900 ที่รถไฟจะใช้ไปอยู่สล็อตต้นๆ ไม่ติดกับผู้ให้บริการหลายราย ซึ่งจะทำให้มีปัญหาคลื่นรบกวนเพียงรายเดียว แล้วให้ กสทช. ชดเชยเงินในการติดตั้งฟิวเตอร์ให้รายนั้น ซึ่งจะง่ายต่อการจัดการมากกว่า

อย่างไรก็ตามหาก กสทช.มีการปรับเงื่อนไขต่างๆ ทางดีแทคก็พร้อมพิจารณา เพราะดีแทคก็มีความสนใจในช่วงคลื่นความถี่ต่ำ โดยเรื่องเงินทุนไม่ใช่ปัญหา 

ทั้งสามแนวทาง ถือเป็นออปชั่นที่กสทช. น่าไปขบคิดเพราะว่า ความจริงแล้ว เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ของระบบราง ก็ยังไม่มีแผนแม่บทชัดเจนว่า จะใช้คลื่นไหนกันบ้าง ยิ่งประเทศไทย จะเปิดให้มีการประมูลรถไฟความเร็วสูงแบบนานาชาติ ซึ่งแต่ละชาติก็มีการใช้เทคโนโลยีที่แต่ละรายอาจมีเทคโนโลยีสำหรับระบบ อาณัติสัญญาณและใช้คลื่นที่ต่างกัน ฉะนั้นก็หมายความว่า การเปลี่ยนแแปลงการใช้คลื่นก็มีความเป็นไปได้ ฉะนั้นกสทช.จะต้องไปขบคิดให้รอบคอบ และสร้างบรรยากาศแห่งการแข่งขัน ให้ดีและเป็นธรรมที่สุด 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"